วันนี้ (28 มกราคม) ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง วิกฤตเศรษฐกิจกับการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต สำรวจระหว่างวันที่ 22-24 มกราคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง
จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนี้ พบดังนี้
- ร้อยละ 63.51 ระบุว่า เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจในระดับที่ต้องหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน
- ร้อยละ 20.15 ระบุว่า เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจในระดับที่ต้องหาทางแก้ไข แต่ไม่เร่งด่วน
- ร้อยละ 10.08 ระบุว่า เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจในระดับที่ไม่น่าวิตกกังวลใดๆ
- ร้อยละ 5.65 ระบุว่า ไม่ได้เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ
- ร้อยละ 0.61 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับการเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจของประชาชนในขณะนี้ กลุ่มตัวอย่างระบุดังนี้
- ร้อยละ 36.72 ระบุว่า เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจในระดับที่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่างเร่งด่วน
- ร้อยละ 31.91 ระบุว่า เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจในระดับที่สามารถรับมือได้ด้วยตนเอง
- ร้อยละ 20.45 ระบุว่า เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจในระดับที่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่ไม่เร่งด่วน
- ร้อยละ 10.92 ระบุว่า ไม่ได้เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจใดๆ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท พบว่ากลุ่มตัวอย่างตอบดังนี้
- ร้อยละ 34.66 ระบุว่า ควรหยุดการดำเนินการนโยบายนี้ได้แล้ว
- ร้อยละ 33.66 ระบุว่า ดำเนินนโยบายต่อไปในปีนี้ตามที่ได้ประกาศไว้
- ร้อยละ 18.55 ระบุว่า ดำเนินนโยบายต่อไปในปีนี้ แต่แจกเฉพาะกลุ่มที่เปราะบางทางเศรษฐกิจ
- ร้อยละ 5.88 ระบุว่า เลื่อนการดำเนินนโยบายไปในปี 2568
- ร้อยละ 4.58 ระบุว่า เลื่อนการดำเนินนโยบายไปในปี 2568 แต่แจกเฉพาะกลุ่มที่เปราะบางทางเศรษฐกิจ
- ร้อยละ 2.67 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชน หากเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจยกเลิกนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท พบว่ากลุ่มตัวอย่างตอบดังนี้
- ร้อยละ 68.85 ระบุว่า ไม่โกรธเลย
- ร้อยละ 12.37 ระบุว่า ค่อนข้างโกรธ
- ร้อยละ 9.39 ระบุว่า โกรธมาก
- ร้อยละ 8.85 ระบุว่า ไม่ค่อยโกรธ
- ร้อยละ 0.54 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ