สว. ชุด คสช. แต่งตั้ง หมดวาระอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา ขณะที่เวลานี้ กกต. กำลังดำเนินการเลือก สว. ชุดใหม่ จำนวน 200 คน มาทำหน้าที่แทน สว. มีอำนาจอย่างไร การเป็น สว. สำคัญต่อระบอบประชาธิปไตยมากแค่ไหน ลองมาดูกันว่า สว. มีหน้าที่อย่างไรบ้าง
ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย
1. เขียนรัฐธรรมนูญ:
จะผ่านได้ต้องมีเสียง สว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 จาก สว. 200 คน = ต้องมีเสียงโหวตเห็นชอบอย่างน้อย 67 คน
2. พิจารณากฎหมาย:
- แก้รัฐธรรมนูญ (ลงชื่อร่วมกับ สส. เพื่อขอแก้ไข)
- ออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
- ออกกฎหมายระดับ พ.ร.บ. (ไม่มีอำนาจปัดตก แต่เห็นชอบหรือให้แก้ไขได้)
3. เคาะเลือกคนมาตรวจสอบรัฐบาล: เป็นด่านสำคัญลงมติรับรองคนมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
- ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- กกต.
- ผู้ตรวจการแผ่นดิน
- ป.ป.ช.
- คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
- ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
- คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- อัยการสูงสุด
- ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
- เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
- เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
4. ตรวจสอบการทำงานรัฐบาล:
ผ่านการอภิปรายและการตั้งกระทู้ถาม
อัปเดตข่าวล่าสุด เลือก สว. 2567 เกาะติดผลการเลือก สว. ได้ที่ https://thestandard.co/thai-senate-election-2024/, Facebook : THE STANDARD และ YouTube : THE STANDARD
อ้างอิง:
- Senate67.com และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
- สว. ชุดใหม่จะไม่มีอำนาจเลือกนายกฯ ร่วมกับ สส.