×

หุ้น SCB เปิดตลาดพุ่ง 22% รับข่าวตั้งยานแม่ใหม่ เปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่เทคโนโลยีการเงิน นักวิเคราะห์ชี้เป็นการปลดล็อกธุรกิจครั้งใหญ่ ดันมูลค่าเพิ่ม

23.09.2021
  • LOADING...
SCB

ราคาหุ้น SCB ปรับเพิ่มขึ้นทันทีที่เปิดการซื้อขายวันนี้ (23 กันยายน) โดยเปิดตลาดที่ 131 บาท เพิ่มขึ้น 21.50 บาทจากวันก่อนหน้า จากนั้นราคาไต่ระดับสูงขึ้นทำราคาสูงสุดที่ 136.50 บาท นอกจากนี้ยังดึงให้หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย 

 

โดยวานนี้ SCB ได้ประกาศปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ ตั้ง ‘SCBX’ เป็นโฮลดิ้งคอมพานี เตรียมโยกผู้ถือหุ้น SCB ไปถือหุ้น SCBX แทน พร้อมนำ SCBX เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น แต่ยังใช้ชื่อหุ้นเดิม SCB ทั้งนี้ เพื่อยกระดับ SCBX เป็นบริษัทเทคโนโลยีการเงินระดับโลก ภายใต้วิสัยทัศน์ ‘ยานแม่ฟินเทค’ โดยวางเป้าหมายใน  5 ปีจากนี้ SCBX กำไรโต 1.5-2 เท่า มาร์เก็ตแคปแตะ 1 ล้านล้านบาท

 

ฝ่ายวิจัย บล.หยวนต้า ระบุว่า การปรับโครงสร้างองค์กรของ SCB ครั้งนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นฐาน โดยปลดล็อกจากธุรกิจแบงก์ สู่การเป็น Financial Technology เต็มรูปแบบ ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันในธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และธุรกิจการเงินในไทยที่รุนแรงมากขึ้น ขณะเดียวกัน น่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างสำหรับธุรกิจแบงก์ดั้งเดิมด้วย 

 

ฝายวิจัย บล.โนมูระ พัฒนสิน มีมุมมองเป็นบวก จากการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจธนาคารของ SCB โดยมีการปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความคล่องตัว มีแผนรุก Digital Platform มากขึ้น และมีแผนรุกสินเชื่อจำนำทะเบียน หนุนการเติบโตของสินเชื่อ และอัตราผลตอบแทนสินเชื่อในระยะยาว 

 

จึงปรับประมาณกำไรปี 2022F-2023F เพิ่มขึ้น +0.4%/0.2% เพื่อสะท้อนต่อทิศทางของประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ดีขึ้น รวมถึงโอกาสการเติบโตในธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียน โดยคงคำแนะนำ Buy ปรับราคา TP22F เป็น 150 พร้อมกับเลือก SCB เป็น Top Pick

 

ผลกระทบต่อกลุ่มการเงิน บล.โนมูระ พัฒนสิน มีมุมมอง Slightly Negative ต่อกลุ่ม Consumer Finance จากประเด็นเรื่อง SCB ปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้น เพราะเรามองว่าการแข่งขันมีความรุนแรงมากขึ้น อาจทำให้การเติบโตของสินเชื่อรวมมีแนวโน้มช้าลง 

 

อย่างไรก็ตามเรามองว่าไม่กระทบต่อประมาณการกำไรสุทธิในช่วง 1-2 ปีข้างหน้าอย่างมีนัยสำคัญ เพราะ 

  1. ช่วงแรกยังอยู่ในช่วงการปรับโครงสร้าง 
  2. บริษัทรายเล็กจะได้ผลกระทบก่อน สำหรับระยะยาวเรามีความกังวลต่อการเติบโตของสินเชื่อรวมมากขึ้น ดังนั้นเรามีแนวโน้มที่จะปรับ PBV Multiple ลง

 

ทั้งนี้ ประเมินผลกระทบเบื้องต้น ภายใต้สมมติฐานพอร์ตที่ได้รับผลกระทบลดลงทุก 1% ดังนี้ 

  1. สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ 
  2. สินเชื่อเช่าซื้อกลุ่มรถยนต์หรู 
  3. สินเชื่อบัตรเครดิต 
  4. สินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน จะทำให้กำไรสุทธิของกลุ่มมี Downside -0.7% 

 

โดยคาดว่า MICRO เป็นตัวเดียวในกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุก

 

ในระยะสั้นกลุ่ม Consumer Finance อาจยังมีความกังวลในเรื่องการรุกสินเชื่อรายย่อยของ SCB อย่างไรก็ตามเรามองว่าผลกระทบต่อกำไรสุทธิค่อนข้างจำกัด ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า และกำไรสุทธิในช่วง 4Q21-2022F คาดฟื้นตัว ดังนั้นเรามองว่าเป็นโอกาสในการสะสม โดยคง TIDLOR และ MICRO

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising