×

สภาพัฒน์เผย หนี้ครัวเรือนไทยล่าสุดชะลอตัวลง แต่ยังทรงตัวสูงที่ 86.9% ต่อ GDP จับตาคุณภาพสินเชื่อเช่าซื้อ หลังพบการค้างชำระเพิ่มขึ้น

22.05.2023
  • LOADING...

สภาพัฒน์รายงานภาวะหนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 4 ของปี 2565 ชะลอตัวลง แต่ยังทรงตัวสูง ที่ 86.9% ต่อ GDP เผยหนี้เสียทั้งระบบยังทรงตัว แต่ต้องจับตาความเสี่ยงสินเชื่อเช่าซื้อ หลังพบการค้างชำระตั้งแต่ 30-90 วันเพิ่มขึ้น ขณะที่การจ้างงานในภาพรวมปรับตัวดีขึ้น

 

สำนักงานสภาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ รายงานภาวะสังคมไทยในไตรมาส 1 ปี 2566 โดยการเคลื่อนไหวที่สำคัญ ได้แก่ การจ้างงานปรับตัวดีขึ้น การว่างงานลดลงสู่ระดับปกติ โดยมีอัตราการว่างงานที่ 1.05% ขณะที่หนี้สินครัวเรือน (ไตรมาส 4 ปี 2565) ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง แต่ยังทรงตัวสูงที่ 86.9% ต่อ GDP ส่วนคุณภาพสินเชื่อในภาพรวมไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อน โดยหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ที่ระดับ 2.62%  

 

ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า สถานการณ์ด้านแรงงานปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการขยายตัวของการจ้างงานทั้งในและนอกภาคเกษตรกรรม อัตราการว่างงานปรับตัวเข้าสู่ระดับปกติ แรงงานมีการทำงานล่วงเวลามากขึ้นและได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น

 

ณ สิ้นไตรมาสที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผู้มีงานทำจำนวนทั้งสิ้น 39.6 ล้านคน ขยายตัว 2.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการจ้างงานทั้งในและนอกภาคเกษตรกรรม 

 

โดยการจ้างงานภาคเกษตรกรรมขยายตัว 1.6% จากการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก ขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมขยายตัว 2.7% จากการขยายตัวของการจ้างงานสาขาการค้าส่งและค้าปลีก และสาขาโรงแรมและภัตตาคาร ซึ่งปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจและการเติบโตอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ส่วนการจ้างงานสาขาการผลิตขยายตัวได้เล็กน้อย 

 

ขณะที่ผู้เสมือนว่างงานลดลงกว่า 11.3% อัตราการว่างงานปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องอยู่ที่ 1.05% โดยผู้ว่างงานมีจำนวน 4.2 แสนคน สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป คือ 

 

  1. การขาดแคลนแรงงานด้านดิจิทัลและไอทีจากการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทำให้ในแต่ละปีมีความต้องการแรงงานสายงานไอทีประมาณ 20,000-30,000 ตำแหน่ง แต่กลับมีผู้จบการศึกษาในด้านนี้ไม่เพียงพอ 

 

  1. รายได้และการจ้างงานของแรงงานภาคเกษตรกรรมจากผลกระทบของ ปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่จะส่งผลต่อการเพาะปลูกและผลผลิตของเกษตรกร 

 

  1. พฤติกรรมการเลือกงาน โดยคำนึงถึงค่าตอบแทนที่สูงและสมดุลในชีวิตของคนรุ่นใหม่

 

สำหรับสถานการณ์หนี้สินครัวเรือนในไตรมาส 4 ปี 2565 มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่คุณภาพสินเชื่อภาพรวมทรงตัว แต่ต้องติดตามสินเชื่อเพื่อยานยนต์ที่มีสินเชื่อเสี่ยงเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น และบัญชีหนี้เสียในสินเชื่อส่วนบุคคลยังคงเพิ่มขึ้น

 

ทั้งนี้ ในไตรมาส 4 ปี 2565 หนี้สินครัวเรือนของไทยมีมูลค่า 15.09 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.5% ชะลอตัวจาก 4.0% ของไตรมาสที่ผ่านมา แต่เมื่อปรับฤดูกาลเพิ่มข้ึน 1.1% จากไตรมาสก่อน และมีสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ 86.9% ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนทรงตัว 

 

โดยสัดส่วน NPLs ต่อสินเชื่อรวมในระบบธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 2.62% ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการชำระหนี้ยังมีความเสี่ยงในกลุ่มสินเชื่อรถยนต์ที่มีสัดส่วนสินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ (SMLs) หรือหนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่ 30-90 วันต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

 

รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดที่ยังมีมูลค่าสูงและมีบัญชีหนี้เสียเพิ่มขึ้น 

 

ทั้งนี้ หนี้สินครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูงจะส่งผลต่อเศรษฐกิจ ซึ่งต้องอาศัยทุกภาคส่วนในการเร่งรัดและแก้ไขปัญหา

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X