×

NASA กำลังจะไปเหยียบ ‘ดวงจันทร์’ ในรอบ 50 ปี พร้อมพา ‘ผู้หญิงผิวดำคนแรก’ ไปด้วย

10.07.2022
  • LOADING...
NASA

NASA กำลังออกเดินทางไปยังที่ที่ตัวเองไม่ได้ไปมาเกือบครึ่งศตวรรษ โดยไปยัง ‘ดวงจันทร์’ และนี่คือรายละเอียดโครงการจรวดภายใต้ชื่อ Space Launch System และยานขนส่งคนซึ่งมีนามว่า Orion

 

และเมื่อเครื่องจักรทั้งสองรวมเป็นหนึ่ง มันจะกลายเป็น Artemis ยานอวกาศแห่งประวัติศาสตร์ และโครงการอวกาศขนาดใหญ่ที่จะพา ‘ผู้หญิงผิวดำคนแรก’ ไปยังดวงจันทร์ รวมถึงการผลักดันให้มนุษย์ไปไกลกว่าที่เคยในห้วงอวกาศ

 

ยานอวกาศขนาดบิ๊กเบิ้มจะยิงไปที่ดวงจันทร์ครั้งแรกในปีนี้ อาจเป็นเดือนสิงหาคมที่จะถึงโดยไม่มีลูกเรือ ในส่วนของเที่ยวบินที่ 2 แคปซูล Orion ของ SLS จะดูแลมนุษย์บนดวงจันทร์ก่อนจะกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกด้วยความเร็วประมาณ 39,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และในเที่ยวบินที่ 3 ที่จะบินในช่วงต้นปี 2025 Orion จะพาลูกเรือ 4 คนลงจอดบนดวงจันทร์ และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1972 ที่มนุษย์ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

เป้าหมายที่สูงก็มาพร้อมกับราคาที่สูงลิ่ว โครงการนี้ใช้งบ ‘9.3 หมื่นล้านดอลลาร์’ หรือ 1.4 ล้านล้านบาท ตั้งแต่ปี 2012 และหลังจาก 10 ปีของการพัฒนา จรวจชุดแรกกำลังจะเปิดตัว

 

จรวดสูง 322 ฟุต ซึ่งใหญ่กว่าเทพีเสรีภาพเสียอีก โดย NASA สร้างจรวดนี้ที่เดียวกับบริษัทพัฒนาฮาร์ดแวร์อย่างกระสวยอวกาศ โปรแกรมไปดาวเสาร์ และโปรแกรมอพอลโล อย่างโรงงาน Michoud Assembly ในนิวออร์ลีนส์

 

นี่คือสถานที่ที่ถูกขนานนามว่า ‘โรงงานจรวดของอเมริกา’ ซึ่งบริษัทต่างๆ อย่าง NASA, Boeing และ Lockheed Martin กำลังสร้างฮาร์ดแวร์ที่จะนำเราไปสู่การเดินทางครั้งประวัติศาสตร์

 

“สิ่งที่เราต้องการคือพื้นที่เปิดขนาดใหญ่” ลอนนี ดูทริกซ์ ผู้อำนวยการของโรงงาน Michoud Assembly กล่าว “ต้องมีช่องเดินที่เปิดกว้าง เพื่อให้มีที่ว่างพร้อมเครนที่จะมายกจรวดที่หนัก”

 

ดูทริกซ์อยู่ในอุตสาหกรรมอวกาศมานานหลายทศวรรษ เขาช่วยสร้างและทดสอบชิ้นส่วนสำหรับของโครงการกระสวยอวกาศในยุค 90 แต่เขาไม่เคยพอใจกับประสบการณ์นั้น เพราะสำหรับดูทริกซ์ ทุกชิ้นส่วนมีความสำคัญต่อภารกิจ

 

ฐานของระบบ SLS ยาวถึง 212 ฟุต ยาวกว่าสระว่ายน้ำโอลิมปิกเสียอีก โดยมี 2 ถัง ถังแรกจะบรรจุออกซิเจนเหลวจำนวน 196,000 แกลลอน และอีกถังบรรจุไฮโดรเจนเหลวจำนวน 537,000 แกลลอน ถังเหล่านี้จะเป็นแรงขับในการส่งจรวดขนาด 27 ตันขึ้นสู่อวกาศ

 

การเดินไปรอบๆ Michod คือการได้เห็นและได้ยินถึงจรวดที่กำลังสร้างขึ้นอย่างแข็งขัน แผงยักษ์วางซ้อนกันเพื่อเชื่อมวงแหวนของจรวดเคลื่อนที่ไปมาจากสถานีหนึ่งไปอีกสถานีหนึ่ง

 

หาก SLS คือการสร้าง ‘แรง’ และผลักออกไปอย่างเต็มกำลังเพื่อให้นักบินเข้าสู่ชั้นบรรยากาศได้ Orion ก็เปรียบเสมือนการบังคับแรงนั้นเมื่อพวกเขาไปถึงที่นั่น (ชั้นบรรยากาศ)

 

ยาน Orion ประกอบด้วยส่วนต่างๆ มากมาย ที่อยู่ตรงฐานคือ European Service Module สร้างโดย European Space Agency ซึ่งจะนำทาง Orion ผ่านอวกาศและรอบๆ ดวงจันทร์เป็นเวลานาน และยังมีอาหารเพียงพอสำหรับนักบินอวกาศ 4 คนสำหรับหนึ่งสัปดาห์

 

ถัดมาจะเป็น Crew Module หรือแคปซูลแรงดันที่ Lockheed กำลังสร้าง ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าศูนย์บังคับการของยานอพอลโลถึงสามเท่า และประมวลผลได้เร็วกว่าถึง 4,000 เท่า

 

แต่ห้องไม่ได้กว้างขวางมากนัก โดยมีที่นั่งสำหรับลูกเรือ 4 คน ที่หลบภัยขณะเกิดพายุสุริยะ และเครื่องออกกำลังกายขนาดพอดี

 

“มันแน่น” ทิม ลิวิงสตัน ผู้จัดการการวางแผนบูรณาการประจำ Orion กล่าว “สำหรับภารกิจส่วนใหญ่จะมีนักบิน 4 คน เราจึงต้องอยู่ใกล้ชิดกันเป็นเวลานาน” 

 

“ภารกิจของเราคือการส่งมวลไปยังดวงจันทร์ให้ได้มากที่สุดในการยิงครั้งเดียว” ดูทริกซ์กล่าว “ถ้าคุณนำมาใช้ใหม่ได้ มันมีบทลงโทษอย่างน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว คุณต้องมีอุปกรณ์ในการลงจอดและเชื้อเพลิงพิเศษ ทั้งหมดนั้นจะจำกัดมวลที่คุณสามารถนำขึ้นไปบนดวงจันทร์ได้”

 

แม้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว NASA ยังต้องการรายได้คืนจากการลงทุนของบริษัท โดยการทำโปรเจกต์ Artemis ไปในเชิงพาณิชย์ ขายจรวดให้กับใครก็ตามที่ต้องการพลังในการยิงจรวด

 

“เราอยากเปลี่ยนการผลิตไปสู่เชิงพาณิชย์” ดูทริกซ์กล่าว “หากคุณสร้างจรวดขึ้นมา คุณจะขายใครก็ได้ที่ต้องการความสามารถในการยิงจรวดที่แรง และหากพวกเขาทำได้ดีกว่าและถูกกว่า พวกเขาก็ต้องทำ เราจำเป็นต้องวางเดิมพันที่มีความเสี่ยงสูงเหมือนกับการไปดางอังคาร”

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X