×

NARIT เผยสุดยอด ‘นักสื่อสารดาราศาสตร์น้อย’ จากระดับประถมศึกษา

25.08.2024
  • LOADING...

NARIT จัดแข่งขัน ‘นักสื่อสารดาราศาสตร์น้อย’ หรือ Little Star Contest ปีที่ 2 สร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชน กระตุ้นทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ และทำให้อวกาศเป็นเรื่องราวที่เข้าถึงได้โดยทุกกลุ่มคน

 

ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ NARIT คัดเลือกผู้ผ่านเข้ารอบ 5 คนจากระดับประถมศึกษาตอนต้น และ 5 คนจากระดับประถมศึกษาตอนปลาย มานำเสนอเรื่องราว ณ เวทีกลาง งานมหกรรมวิทย์ฯ ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี

 

สำหรับผลการแข่งขันระดับประถมศึกษาตอนต้น จิรกร ฉายพิมาย จากโรงเรียนมารีย์วิทยา นครราชสีมา เป็นผู้ได้รางวัลชนะเลิศ จากการถ่ายทอดเรื่อง ‘ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง’

 

  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ จิณณ์จิรัชญา เอี่ยมผึ้ง โรงเรียนไผทอุดมศึกษา เรื่อง Our Solar System
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ กชลักษิกา สายตา โรงเรียนเทศบาล 4 สันป่าก่อ เรื่อง Color of Stars
  • รางวัลชมเชยจำนวน 2 รางวัล ได้แก่ อโยธารา มาลาพัด โรงเรียนเทศบาล 4 สันป่าก่อ เรื่อง ความรักก็เหมือนดาวคู่ และ บวรวงศ์ เกียรติปัญญาโอภาส โรงเรียนประเทืองทิพย์วิทยา เรื่อง Solar Storm

 

ในขณะที่ระดับประถมศึกษาตอนปลาย นพปภัทร ศุภสัณฐิติกุล โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ ได้รางวัลชนะเลิศ จากการเล่าเรื่อง ‘The Realm of the Endless Void’ เป็นภาษาอังกฤษ

 

  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ จรัสรัตน์ ทรัพย์จรัสแสง จากโฮมสคูล เรื่อง A Thrilling Success of Mission to the Moon
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ พีรวิชญ์ รัตนพันธ์ โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย เรื่อง Black Holes and Neutron Stars
  • รางวัลชมเชยจำนวน 2 รางวัล ได้แก่ กัญญพัชร เทพประสูตร โรงเรียนดรุณาราชบุรีวิเทศศึกษา เรื่อง The Scientific Beauty of Solar Eclipse และ กวิน บัวชุม โรงเรียนชลประทานวิทยา เรื่อง ความลับของดวงจันทร์ (Secrets of the Moon)

 

จุลลดา ขาวสะอาด รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ประธานตัดสินการแข่งขัน ระบุว่า NARIT เห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ ที่ไม่เพียงแต่เป็นการพัฒนาทักษะส่วนบุคคลเท่านั้น แต่หากเยาวชนมีความรู้และความเข้าใจดาราศาสตร์ และสามารถสื่อสารให้กับบุคคลทั่วไปได้อย่างถูกต้องและเข้าใจได้ง่าย ก็จะเป็นประโยชน์ต่อวงการวิทยาศาสตร์ไทยเป็นอย่างมาก

 

ในฐานะหนึ่งในคณะกรรมการตัดสิน กรทอง วิริยะเศวตกุล Content Creator ของ THE STANDARD เปิดเผยว่า “ดีใจอย่างยิ่งที่เห็นเยาวชนไทยมีทักษะความสามารถในด้านการสื่อสารดาราศาสตร์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการส่งต่อข้อมูลอย่างมีคุณภาพ ถูกต้อง และกระตุ้นให้เกิดความสนใจใฝ่รู้ด้านอวกาศมากยิ่งขึ้น พร้อมกับเป็นรากฐานสำคัญให้วงการวิทยาศาสตร์ของไทยขับเคลื่อนไปได้อย่างมั่นคงในอนาคต”

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X