×

งานวิจัย ม.มหิดล ชี้ ภูมิคุ้มกันจาก Sinovac ต่อสายพันธุ์ใหม่ ต่ำกว่าการติดเชื้อตามธรรมชาติ

27.08.2021
  • LOADING...
Sinovac

งานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Infectious Diseases เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 พบว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac ครบ 2 เข็ม กระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ต่ำกว่าผู้ที่ติดเชื้อตามธรรมชาติในปี 2563 และ 2564 ถึงแม้ว่าระดับภูมิคุ้มกันจะลดลงเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิมในทุกกลุ่มตัวอย่าง

 

โดยผู้วิจัยเก็บตัวอย่างน้ำเหลืองจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac ครบ 2 เข็ม, ผู้ติดเชื้อตามธรรมชาติที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2563 และระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2564 มาศึกษาระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัส (IgG) และระดับภูมิคุ้มกันที่ยับยั้งไวรัส (Neutralizing antibody: NAb) ต่อไวรัส 4 สายพันธุ์ พบว่า

 

– IgG ตรวจพบในทุกกลุ่มตัวอย่าง

– ระดับ NAb ตรวจพบสูงที่สุดในสายพันธุ์ดั้งเดิม ตามด้วยสายพันธ์อัลฟา, เบตา, เดลตา ตามลำดับ

– สายพันธุ์ดั้งเดิมถูกยับยั้งจากผู้ติดเชื้อในปี 2563 ได้ดีที่สุด ส่วนสายพันธุ์อัลฟาถูกยับยั้งจากผู้ติดเชื้อในปี 2564 ได้ดีที่สุด สอดคล้องกับสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยในขณะนั้น

– สายพันธุ์เบตาและเดลตาถูกยับยั้งจากผู้ติดเชื้อในปี 2563 และ 2564 ดีกว่าผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac 

– ผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac มีระดับ NAb ต่ำกว่าการติดเชื้อตามธรรมชาติ โดยเฉพาะต่อสายพันธุ์เดลตา ที่แทบจะตรวจไม่พบ

 

ถึงแม้จะยังไม่มีเกณฑ์เปรียบเทียบระหว่างระดับ NAb กับประสิทธิผลของวัคซีน แต่พบว่า ระดับ NAb มีความสัมพันธ์กับการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ งานวิจัยนี้จึงแสดงให้เห็นว่า ภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ลดลงเมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดิม โดยเฉพาะภูมิคุ้มกันในผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac กับสายพันธุ์เดลตา ผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพิ่มเติมในผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac ครบ 2 เข็มแล้ว

 

Sinovac

 

ภาพประกอบ: ฉัตรชัย เฉยชิต

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X