×

สธ. เผยปัจจัยทำให้โควิดอาจพ้นการระบาดใหญ่ในปีนี้ เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนล่าสุด

โดย THE STANDARD TEAM
01.02.2022
  • LOADING...
COVID-19

วานนี้ (31 มกราคม) ช่วงหนึ่งของแถลงข่าวสถานการณ์โควิด นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า หลังปีใหม่ประเทศไทยควบคุมสถานการณ์โควิดได้ค่อนข้างดี โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอนที่หลายประเทศมีอัตราการติดเชื้อแบบก้าวกระโดด แต่เราได้รับความร่วมมือจากประชาชน ทำให้การระบาดไม่มากนัก แต่ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งขณะนี้การติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นการติดต่อในกลุ่มเล็กๆ มีกิจกรรมที่เสี่ยงสูง เช่น รับประทานอาหารร่วมกัน จึงยังต้องย้ำเรื่องการสวมหน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่าง 

 

นพ.โอภาสกล่าวต่อไปว่า สำหรับนิยามเกี่ยวกับโรคติดต่อขึ้นกับวัตถุประสงค์ ปัจจุบันมี 2 แบบคือ

 

  1. นิยามตามกฎหมายจาก พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 4 ได้แก่ โรคติดต่อ โรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง และโรคระบาด เป็นนิยามสำหรับใช้ในการควบคุมโรค เพื่อมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ในการดำเนินการเฝ้าระวังและควบคุมโรค ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละระดับ

 

  1. นิยามทางสาธารณสุข ทางการแพทย์ และระบาดวิทยา เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจได้ตรงกัน ได้แก่ ‘Pandemic’ การระบาดใหญ่ทั่วโลก, ‘Epidemic’ โรคระบาดที่ระบาดรวดเร็วแต่ขอบเขตเล็กกว่า และ ‘Endemic’ โรคประจำถิ่น ซึ่งอัตราติดเชื้อต้องค่อนข้างคงที่ สายพันธุ์ค่อนข้างคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงจนรุนแรงมาก และคาดการณ์การระบาดได้

 

ทั้งนี้ การระบาดใหญ่ทั่วโลกมี 3 ระยะ คือ Pre-Pandemic ก่อนระบาดทั่วโลก, Pandemic การระบาดทั่วโลก อาจกินเวลาสั้นๆ 1-2 ปี หรือหลายปี และ Post-Pandemic ซึ่งเชื่อว่าโรคโควิดจะผ่านการระบาดใหญ่เข้าสู่ระยะ Post-Pandemic ภายในปีนี้ ด้วย 2 เหตุผลคือ คนทั่วโลกฉีดวัคซีนไปแล้วมากกว่า 1 หมื่นล้านโดส ประเทศไทยฉีดเกิน 115 ล้านโดส และไวรัสกลายพันธุ์ล่าสุดคือโอมิครอน แม้ระบาดเร็วแต่ความรุนแรงน้อยลง จึงน่าจะควบคุมและคาดการณ์การระบาดได้ โดยอาจกลายเป็นโรคประจำถิ่น โรคติดต่อทั่วไป หรือโรคตามฤดูกาล ตามแต่นิยามที่แตกต่างกันไป เช่น ไข้เลือดออก เป็นโรคประจำถิ่นและเป็นโรคตามฤดูกาล เพราะระบาดในพื้นที่ภูมิภาคนี้ และมีรูปแบบการระบาดในช่วงฤดูฝน ซึ่งจะรู้ว่าเป็นการระบาดตามฤดูกาลหรือไม่ ต้องใช้เวลาหลายปีในการดูรูปแบบการระบาด 

 

ทั้งนี้ นพ.โอภาสยังได้กล่าวต่อถึงผลการประชุมคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2565 ได้มีคำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิดเพิ่มเติม ดังนี้

 

  1. การฉีดวัคซีนสูตรไขว้ เดิมให้เรียงจากเชื้อตาย ไวรัลเวกเตอร์ และ mRNA แต่องค์การอนามัยโลกแนะนำฉีด mRNA และต่อด้วยไวรัลเวกเตอร์ได้ ดังนั้น ผู้ที่ฉีด Pfizer เข็มแรกแล้วมีปัญหา สามารถเปลี่ยนไปฉีด AstraZeneca ได้  
  2. ผู้ที่มีประวัติติดเชื้อโควิด เดิมให้เว้นช่วง 3 เดือนแล้วฉีดวัคซีน ตอนนี้แนะนำให้ลดเหลือ 1 เดือน 
  3. ผู้ที่ฉีด AstraZeneca แล้ว 2 เข็ม เดิมให้ฉีด mRNA เป็นเข็มกระตุ้น แต่หลายคนไม่สบายใจหรือมีประวัติแพ้มาก่อน สามารถให้ฉีด AstraZeneca เป็นเข็ม 3 ได้ 
  4. เด็กอายุ 12-17 ปีที่รับ Sinopharm 2 เข็มมาแล้ว 4 สัปดาห์ สามารถรับเข็ม 3 เป็น Pfizer ได้ 
  5. ฉีด Sinovac ในเด็กอายุ 3-17 ปีได้ หลังจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขึ้นทะเบียนเพิ่มเติมแล้ว
  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising