×

สธ. สรุปความเสี่ยงโคโรนา หลังพบคนไทยติดเชื้อในประเทศ

01.02.2020
  • LOADING...

วันนี้ (1 กุมภาพันธ์) นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวประจำวันถึงสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เน้นย้ำถึงความเสี่ยงและวิธีรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในประเทศไทย

 

– โคโรนาเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ผ่านมาไม่ได้ก่อให้เกิดโรคที่รุนแรง แต่ระยะต่อมาเราเจอไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิดโรครุนแรงคือซาร์สและเมอร์ส

 

– ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่มีการแพร่เชื้อได้เร็วกว่าทั้งซาร์สและเมอร์ส โดยซาร์สระบาด 2 ปี พบผู้ป่วยประมาณ 8,000 คน อัตราการตาย 10% ส่วนเมอร์สพบผู้ป่วยราว 2,000 กว่าคน และตอนนี้ยังเจอผู้ป่วยอยู่ อัตราการตาย 30%

 

– เวลานี้ยังไม่รู้อัตราการป่วยและตายที่แน่นอนของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เราอยากทราบมากๆ

 

– ยอมรับว่า แหล่งนำเข้าโรคมีทางเดียวคือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ตราบใดที่ยังมีนักท่องเที่ยวจากจีนเดินทางเข้ามาอยู่ ก็ถือว่าเสี่ยง

 

– ความเสี่ยงเราแตกต่างกันไป ถ้าใครทำงานใกล้ชิดคนจีน (Close Contact) ก็จะมีความเสี่ยงสูงกว่า 

 

– Close Contact นั้นมีหลักๆ 2 รูปแบบ คือ 1. ยืนคุยกัน หันหน้ามองกัน พูดคุยกันเกินกว่าระยะเวลาหนึ่ง และ 2. อยู่ด้วยกันในสถานที่ปิดแคบนานพอสมควร เช่น แท็กซี่ ส่วนลิฟต์นั้นระยะเวลาไม่นานพอที่จะเป็นเข้าข่าย Close Contact

 

– การเดินผ่านกันในห้าง หรือสัมผัสกันแบบผิวเผิน เรียกว่า Casual Contact โอกาสติดเชื้อแทบไม่มีเลย (ในทางการแพทย์ไม่พูดอยู่แล้วว่าโอกาสเป็นศูนย์)

 

– การสัมผัสรับเชื้อมี 2 แบบหลักๆ คือ 1. หายใจเอาละอองเชื้อเข้าไป กรณีคนไข้ไอหรือพูดแล้วน้ำลายกระเด็น แล้วเราหายใจเอาน้ำลายเข้าไป และ 2. มือเราไปสัมผัสโดนเชื้อ แล้วนำมือมาป้ายตา ป้ายปาก เช่น กรณีคนไข้ไอแล้วเอามือปิดปาก จากนั้นเอามือไปเช็ดที่ไหนก็ตาม แล้วเราไปจับโดนเชื้อ

 

– ในประเทศไทย (1 กุมภาพันธ์) พบผู้ติดเชื้อยืนยันทั้งหมด 19 ราย กลับบ้านแล้ว 7 ราย นอนโรงพยาบาล 12 ราย และเป็นคนไทยที่ติดเชื้อในประเทศ 1 ราย อาชีพขับรถแท็กซี่

 

– ยังไม่ทราบชัดว่า คนขับแท็กซี่ไปรับเชื้อจากใคร แต่เราพบตัว 13 ราย ที่ใกล้ชิดและสัมผัสคนขับแท็กซี่แล้ว ทุกคนยังไม่มีอาการอะไร ผลการตรวจเบื้องต้นเป็นลบ (ไม่มีเชื้อ)

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising