ถึงเวลาที่คนโลหการจะต้องอัปเดตองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี พร้อมเสาะหาคู่ค้าและพันธมิตรใหม่ เพื่อปลดล็อกศักยภาพของธุรกิจในโลกของการแข่งขันที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นในงาน ‘METALEX 2023’ (เมทัลเล็กซ์ 2023) มหกรรมเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีโลหการอันดับหนึ่งของอาเซียน ครั้งที่ 37 โดยอาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ ผู้จัดงานแสดงสินค้าชั้นนำแห่งอาเซียน จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘The Innovators’ หรือ ‘นวัตกรแห่งโลหการ’
สำหรับคนที่เคยไปเมทัลเล็กซ์ 2022 หรืองานปีไหนๆ คงเข้าใจถึงความคุ้มค่าที่ได้จากการเห็นเทคโนโลยีล้ำๆ ใหม่ๆ แกะกล่อง จากองค์ความรู้มหาศาล โอกาสทางธุรกิจ และไอเดียใหม่ๆ ที่สามารถต่อยอดได้ ไม่มีที่ไหนที่อุตสาหกรรมการผลิตสิ้นสุดส่วนคนที่ยังไม่เคยไป โดยเฉพาะเหล่าคนโลหการที่อยากอัปเกรดตัวเองให้เป็นนวัตกรมือหนึ่งของอุตสาหกรรมที่สามารถยกระดับความสำเร็จให้ธุรกิจการผลิต
นี่คือ 3 เหตุผลที่ไม่ว่าใครก็ไม่ควรพลาดงาน ‘เมทัลเล็กซ์ 2023’
1. การเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตอยู่ในช่วงขาขึ้น มาพร้อมโอกาสที่น่าสนใจ
ตัวเลขการนำเข้าสินค้าของกระทรวงพาณิชย์พบว่า เดือนมกราคม-กันยายน 2566 มีการนำเข้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบราวๆ 56 ล้านบาท สูงขึ้นกว่าปี 2565 ถึง 2.89%
ในจำนวนดังกล่าวมีการนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในการแปรรูปโลหะสูงขึ้น 4.59% หรือเกือบแตะ 24 ล้านบาท โดยนำเข้าจากญี่ปุ่น, จีน, ไต้หวัน, เยอรมนี และเกาหลีใต้ ตามลำดับ
ตัวเลขดังกล่าวไม่เพียงชี้ให้เห็นถึงความต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตด้านโลหการมากขึ้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของสินค้าหลายประเภทที่ตลาดโลกต้องการ
BOI (Board of Investment) หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เผยตัวเลขการลงทุนจากต่างประเทศ พบว่า มีการออกบัตรส่งเสริมการลงทุน EEC ในปีที่ผ่านมากว่า 262,982 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่กลับเข้าสู่ระดับปีก่อนโควิด ซึ่งนักลงทุนหลักได้แก่ ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, ฮ่องกง, จีน และไต้หวัน ตามลำดับ
อุตสาหกรรมเป้าหมาย 3 อันดับแรกที่มีการลงทุนสูงสุด คือ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ตามมาด้วยอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
2. ‘เทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่’ ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางรอดของอุตสาหกรรมโลหการ
จากแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมและความต้องการโลหะในอุตสาหกรรมต่างๆ ประกอบกับความต้องการของผู้บริโภคที่ซับซ้อนมากขึ้น มีโจทย์ใหม่ๆ ที่สร้างความท้าทายให้กับผู้ประกอบการตลอดเวลา อีกทั้งมาตรการทางการค้าที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น มาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ของสหภาพยุโรปที่เป็นเสมือนแรงกดดันทางอ้อมให้ผู้ผลิตสินค้าหันมาปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและลดการปล่อยคาร์บอนลง หรือหันมาลงทุนในพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เพื่อที่จะสามารถแข่งขันและเข้าสู่ตลาด EU ได้ ล้วนเป็นโจทย์ที่ต้องใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่มาช่วยแก้
วราภรณ์ ธรรมจรีย์ กรรมการผู้จัดการ อาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ กล่าวว่า “เมื่อนำแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมและมองไปถึงความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงเป็นที่มาของแนวคิดการจัดงาน ‘The Innovators’ หรือ ‘นวัตกรแห่งโลหการ’ เพื่อต้องการสื่อว่าเบื้องหลังนวัตกรรมคือนวัตกรผู้สร้างสรรค์ เพราะเทคโนโลยีจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ได้ก็ต่อเมื่อมีบุคลากรที่มีทักษะหรือ Skilled Labor มาวางแผน ตั้งค่า ควบคุม และตรวจสอบ และเราทุกคนสามารถเป็นนวัตกรที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ให้ธุรกิจและองค์กรได้ การจัดงานครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งแรงกระตุ้นและปลุกความเป็นนวัตกรในตัวนักอุตสาหกรรมทุกสาขาให้เห็นถึงศักยภาพของตัวเอง โดยมีเครื่องมือมากมายภายในงานให้หยิบใช้ ทันทีที่คุณก้าวเท้าเข้ามาในงาน METALEX คุณสามารถเป็นนวัตกรได้”
3. ยกทัพเครื่องจักรกลโลหการกว่า 2,500 แบรนด์ ยิ่งใหญ่กว่าทุกปี
ถ้าคิดว่างานปีที่แล้วยิ่งใหญ่ บอกเลยว่าปีนี้ยิ่งใหญ่กว่าปีที่แล้ว เพราะอาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ ครองพื้นที่ทุกฮอลล์ของศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค แถมยังล้นออกมาจัดบนทางเดิน (Foyer) หน้าฮอลล์ พร้อมเปิดโซนพิเศษเพิ่ม 3 โซน จับมือ 2,500 แบรนด์เครื่องจักรกลและเทคโนโลยีโลหการจาก 50 ประเทศ มาร่วมนำเสนอเทคโนโลยีรุ่นใหม่สุดล้ำ และโซนต่างประเทศที่ขนเครื่องจักรจาก 7 พาวิลเลียนนานาชาติ เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี สิงคโปร์ อิตาลี และไต้หวัน มาร่วมจัดแสดง
เตรียมพบกับ ‘นวัตกรรมใหม่’ ที่มาเปิดตัวครั้งแรกในงานปีนี้ เช่น
- เครื่องพับโลหะระบบเซอร์โวรุ่นใหม่ล่าสุด ที่มีความแม่นยำและรวดเร็วขึ้น มาพร้อมระบบสั่งงานด้วยเสียงและฟีเจอร์ที่ใช้งานง่าย จาก AMADA ประเทศญี่ปุ่น
- เครื่องเลเซอร์แมชชีนรุ่นใหม่ล่าสุด โซลูชันการแกะสลักและมาร์กพื้นผิวด้วยเลเซอร์ ช่วยเพิ่มคุณภาพการผลิตชิ้นส่วน จาก GF AgieCharmilles ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นำเข้าโดยบริษัท สหมิตร แมชชีนเนอรี่
- เครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ หรือเครื่องกัดโลหะแนวนอน สามารถตัดเฉือนชิ้นงานขนาดใหญ่หรือยาวแบบหลายหน้าได้ จึงให้ผลผลิตสูงและมีประสิทธิภาพ จาก Brother ประเทศญี่ปุ่น นำเข้าโดยบริษัท Yamazen (Thailand)
- หุ่นยนต์ Cobot ที่มีความเร็วและแม่นยำในการหยิบจับชิ้นงาน และมีความเร็วสูงสุดเทียบเท่ากับหุ่นยนต์อุตสาหกรรม จาก Nachi Technology Thailand
- เครื่องแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ขนาดเล็ก จาก Fanuc Thai ที่มีความเร็วสูง แม่นยำสูง และมีประสิทธิภาพสูง มีทูลแมกกาซีน (Tool Magazine) สามารถสับเปลี่ยนทูลได้มากถึง 28 ทูล
สำหรับไฮไลต์ของงานปีนี้ นอกจากโชว์นวัตกรรมใหม่ๆ จาก 7 พาวิลเลียนนานาชาติ ยังมีพื้นที่จัดแสดงพิเศษใหม่เพิ่มอีก 3 โซน ได้แก่
- Smart Materials โซนวัสดุอัจฉริยะ จับตาวัสดุดาวรุ่งที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมการผลิต
- Additive Manufacturing หรือการผลิตแบบเติมเนื้อ หรือที่รู้จักกันในชื่อของการผลิตแบบ 3 มิติ
วิธีเสริมคุณค่าผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าธุรกิจ - Artificial Intelligence สำรวจความล้ำหน้าของ AI ในอุตสาหกรรมการผลิตที่กำลังมีบทบาทมากขึ้น
อัปสกิลและองค์ความรู้เพื่อให้คุณเป็นนวัตกรที่ครบเครื่องผ่านงานสัมมนา 41 หัวข้อ ที่ได้วิทยากรผู้เชี่ยวชาญกว่า 119 คนมาร่วมมอบความรู้ แบ่งปันเทคนิค และเสริมมุมมองในการทำธุรกิจ เช่น
- หัวข้อ ‘ตัวจริงเสียงจริงคนเอไอ บริหารอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ’ อาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และสมาคมไทยไอโอที เชิญวิทยากรทั้งฝั่งผู้ใช้และผู้ให้บริการมาแชร์ประสบการณ์และแนวคิดการใช้ AI ให้ประสบความสำเร็จ
- หัวข้อ ‘จากนโยบายสู่การปฏิบัติ-ปฏิวัติอุตสาหกรรมการผลิต’ ทีมนักวิจัยด้าน AI จากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จะเล่าถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ที่น่าจับตา
- หัวข้อ ‘มาตรการรองรับ CBAM ของอุตสาหกรรมอลูมิเนียมไทย พร้อมมุ่งสู่การสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน’ กลุ่มอุตสาหกรรมอลูมิเนียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ร่วมกันช่วยผู้ประกอบการตอบโจทย์มาตรการทางการค้าด้านคาร์บอน
- หัวข้อ ‘ไลน์ธุรกิจเกิดใหม่ ตอบโจทย์กระแสระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า’ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) เชิญผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำที่ทำวิจัยด้าน EV และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง มาร่วมเสวนาบนเวที EV Tech Forum
- หัวข้อ ‘อุตสาหกรรมใหม่ ฝ่าข้อจำกัดอย่างไรให้เจอโอกาส’ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติชวนวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและต่างชาติมาเจาะลึกถึงการค้นหาโอกาสและการผลิตด้วยเทคนิค Additive Manufacturing ให้สำเร็จ
ทั้งหมดนี้คือเหตุผลที่เราไม่อยากให้คุณพลาดเป็นหนึ่งในนวัตกรที่จะเปลี่ยนโลกอุตสาหกรรมโลหการ โดยข้อมูลล่าสุดจากผู้จัดงานเผยว่า ตอนนี้มีผู้ลงทะเบียนล่วงหน้าแล้วกว่าหมื่นรายจากมากกว่า 40 ประเทศ คาดว่าจะมีผู้ร่วมงานปีนี้กว่า 95,000 คน และมูลค่าการลงทุนจากการเจรจาธุรกิจในงานและต่อเนื่องจากงานกว่า 7,000 ล้านบาท
มาร่วมเป็น ‘นวัตกรแห่งโลหการ’ ในงาน METALEX 2023 วันที่ 22-25 พฤศจิกายน 2566 ที่ฮอลล์ 98-104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ทาง www.metalex.co.th ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม www.facebook.com/metalexpage