×

เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย ผนึกกำลังพาร์ตเนอร์คลินิกและพันธมิตร เปิดตัวโครงการ ‘Merz Aesthetics Set Zero Aesthetics Waste’ รีไซเคิลขยะจากหัตถการความงามครั้งแรกของโลก [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
20.08.2024
  • LOADING...
Merz Aesthetics Set Zero Aesthetics Waste

HIGHLIGHTS

  • เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย จับมือกับพาร์ตเนอร์คลินิกและพาร์ตเนอร์ด้านความยั่งยืน ขับเคลื่อนสังคมและโลกสีเขียวผ่านโครงการ ‘Merz Aesthetics Set Zero Aesthetics Waste’ ด้วยการจัดการขยะที่เกิดจากหัตถการความงามผ่านการ Recycle และ Upcycle เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อีกครั้ง
  • นำร่อง 12 คลินิกความงามชั้นนำและพันธมิตรที่ช่วยผลักดันความยั่งยืน ได้แก่ บริษัท รีไซเคิลเดย์ จำกัด, แบรนด์ควอลี่ และบริษัท เคอรี่ โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด
  • ขยะที่ถูกส่งคืนในช่วงนำร่องโครงการ 3 เดือนที่ผ่านมา แบ่งเป็นหัว Ultherapy Transducer ที่จะนำไปผ่านกระบวนการ Upcycle เป็นถังอเนกประสงค์ ‘มานะ’ มากกว่า 1,936 หัว และบรรจุภัณฑ์กล่องสินค้ามากกว่า 131 กิโลกรัมที่ส่งไปเพื่อ Recycle สามารถลดคาร์บอนฟุตพรินต์ไปแล้วถึง 787 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 82 ต้น 
  • นอกจากนี้ เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย ยังเดินหน้าขับเคลื่อนเรื่องการลดขยะภายในออฟฟิศมาอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการ Merz Aesthetics Set Zero Office Waste

การเติบโตของตลาดด้านหัตถการความงามของประเทศไทยใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชีย รองจากเกาหลีใต้ ผลสำรวจจาก SCB EIC Health & Wellness survey 2023 เผยว่า ไทยเป็น 1 ใน 4 ฮับเวชศาสตร์ความงามที่สำคัญของเอเชียรองจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน

 

หากมองผ่านเลนส์นักการตลาด นี่คือโอกาสทองของธุรกิจความงาม โดยเห็นได้จากจำนวนคลินิกเสริมความงามที่เพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนคลินิกความงามประมาณ 7,000 แห่ง ในจำนวนนี้มีคลินิกในกรุงเทพฯ 2,000 แห่ง และต่างจังหวัดอีก 5,000 แห่ง 

 

เมื่อจำนวนคลินิกเพิ่มขึ้น การใช้บริการด้านความงามก็พุ่งตามการเติบโตของธุรกิจ ผลที่ตามมาคือ ปริมาณ ‘ขยะจากหัตถการความงาม’ หรือ Aesthetics Waste จึงมีจำนวนมหาศาล

 

จากรายงานของ TRVST พบว่า แต่ละปีมีขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ความงามมากกว่า 1.2 แสนล้านชิ้นทั่วโลก รวมถึงกลุ่มหัตถการความงาม (Aesthetics Waste) ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มขยะติดเชื้อ อย่างเช่น เครื่องมือแพทย์ เข็มฉีดยา หลอดยา และขวดยา ไปจนถึงกลุ่มบรรจุภัณฑ์ที่เป็นแพ็กเกจกล่องกระดาษ ซึ่งหากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในระยะยาว

 

Merz-Aesthetics

พาร์ตเนอร์คลินิกความงามชั้นนำ

 

รีไซเคิลขยะความงาม ตอกย้ำจุดยืนองค์กรด้วยแนวคิด ‘Merz Aesthetics WORK for Sustainability’

 

เมื่อพูดถึงบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์สำหรับใช้ในคลินิกเสริมความงาม Merz Aesthetics คือผู้นำด้านเวชศาสตร์ความงามที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 115 ปี ให้บริการใน 90 ประเทศทั่วโลก

 

ปริมาณการสั่งซื้อสินค้าและนวัตกรรมด้านความงามมหาศาลย่อมตามมาด้วยปริมาณขยะจากหัตถการความงามเช่นกัน ที่ผ่านมา Merz Aesthetics ขับเคลื่อนโครงการด้านความยั่งยืนระดับโลกอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสดงความรับผิดชอบที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการลดปริมาณขยะ เช่น การลดกระดาษจากแผ่นพับในกล่องผลิตภัณฑ์เปลี่ยนมาใช้ QR Code แทน รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Botulinum Toxin ให้มีความคงตัวสูง จึงไม่จำเป็นต้องแช่เย็นในประเทศที่เป็นเขตเมืองหนาว ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 58% จากการตามเก็บสถิติในสหรัฐอเมริกา

 

สำหรับตลาดประเทศไทย ก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเติบโตของยอดขายอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลา 9 ปีของการดำเนินธุรกิจของเมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย (Merz Aesthetics Thailand) 

 

หากนำหัว Ultherapy Transducer ซึ่งเป็นวัสดุใช้แล้วหมดไปในการให้บริการยกกระชับด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ (Ulthera®) ของคลินิกความงามที่ใช้แล้วมาเรียงต่อกันในแนวตั้งจะมีความสูงเทียบเท่าหอไอเฟล 12 หอ หรือกว่า 3,900 เมตร ในขณะที่กล่องผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีน้ำหนักรวมกัน 17.45 ตัน เท่ากับช้างแอฟริกันโตเต็มวัยถึง 3 ตัว

 

แนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจากการเติบโตของยอดขายและการที่ผู้บริโภคยังคงเลือกใช้หัตถการความงามในตลาดพรีเมียม เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย ตระหนักถึงความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนโลกสู่ความยั่งยืน จึงเป็นที่มาของโครงการ ‘Merz Aesthetics Set Zero Aesthetics Waste’ ชูจุดยืนองค์กรด้วยแนวคิด ‘Merz Aesthetics WORK for Sustainability’ จับมือกับพาร์ตเนอร์คลินิกและ 3 พันธมิตร อย่าง บริษัท รีไซเคิลเดย์ จำกัด, ควอลี่ (Qualy) และบริษัท เคอรี่ โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด นำขยะจากหัตถการความงามส่งคืนกลับมาจัดการอย่างถูกวิธีด้วยการ Recycle และ Upcycle 

 

เภสัชกรหญิงกิตติวรรณ รัตนจันทร์ 

ผู้บริหารสูงสุด บริษัท เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย และสิงคโปร์

 

เภสัชกรหญิงกิตติวรรณ รัตนจันทร์ ผู้บริหารสูงสุด บริษัท เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย และสิงคโปร์ เผยว่า “เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย มีเป้าหมายที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจเวชศาสตร์ความงามในประเทศไทย ด้วยการจัดการขยะที่เกิดจากหัตถการความงาม (Aesthetics Waste) อย่างถูกวิธี ลดการฝังกลบขยะสู่พื้นผิวโลกให้เป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill) โดยเชื่อว่าความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์คลินิกและพันธมิตรของโครงการฯ จะเป็นก้าวสำคัญในการนำพาวงการเวชศาสตร์ความงามของประเทศไทยไปสู่ความยั่งยืน เพราะนอกจากจะเป็นวิธีที่จะช่วยลดปริมาณขยะหัตถการความงามแล้ว ยังเป็นมาตรฐานใหม่ในการดำเนินธุรกิจที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม”

 

นำร่อง 12 คลินิกความงามชั้นนำเดินหน้ากระบวนการ ‘เก็บกลับ ปรับโฉม ส่งคืนคุณ’

 

ปัจจุบันมีคลินิกความงามชั้นนำที่เข้าร่วมโครงการ Merz Aesthetics Set Zero Aesthetics Waste ในช่วงก่อนเปิดตัวโครงการจำนวน 12 คลินิก ผ่านกระบวนการ ‘เก็บกลับ ปรับโฉม ส่งคืนคุณ’ โดยคลินิกที่เข้าร่วมจะคัดแยกขยะหัว Ultherapy Transducer และกล่องผลิตภัณฑ์ต่างๆ ใส่ในถุงเก็บกลับที่แยกสีอย่างชัดเจน โดยเมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย จัดเตรียมไว้ให้ โดยมี ‘เคอรี่ โลจิสติคส์’ รับหน้าที่เข้าไปเก็บกลับเพื่อนำส่งกล่องผลิตภัณฑ์ ถาดพลาสติก และเอกสารกำกับยา นำส่งให้กับ ‘รีไซเคิลเดย์’ ในขณะที่หัว Ultherapy Transducer ส่งให้กับ ‘ควอลี่’ ยกระดับขยะเป็นผลิตใหม่ด้วยการ Upcycle ให้กลายเป็น ‘มานะ’ ถังอเนกประสงค์ที่ผลิตจากพลาสติกที่เป็นส่วนประกอบของหัว Ultherapy Transducer 100% แล้วส่งคืนให้กับคลินิกที่เข้าร่วมโครงการ

 

โดยหลังจากการแยกชิ้นส่วนหัวได้เป็นพลาสติกที่นำไป Upcycle ได้แล้ว ยังมีแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ควอลี่จะดำเนินการส่งให้กับรีไซเคิลเดย์ในภายหลัง เพื่อเข้าสู่กระบวนการ Recycle อย่างถูกต้อง ไม่เหลือขยะทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อม ตามหลักการ Zero Waste to Landfill อย่างแท้จริง

 

ถังอเนกประสงค์ ‘มานะ’ ที่ผ่านการ Upcycle หัว Ultherapy Transducer 

 

ชนัมภ์ ชวนิชย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท รีไซเคิลเดย์ จำกัด กล่าวถึงความภูมิใจที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ Merz Aesthetics Set Zero Aesthetics Waste ว่า “รีไซเคิลเดย์มีโอกาสร่วมงานกับเมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย ในการเก็บกลับขยะภายในองค์กรมาก่อนแล้ว พอรู้ว่ามีโครงการนี้เราตื่นเต้นมาก เพราะไม่ค่อยได้เห็นอุตสาหกรรมลักษณะนี้ให้ความสำคัญกับการเก็บกลับ และประทับใจกับเป้าหมายของเมิร์ซที่ไม่ได้ทำแค่เฉพาะภายในองค์กร แต่จะขับเคลื่อนทั้งวงการความงาม เราก็จะนำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่ยาวนานในด้านการจัดการและรีไซเคิลขยะมาตรฐานสากลมาช่วยผลักดันให้เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย บรรลุเป้าหมายความยั่งยืนได้ในอนาคต” 

 

ชนัมภ์ ชวนิชย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท รีไซเคิลเดย์ จำกัด

 

ปัจจุบันขยะที่ถูกส่งคืนในช่วงนำร่องโครงการ 3 เดือนที่ผ่านมา แบ่งเป็นหัว Ultherapy Transducer ที่จะนำไปผ่านกระบวนการกลายเป็นถังอเนกประสงค์ ‘มานะ’ จำนวน 1,936 หัว และบรรจุภัณฑ์กล่องสินค้า 131 กิโลกรัมที่ส่งไปยังจุดรับของรีไซเคิลเดย์เพื่อ Recycle

 

หากจะแปลงข้อมูลเพื่อเทียบเคียงการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ ข้อมูลล่าสุด (วันที่ 31 กรกฎาคม 2567) จากเว็บไซต์ merzaestheticssetzerowaste.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจติดตามผลการดำเนินงานของโครงการนี้ พบว่า สามารถลดคาร์บอนฟุตพรินต์ไปแล้วถึง 787 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 82 ต้น

 

จำนวนหัว Ultherapy Transducer ที่เก็บกลับได้ 1,936 หัว นำไปผลิตถังอเนกประสงค์ ‘มานะ’ ได้ 193 ใบแล้ว โดยหัว Ultherapy Transducer จำนวน 10 หัวจะสามารถผลิตถังอเนกประสงค์ ‘มานะ’ ได้ 1 ใบ

 

 

ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ นักออกแบบและผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ควอลี่

 

ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ นักออกแบบและผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ควอลี่ เล่าถึงที่มาของถังอเนกประสงค์ ‘มานะ’ ว่าเกิดจากแนวคิดความยั่งยืน ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของควอลี่ในการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนไปพร้อมกับการรักษ์โลก “ต้องบอกว่าวัสดุที่ได้จากการแยกขยะหัว Ultherapy Transducer นั้นเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงสูงมาก เราจึงพยายามที่จะนำมาทำเป็นสิ่งของที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่เกิดประโยชน์จริงในชีวิตประจำวัน ผ่านกระบวนการ Upcycle จนกลายเป็น ‘มานะ’ ถังอเนกประสงค์ จะใช้เป็นกระถางปลูกต้นไม้หรือกล่องเก็บของก็ได้”

 

เภสัชกรหญิงกิตติวรรณยังบอกด้วยว่า ภายในปี 2570 เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย ตั้งเป้าที่จะขยายความร่วมมือกับคลินิกคู่ค้า 180 แห่ง ซึ่งจะช่วยลดคาร์บอนฟุตพรินต์จากขยะที่เกิดจากหัตถการความงามเท่ากับ 9,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์

 

 

เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย เดินหน้าโครงการ Merz Aesthetics Set Zero Office Waste ต่อเนื่อง 

 

“จริงๆ แล้วนอกจากโครงการข้างต้น ภายในองค์กรของเมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย เดินหน้าขับเคลื่อนเรื่องการลดขยะภายในออฟฟิศมานานแล้ว” เภสัชกรหญิงกิตติวรรณ เล่าว่า เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย ปักธงที่จะไปสู่ Zero Waste โดยเริ่มจากการปลูกฝังและสร้างความตระหนักรู้ให้กับคนในองค์กร

 

“การจะปรับเปลี่ยนอะไรก็ตามต้องเริ่มจากตัวเราก่อน ภายในองค์กรเราจะใช้การสื่อสารเพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการแยกขยะ เช่น มีถังขยะส่วนกลางที่บอกชัดเจนว่าขยะประเภทไหนต้องทิ้งถังไหน ไปจนถึงลดปริมาณการใช้ขยะ ปรับเปลี่ยนการทำงานสู่ดิจิทัล ปัจจุบันพนักงานของเราจะไม่มีนามบัตรที่เป็นกระดาษ หรือเอกสารภายในองค์กรเปลี่ยนเป็นดิจิทัลทั้งหมด” เภสัชกรหญิงกิตติวรรณกล่าว

 

ข้อมูลล่าสุดจากรีไซเคิลเดย์ พาร์ตเนอร์ด้านสิ่งแวดล้อมของเมิร์ซ เผยว่า ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดได้ 8,102 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 852 ต้น ซึ่งเป็นสถิติล่าสุดจากการลดขยะภายในองค์กรภายใต้โครงการ Merz Aesthetics Set Zero Office Waste

 

“ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งมาจากจำนวนพนักงานของเราเพิ่มมากขึ้นตามการเติบโตของธุรกิจ แต่เราก็ตั้งเป้าว่า ภายใน 3 ปีจะสามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น 30% 

 

“อย่างไรก็ตาม เป้าหมายหลักภายในองค์กรของเราคือการลดการใช้ขยะก่อน เป็นที่มาของนโยบายลดการใช้กระดาษ เรามีข้อมูลที่ส่งให้แต่ละแผนกเห็นเลยว่าแผนกไหนลดการใช้กระดาษไปเท่าไร และต่อจากนี้จะโฟกัสไปที่ Food Waste มากขึ้น”

 

ยิ่งไปกว่านั้น เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย เล็งเห็นความสำคัญของการใส่ใจสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนตั้งแต่ต้นน้ำ จึงตัดสินใจย้ายสำนักงานเพื่อเข้าไปอยู่ในพื้นที่สีเขียวของ One Bangkok ซึ่งเป็นโครงการที่ถูกพัฒนาขึ้นให้สอดคล้องกับ Sustainable Development Goals: SDGs ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงการเลือกบริษัทอินทีเรียที่ใช้วัสดุรีไซเคิลในการตกแต่ง ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในการส่งเสริมเรื่องความยั่งยืนอย่างจริงจังของเมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X