เมื่อช่วงต้นปี Merriam-Webster บริษัทพจนานุกรมในสหรัฐฯ ได้เพิ่มคำศัพท์ใหม่จำนวน 640 คำ ซึ่งเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับอาหารจำนวน 17 คำ ได้แก่คำว่า Bay-rum tree, Benedict, Bhut jolokia, Chai latte, Cheesemonger, Cow parsnip/Giant cow parsnip, Double-dip, Dulce de leche, Ghost pepper, Go-cup, Java, Mofongo, Steak (non-meat), Umami, Pinot, Americano และ Campari
และเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2562 ทางบริษัทประกาศว่าได้เพิ่มศัพท์ภาษาอังกฤษพร้อมความหมาย จำนวน 533 คำ และได้ปรับปรุงคำนิยาม ที่มา การออกเสียง และวันที่คำศัพท์ถูกใช้ครั้งแรกของคำศัพท์อีกประมาณ 4,000 คำ
นอกจากนี้ยังเพิ่มคำศัพท์เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มจำนวน 9 คำในพจนานุกรมออนไลน์ ได้แก่คำว่า Halloumi (ชีสที่ทำจากนมแกะ แพะ และวัว อาหารประเทศไซปรัส), Matcha (ชาเขียวญี่ปุ่น), Concasse (การหั่นอาหารบางๆ วิธีการทำอาหารฝรั่งเศส), Cidery (สถานที่ผลิตเหล้าผลไม้), Meadery (สถานที่ผลิตไวน์น้ำผึ้ง), Chana (ถั่วหัวช้างหรืออาหารที่ทำจากพืชตะกูลถั่ว), Royal icing (น้ำตาลไอซิ่งที่ใช้แต่งหน้าเค้กหรือคุกกี้), Tallboy (เบียร์กระป๋องขนาด 16 ออนซ์) และ Quaffer (ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์อึกใหญ่ หรือเครื่องดื่มที่ผลิตมาเพื่อดื่มอึกใหญ่)
ปีเจอร์ โซโคโลวสกี (Peter Sokolowski) บรรณาธิการของพจนานุกรม Merriam-Webster กล่าวว่า พวกเขาต้องการเห็นหลักฐานการใช้คำศัพท์ใหม่จำนวนมากถูกเพิ่มเข้าไปในพจนานุกรม คำเหล่านี้บางคำเป็นที่รู้จักมาสักพักแล้ว แต่คำบางคำก็เพิ่งเข้ามาอยู่ในภาษาได้ไม่นาน บางคำถูกประยุกต์ให้เข้ากับภาษาได้อย่างรวดเร็ว และควรได้รับการระบุให้ชัดเจน
ปรากฏการณ์ที่บริษัทพจนานุกรมในสหรัฐฯ ได้เพิ่มหรือปรับปรุงคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารต่างประเทศมากขึ้นอาจแสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมต่างชาติเริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของชาวอเมริกันมากขึ้นก็เป็นได้นะ
แล้วภาษาไทยล่ะ ใครคิดว่าคำไหนที่เรายืมภาษาอื่นมาใช้บ่อยจนอยากให้ราชบัณฑิตยสถานใส่เพิ่มเข้าไปบ้าง คอมเมนต์ข้างล่างกันได้เลย
พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์
อ้างอิง: