×

KTC เผยแนวโน้มยอดใช้ผ่านบัตรปี 2564 ต่ำกว่าเป้า แต่พอร์ตสินเชื่อรวมปี 2565 เติบโตแตะ 1 แสนล้านบาท หนุนกำไรปีหน้าฟื้นตัว

โดย SCB WEALTH
29.11.2021
  • LOADING...
KTC

เกิดอะไรขึ้น:

บมจ.บัตรกรุงไทย (KTC) เปิดเผยว่ายอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในปี 2564 มีแนวโน้มลดลงราว 1%YoY  เทียบกับปี 2563 ลดลง 8%YoY และลดลง 1.6%YoY ใน 9M64 ซึ่งต่ำกว่าเป้าที่บริษัทวางไว้ว่าจะเติบโต 5% โดยยอดใช้จ่ายผ่านบัตรมีแนวโน้มฟื้นตัวในเดือนตุลาคม แต่ปรับตัวลดลงเล็กน้อยในเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ บริษัทจะจัดแคมเปญการตลาดเชิงรุกมากขึ้นในเดือนธันวาคม เพื่อกระตุ้นยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตใน 4Q64

 

สำหรับในปี 2565 KTC ตั้งเป้าหมายเบื้องต้นที่จะกระตุ้นยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตให้เพิ่มขึ้น 10% เพื่อให้ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตฟื้นตัวกลับคืนสู่ระดับก่อนโควิดระบาด นอกจากนี้บริษัทได้ตั้งเป้าเพิ่มพอร์ตสินเชื่อคงค้างสู่ 9.5 หมื่นล้านบาท ถึง 1 แสนล้านบาท ในปี 2565 หรือคิดเป็นการเติบโตของสินเชื่อที่ 5-10% โดยได้แรงหนุนจากแนวโน้มที่ดีขึ้นของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และการขยายธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ (1.5 พันล้านบาท) และสินเชื่อเช่าซื้อ (1 พันล้านบาท)

 

กระทบอย่างไร: 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น KTC ปรับตัวลดลง 6.1%MoM สู่ระดับ 54.25 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564)

 

มุมมองระยะสั้น:

SCBS คาดว่าแนวโน้มกำไร 4Q64 ของ KTC จะปรับตัวลดลงทั้ง YoY และ QoQ ซึ่งหลักๆ เกิดจาก Credit Cost ที่เพิ่มขึ้นจากการตั้งสำรองที่เกิดขึ้นครั้งเดียวสำหรับบริษัทกรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด (KTBL) อย่างไรก็ตาม เมื่อบริษัทชำระเงินในการเข้าซื้อหุ้น KTBL ครั้งสุดท้าย จะมีการปรับราคาซื้อลงเพื่อหักสำรองดังกล่าว ซึ่งจะรับรู้ผ่านทางส่วนของผู้ถือหุ้น 

 

ดังนั้น SCBS คาดว่ารายการตั้งสำรองจะเพิ่มขึ้น YoY และ QoQ ใน 4Q64 นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) จะเพิ่มขึ้น QoQ ตามปัจจัยฤดูกาล ซึ่งหลักๆเกิดจากค่าใช้จ่ายการตลาด

 

มุมมองระยะยาว:

ในปี 2565 SCBS คาดว่ากำไรของ KTC จะเติบโต 12%YoY โดยได้รับการสนับสนุนจากการเติบโตของสินเชื่อที่ฟื้นตัวจาก 1% ในปี 2564 สู่ระดับการเติบโต 7% ในปี 2565 ขณะที่ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) อยู่ในทิศทางทรงตัว แต่รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย (Non-NII) จะเพิ่มขึ้น 9%YoY และ Credit Cost อยู่ในระดับทรงตัวที่ 5.9%

 

ในระยะถัดไปต้องติดตามความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์หลังจากอัตราการว่างงานสูงขึ้น รวมถึงการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่สูงขึ้นจากธนาคารและการปล่อยสินเชื่อแบบใหม่ เช่น สินเชื่อดิจิทัล นอกจากนี้ยังต้องติดตามต้นทุนทางการเงินที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะยาว

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X