×

KBANK – เป้าหมายปี 2566 ค่อนข้างเป็นลบมากกว่าคาด

30.01.2023
  • LOADING...

เกิดอะไรขึ้น:

บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ตั้งเป้าหมายปี 2566 โดยตั้งเป้า Credit Cost ที่ 1.75-2% เทียบกับ 2.11% ในปี 2565 ซึ่งค่อนข้างเป็นลบมากกว่าตัวเลขที่ InnovestX Research คาดการณ์ไว้ที่ 1.8% ดังนั้นจึงได้ปรับประมาณการ Credit Cost ปี 2566 เพิ่มขึ้นสู่ 2% 

 

เป้าหมายดังกล่าวครอบคลุมถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การล้างหนี้ด้อยคุณภาพออกจากบัญชีงบดุลเชิงรุก (ขาย NPL ให้กับ JK AMC และตัดหนี้สูญ) และแผนเจาะตลาดสินเชื่อขนาดเล็ก (Small Ticket) และสินเชื่อดิจิทัล 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


KBANK วางแผนล้างหนี้ด้อยคุณภาพออกจากบัญชีงบดุลให้แล้วเสร็จในปีนี้ ช้ากว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ 1 ปี ธนาคารตั้งเป้าอัตราส่วน NPL ที่น้อยกว่า 3.25% ภายในสิ้นปี 2566 เทียบกับ 3.2% (ตามการคำนวณของธนาคาร) ณ สิ้นปี 2565 NPL ไหลเข้าในปี 2565 20% เกิดจากสินเชื่อที่มีปัญหาอยู่แล้วก่อนเกิดสถานการณ์โควิด, 50% เกิดจากผลกระทบโควิด, 20% เกิดจากการปล่อยสินเชื่อขนาดเล็กรายใหม่ และ 10% เกิดจากธุรกิจปกติ 

 

สัดส่วนสินเชื่อที่มีการปรับโครงสร้างหนี้แบบเบ็ดเสร็จเพิ่มขึ้นจาก 6.3% ณ 3Q65 สู่ 6.9% ณ 4Q65 LINE BK (บริษัทย่อยที่ KBANK ถือหุ้น 50%) มี Credit Cost สูงมากที่ 24% ในปี 2565 และคาดว่าจะลดลงสู่ 20% สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ราว 20% อยู่ในภาคการส่งออก ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเผชิญแรงต้านจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

 

ทั้งนี้ ตั้งเป้าสินเชื่อเติบโต 5-7% ซึ่งสอดคล้องกับประมาณการของ InnovestX Research ที่ 6% เทียบกับ 3% (6% ถ้าไม่รวม NPL ที่ตัดจำหน่ายออกไป) ในปี 2565 สำหรับปี 2566 KBANK ตั้งสินเชื่อบรรษัทธุรกิจเติบโต 4-6% สินเชื่อธุรกิจ SME เติบโต 1-2% และสินเชื่อลูกค้าบุคคลเติบโต 2-4% ธนาคารคาดว่าการเติบโตของสินเชื่อบรรษัทธุรกิจส่วนใหญ่จะเกิดจากธุรกิจโรงแรมและการบริการ ค้าปลีก และอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการขยายสินเชื่อในตลาดภูมิภาคไปสู่เวียดนาม อินโดนีเซีย และจีน

 

ด้าน NIM ปี 2566 KBANK ตั้งเป้า NIM ที่ 3.3-3.45% เทียบกับ 3.34% ในปี 2565 ซึ่งแย่กว่าที่ได้คาดการณ์ เป้าหมายดังกล่าวอิงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1.75% ณ สิ้นปี 2566 (โดยอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยใน 2H66 เพื่อรับมือกับแรงต้านจากเศรษฐกิจโลก) 

 

แนวโน้มที่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์เพิ่มขึ้น และการหันมาปล่อยสินเชื่อบรรษัทธุรกิจเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับชะลอการปล่อยสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันที่ให้ผลตอบแทนสูง จึงปรับประมาณการ NIM ปี 2566 ลดลง 5 bps โดยคาดว่า NIM จะขยายตัว 22 bps ซึ่งดีกว่าเป้าหมายของธนาคาร

 

ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิ KBANK ตั้งเป้าในระดับทรงตัวในปี 2566 ธนาคารคาดว่าค่าธรรมเนียมรับจากการทำธุรกรรมจะลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่จะขยายธุรกิจ Wealth Management ในปี 2566 ด้วยรูปแบบการขายและบริการใหม่ๆ ธนาคารเชื่อว่ารายได้จากการรับประกันภัยสุทธิทำจุดต่ำสุดไปแล้วในปี 2565 และจะค่อยๆ ฟื้นตัวในปี 2566 ขณะที่ตั้งเป้าอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ทรงตัวอยู่ที่ Low to Mid 40% ในปี 2566 

 

กระทบอย่างไร:

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น KBANK ปรับเพิ่มขึ้น 1.37%MoM สู่ระดับ 147.50 บาท ขณะที่ SET Index ปรับเพิ่มขึ้น 2.32%MoM สู่ระดับ 1,681.30 จุด 

 

กลยุทธ์การลงทุนและแนวโน้มผลประกอบการปี 2566:

ในปี 2566 InnovestX Research คาดว่ากำไรจะฟื้นตัว 20% โดยได้รับการสนับสนุนจากการคาดการณ์ว่าสินเชื่อจะเติบโต 6% NIM จะขยายตัว 22 bps รายได้ค่าธรรมเนียมจะอยู่ในระดับทรงตัว และ Credit Cost จะลดลง 11 bps

 

โดยคงเรตติ้ง NEUTRAL สำหรับ KBANK ด้วยราคาเป้าหมายที่ปรับลดลงจาก 173 บาท สู่ 163 บาทต่อหุ้น (0.72 เท่าของประมาณการ BVPS ปี 2566) เนื่องจากได้ปรับประมาณการกำไรปี 2566 และ 2567 ลงปีละ 12% ซึ่งหลักๆ เกิดจากการปรับประมาณการ Credit Cost และ NIM 

 

ส่วนปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์จากเงินเฟ้อสูงและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และผลกระทบจาก Fintech

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising