เกิดอะไรขึ้น:
ราคาเนื้อสัตว์บกในประเทศปรับตัวดีขึ้นใน 2Q22TD โดยราคาสุกรและไก่เนื้อปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ได้แรงหนุนจากอุปทานที่ตึงตัวสืบเนื่องมาจากโรค ASF (โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร) และอุปสงค์ที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง ขณะที่ในปี 2022 ราคามีแนวโน้มที่จะยืนอยู่ในระดับสูง
การส่งออกไก่เนื้อไทยก็แข็งแกร่งขึ้น โดยมูลค่าการส่งออกไก่เนื้อไทยเติบโต 16%YoY ใน 4M22 ซึ่งตลาดรายใหญ่ คือ ญี่ปุ่น (เพิ่มขึ้น 11%YoY, 50% ของมูลค่าการส่งออกไก่เนื้อทั้งหมด), สหราชอาณาจักร (เพิ่มขึ้น 42%YoY, 18% ของมูลค่าการส่งออกไก่เนื้อทั้งหมด), เนเธอร์แลนด์ (เพิ่มขึ้น 56%YoY, 6% ของมูลค่าการส่งออกไก่เนื้อทั้งหมด) และเกาหลีใต้ (เพิ่มขึ้น 17%YoY, 5% ของมูลค่าการส่งออกไก่เนื้อทั้งหมด) ขณะที่จีนลดลง 30%YoY, 6% ของมูลค่าการส่งออกไก่เนื้อทั้งหมด
ซาอุดีอาระเบียซึ่งเป็นตลาดส่งออกใหม่ในเดือนมีนาคม 2022 ได้อนุญาตให้นำเข้าสัตว์ปีกจากโรงงานในประเทศไทย 11 แห่ง (รวมถึงโรงงานของ GFPT และ CPF) ทำให้ซาอุดีอาระเบียกลายเป็นตลาดส่งออกไก่เนื้ออันดับที่ 31 ของประเทศไทย (ส่วนแบ่งตลาด 0.01%) ใน 4M22
ส่วนมาเลเซียที่หยุดส่งออกไก่ชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2022 จนกว่าราคาและการผลิตไก่ในประเทศจะเกิดเสถียรภาพ ซึ่งมาเลเซียและสิงคโปร์ (สิงคโปร์ ตลาดส่งออกไก่เนื้อที่สำคัญของมาเลเซีย) เป็นตลาดส่งออกไก่เนื้อไทยอันดับ 6 และ 7 โดยคิดเป็นสัดส่วน 4% และ 3% ของการส่งออกไก่เนื้อไทย พัฒนาการดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมส่งออกไก่เนื้อไทย
อย่างไรก็ตาม GFPT ยังไม่ได้ส่งออกไปยังซาอุดีอาระเบีย เนื่องจากบริษัทเน้นส่งออกผลิตภัณฑ์ปรุงสุกที่มีราคาสูงในตลาดอื่นมากกว่าผลิตภัณฑ์ดิบที่มีราคาต่ำในซาอุดีอาระเบียในตอนนี้ เนื่องจากปริมาณส่งออกไปสิงคโปร์คิดเป็นสัดส่วน 1% ของการส่งออกทั้งหมดของ GFPT และ 6% ของการส่งออกทั้งหมดของ McKey ใน 1Q22 ดังนั้นการที่มาเลเซียหยุดส่งออกไก่ชั่วคราวจะส่งผลบวกเล็กน้อยต่อ GFPT
ขณะที่ CPF ได้จัดส่งผลิตภัณฑ์ไปยังซาอุดีอาระเบียเป็นครั้งแรก 600 ตันในช่วงปลายเดือนมีนาคม โดยตั้งเป้าปริมาณส่งออกในปี 2022 ที่ 6,000 ตัน หรือ 4% ของการส่งออกไก่เนื้อทั้งหมดของบริษัท แต่ไม่ได้มีการส่งออกไก่เนื้ออย่างมีนัยสำคัญไปยังมาเลเซียและสิงคโปร์
สำหรับต้นทุนอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น ด้วยอุปทานที่ตึงตัวสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และสภาวะการเพาะปลูกที่ไม่เอื้ออำนวย แต่จะส่งผลกระทบจำกัดต่อมาร์จิ้นธุรกิจสัตว์บกในประเทศ เนื่องจากราคาเนื้อสัตว์บกปรับขึ้นในอัตราที่แรงกว่าต้นทุนอาหารสัตว์ใน YTD
ด้านราคาสุกรในจีน ปรับลดลง YoY เนื่องจากอุปทานสุกรเพิ่มขึ้นหลังจากสถานการณ์โรค ASF เริ่มคลี่คลาย แต่ปรับขึ้น QoQ เนื่องจากราคาต่ำกว่าจุดคุ้มทุน และราคาในปี 2022 มีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้น ดังเห็นได้จากราคาตามสัญญาซื้อขายสุกรมีชีวิตล่วงหน้าในจีน (ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2022)
ราคาสุกรในเวียดนาม ปรับเพิ่มขึ้น QoQ และในปี 2022 มีแนวโน้มที่จะทรงตัวอยู่ใกล้เคียงกับระดับนี้หรือปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากอุปสงค์ที่ฟื้นตัวจะดูดซับอุปทานสุกรที่เพิ่มขึ้นหลังจากสถานการณ์โรค ASF คลี่คลาย
ส่วนต้นทุนสัตว์น้ำปรับตัวเพิ่มขึ้น เพราะต้นทุนเชื้อเพลิงสำหรับเรือประมงที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาปลาทูน่าท้องแถบในตลาดจรปรับขึ้น 29%YoY แต่ทรงตัว QoQ และราคาปลาแซลมอนปรับขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีสาเหตุมาจากอุปทานที่ตึงตัวในชิลีและนอร์เวย์ ท่ามกลางอุปสงค์ทั่วโลกที่ฟื้นตัวดีขึ้น สำหรับราคากุ้งในประเทศปรับตัวลดลง เพราะอุปทานเพิ่มขึ้นจากปัจจัยฤดูกาล
กระทบอย่างไร:
ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้นกลุ่มอาหาร (SET FOOD) ปรับตัวขึ้น 3.40%MoM โดย
ราคาหุ้น CPF ปรับเพิ่มขึ้น 9.57%MoM สู่ระดับ 25.75 บาท
ราคาหุ้น GFPT ปรับเพิ่มขึ้น 21.58%MoM สู่ระดับ 16.90 บาท
ราคาหุ้น TU ปรับเพิ่มขึ้น 4.88%MoM สู่ระดับ 17.20 บาท
มุมมองต่อผู้ประกอบการ:
SCBS มองว่าราคาเนื้อสัตว์บกในประเทศปรับขึ้นแรงกว่าต้นทุนอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นใน 2Q22TD บ่งชี้ถึงส่วนต่างราคาเนื้อสัตว์บกในประเทศที่แข็งแกร่ง YoY นับถึงปัจจุบัน ราคาสุกรในจีนและเวียดนามปรับขึ้นแตะระดับสูงสุดของปีนี้ จากอุปสงค์ที่ฟื้นตัวและการปรับอุปทาน แม้ว่ายังลดลง YoY อันเป็นผลมาจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นหลังจากสถานการณ์โรค ASF คลี่คลาย ต้นทุนวัตถุดิบปลาทูน่าและปลาแซลมอนยังอยู่ในระดับสูง YoY
ดังนั้นจึงคาดว่าความสามารถในการทำกำไรของผู้ประกอบธุรกิจสุกรและไก่เนื้อจะปรับตัวดีขึ้น ดังเห็นได้จากส่วนต่างราคา (ราคาลบด้วยต้นทุนอาหารสัตว์โดยรวม) ที่กว้างขึ้น YoY ใน 1Q22TD
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ต้องติดตาม คือ การปรับตัวขึ้นต่อของต้นทุนอาหารสัตว์ ภาวะอุปสงค์และอุปทานที่ดีขึ้นในปี 2022 จะช่วยสนับสนุนการปรับราคาผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นได้ในระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ SCBS เลือก GFPT และ CPF เป็นหุ้นเด่น โดยคาดว่ากำไร GFPT ใน 2Q22 และปี 2022 จะเติบโต YoY ดีที่สุดในกลุ่มอาหาร ส่วน CPF คาดกำไรปกติของบริษัททำจุดต่ำสุดไปแล้ว และตั้งแต่ 2Q22 จะแข็งแกร่งขึ้น
ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH
Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP