×

หุ้นกลุ่มอาหาร – ใน 3Q65TD ราคาและมาร์จิ้นสัตว์บกปรับตัวขึ้นแข็งแกร่ง, หุ้นเด่นคือ CPF และ GFPT

03.09.2022
  • LOADING...
หุ้นกลุ่มอาหาร

เกิดอะไรขึ้น:

เดือนสิงหาคม ราคาสุกรในประเทศปรับขึ้นสู่ 104 บาทต่อกิโลกรัม (เพิ่มขึ้น 49%YoY และ 3%MoM) และ 103 บาทต่อกิโลกรัม ใน 3Q65TD (เพิ่มขึ้น 48%YoY และ 5%QoQ) โดยได้แรงหนุนจากอุปทานที่ตึงตัวสืบเนื่องมาจากโรค ASF (โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร) และอุปสงค์ที่ฟื้นตัว 

 

ด้านราคาไก่เนื้อในประเทศปรับขึ้นสู่ 47 บาทต่อกิโลกรัมในเดือนสิงหาคม (เพิ่มขึ้น 59%YoY และ 4%MoM) และ 46 บาทต่อกิโลกรัม ใน 3Q65TD (เพิ่มขึ้น 53%YoY และ 13%QoQ) โดยได้แรงหนุนจากอุปสงค์ในประเทศที่แข็งแกร่ง 

 

ขณะที่ราคาสุกร (ผลิตภัณฑ์ทดแทนสำหรับไก่เนื้อ) ในประเทศสูง และยอดขายส่งออกที่ดีขึ้น (เพิ่มขึ้น 52%YoY ในเดือนกรกฎาคม เพราะปริมาณการขายเติบโต 17%YoY ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากฐานต่ำใน 3Q64 จากสถานการณ์โควิด และราคาเพิ่มขึ้น 30%YoY) ราคาใน 2H65 มีแนวโน้มที่จะยืนอยู่ในระดับสูง อันเป็นผลมาจากอุปสงค์และอุปทานที่ตึงตัว 

 

ทั้งนี้ จากรายงานของ USDA หลังจากอุตสาหกรรมสุกรของจีนพบกับการระบาดของโรค ASF ในเดือนสิงหาคม 2561 อุปทานสุกรของจีนก็ลดลง 36%YoY ในปี 2562 และคาดว่าจะฟื้นตัวกลับมาใกล้เคียงกับระดับก่อนเกิดโรค ASF (ปี 2561) ในปีนี้ รวมถึงคาดว่าการบริโภคของจีนจะฟื้นตัวกลับมาใกล้เคียงกับระดับปี 2561 ในปี 2565 เพราะราคาเนื้อหมูจะปรับตัวกลับสู่ระดับปกติ การบริโภคเนื้อไก่ (ผลิตภัณฑ์โปรตีนทดแทน) ในจีนเติบโต 20%YoY ในปี 2562 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 24% จากระดับปี 2561 ในปี 2565 

 

สำหรับต้นทุนอาหารสัตว์ ราคาข้าวโพดในประเทศปรับตัวลดลงในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เพราะอุปทานเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยมากขึ้นในฤดูเพาะปลูกที่ผ่านมา ขณะที่ราคากากถั่วเหลืองนำเข้ายังอยู่ในระดับสูงในเดือนสิงหาคม และ 3Q65TD 

 

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (ปี 2565TD) ราคาสัตว์บกในประเทศปรับเพิ่มขึ้น 29%YoY สำหรับราคาสุกรและไก่เนื้อในประเทศ ปรับขึ้นเร็วกว่าต้นทุนอาหารสัตว์ ซึ่ง SCBS คาดว่าความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจสัตว์บกในประเทศจะปรับตัวดีขึ้น YoY

 

นอกจากนี้ ราคาสุกรต่างประเทศปรับขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี โดยราคาสุกรในจีนเพิ่มขึ้นทั้งในเดือนสิงหาคม และ 3Q65TD โดยเพิ่มขึ้นจากการปรับอุปทาน เนื่องจากราคาต่ำกว่าจุดคุ้มทุนนานกว่า 1 ปีแล้ว ส่วนราคาสุกรในเวียดนามก็ปรับเพิ่มขึ้น

 

แม้ว่าอุปทานสุกรกำลังฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนเกิดโรค ASF แต่ราคาใน 2H65 มีแนวโน้มที่จะทรงตัวอยู่ในระดับสูง ใกล้เคียงกับระดับปัจจุบัน โดยเกิดจากอุปสงค์ที่ฟื้นตัว การปรับอุปทาน และการค้าชายแดนที่คึกคักมากขึ้นเพราะราคาในประเทศสูงขึ้น

 

การส่งออกไก่เนื้อไทยแข็งแกร่งขึ้นในเดือนกรกฎาคม และ 7M65 โดยมูลค่าการส่งออกไก่เนื้อไทยเติบโต 52%YoY ในเดือนกรกฎาคม และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง YoY ในอีกหลายเดือนข้างหน้า โดยส่วนหนึ่งเกิดจากปริมาณการขายส่งออกที่ทำฐานต่ำในปีก่อน เนื่องจากเกิดการระบาดของโควิดภายในโรงงานแปรรูปไก่เนื้อ

 

ในช่วง 7M65 มูลค่าการส่งออกไก่เนื้อไทยเติบโต 23%YoY โดยเกิดจากปริมาณการส่งออกที่เติบโต 2%YoY และราคาส่งออกที่เพิ่มขึ้น 20%YoY (10%YoY เกิดจากราคาผลิตภัณฑ์ในรูปดอลลาร์สหรัฐที่สูงขึ้น และอีก 10%YoY เกิดจากเงินบาทที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ)

 

กระทบอย่างไร: 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาราคาหุ้นกลุ่มอาหาร (SETFOOD) ปรับตัวขึ้น 1.22%MoM โดย

ราคาหุ้น CPF ปรับเพิ่มขึ้น 1.98%MoM สู่ระดับ 25.75 บาท 

ราคาหุ้น GFPT ปรับเพิ่มขึ้น 12.16%MoM สู่ระดับ 16.60 บาท

ราคาหุ้น TU ปรับเพิ่มขึ้น 6.71%MoM สู่ระดับ 17.50 บาท

ขณะที่ SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.66%MoM สู่ระดับ 1,621.20 จุด

 

มุมมองต่อผู้ประกอบการ:

เนื่องจากราคาสัตว์บกในประเทศไทยและต่างประเทศปรับตัวดีขึ้นใน 3Q65TD โดยได้รับการสนับสนุนจากอุปสงค์ที่ฟื้นตัว การปรับอุปทาน และการค้าชายแดนที่คึกคักมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้บวกกับฐานราคาสัตว์บกระดับต่ำใน 3Q64 สืบเนื่องมาจากการล็อกดาวน์ จะช่วยสนับสนุนให้ผลประกอบการ 3Q65 ของผู้ประกอบการธุรกิจสัตว์บกฟื้นตัว YoY 

 

SCBS เลือก CPF และ GFPT เป็นหุ้นเด่นสำหรับกลุ่มอาหาร โดยคาดว่าผลการดำเนินงานปกติ 3Q65 ของ CPF จะเพิ่มขึ้น QoQ และจะพลิกกลับมามีกำไร จากขาดทุนใน 3Q64 (มีการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด) 

 

ขณะที่ผลการดำเนินงานปกติ 3Q65 ของ GFPT มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวจากขาดทุนใน 3Q64 กลับมามีกำไร โดยเกิดจากยอดขายสินค้ามาร์จิ้นสูงที่เพิ่มขึ้นจากราคาตลาดที่ดีขึ้น และการเพิ่มอัตราการใช้กำลังการผลิตของเครื่องจักรใหม่เพื่อส่งออก แต่จะอยู่ในระดับทรงตัว QoQ 

 

สำหรับปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ ราคาผลิตภัณฑ์ลดลง เนื่องจากกำลังซื้อเปราะบาง เพราะได้รับแรงกดดันจากเงินเฟ้อและอุปสงค์อ่อนตัวลงตามฤดูกาลจากเทศกาลกินเจในช่วงปลายเดือนกันยายน 2565 และต้นทุนอาหารสัตว์และค่าแรงสูงขึ้น (6-12% ของต้นทุนการผลิตของกลุ่มอาหาร)

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising