×

หุ้นธนาคารขนาดใหญ่ หุ้นประกันภัย และหุ้นท่องเที่ยว – มุมมองผลกระทบดอกเบี้ยขาขึ้นและแนวโน้มของอุตสาหกรรม 2Q-4Q22

13.06.2022
  • LOADING...
หุ้นธนาคาร

เกิดอะไรขึ้น:

เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตเงินเฟ้อที่รุนแรงขึ้นในรอบหลายทศวรรษ ผลจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และมาตรการล็อกดาวน์ของจีน ทำให้ธนาคารกลางหลายประเทศส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ย รวมทั้งประเทศไทย ทั้งนี้ SCBS ตั้งสมมติฐานเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และดอกเบี้ย ดังนี้ 

 

  1. เงินเฟ้อจะทำจุดสูงสุดใน 3Q22 ที่ 8% ก่อนปรับลดลงไปแตะ 2% ในปลายปี 2023

 

  1. GDP ไทยจะเร่งตัวขึ้นไปทำจุดสูงสุดใน 4Q22 ที่ 4% ก่อนจะชะลอลงในปี 2023 ทำให้ GDP ปี 2022-2023 เติบโต 3.4 และ 3.0% ตามลำดับ

 

  1. การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยปีนี้ดอกเบี้ยนโยบายอาจปรับขึ้น 1-2 ครั้ง ไปอยู่ที่ 0.75-1.00% ขณะที่ปี 2023 อาจปรับขึ้นได้ 3-5 ครั้ง ทำให้ดอกเบี้ยไปทำจุดสูงสุดที่ 1.5-2.0%

 

สำหรับมุมมองในอุตสาหกรรม จากข้อมูลในอดีตพบว่า ตลาดหุ้นไทยชอบการขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าลดดอกเบี้ย โดยช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัว ตลาดมีแนวโน้มตอบสนองเชิงบวกหลังปรับขึ้นดอกเบี้ย 1-3 เดือน ซึ่ง SCBS มองว่า 2H22 เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาพฟื้นตัว ทำให้การขึ้นดอกเบี้ย 1-2 ครั้งในปีนี้จะไม่ส่งผลลบกับเศรษฐกิจมากนัก 

 

ซึ่งจะสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์พื้นฐานของ SCBS ที่ประเมินว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยปีนี้จะไม่ได้กระทบอย่างมีนัยฯต่อประมาณการกำไรปีนี้ของแต่ละอุตสาหกรรม เพราะบริษัทส่วนใหญ่ได้ล็อกต้นทุนการเงินปีนี้ไว้แล้ว แต่การก้าวสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นย่อมกระทบต่อประมาณการกำไรแต่ละอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2023 

 

โดยการวิเคราะห์ Sensitivity พบว่า ภายใต้ดอกเบี้ยขาขึ้น หุ้นกลุ่มที่ได้ผลบวกมากสุด ได้แก่ หุ้นธนาคารขนาดใหญ่ (KTB, KBANK, BBL) และหุ้นประกัน (BLA) ส่วนกลุ่มที่ได้ผลลบมากสุด (เกิน 5%) ได้แก่ หุ้นที่มีพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อสูง (THANI, AEONTS, MTC, TISCO, KKP) และหุ้นที่มีภาระหนี้สินสูง เช่น กลุ่มอาหาร กลุ่มขนส่งบก กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มโรงไฟฟ้า (CPF, BTS, BEM, CRC, CPALL, BGRIM)

 

กระทบอย่างไร: 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา SET Index ปรับเพิ่มขึ้น 1.6%MoM ขณะที่หุ้นปรับตัวดีมากที่สุดคือ หุ้นกลุ่มแฟชั่น (SETFASHION) ปรับเพิ่มขึ้น 12.5%MoM หุ้นกลุ่มประกันภัย (SETINSUR) ปรับตัวขึ้น 10.4%MoM และหุ้นกลุ่มวัสดุอุตสาหกรรม (SETIMM) ปรับตัวขึ้น 8.8%MoM 

 

ส่วนหุ้นที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดคือ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี (SETICT) ปรับลดลง 5.3%MoM หุ้นกลุ่มของใช้ส่วนตัว (SETPERSON) ปรับลดลง 3.9%MoM และหุ้นกลุ่มการแพทย์ (SETHELTH) ปรับลดลง 3.4%MoM

 

กลยุทธ์การลงทุน:

ภายใต้เศรษฐกิจที่อยู่ในภาพการฟื้นตัว SCBS คาดการขึ้นดอกเบี้ยจะมีผลกระทบจำกัดและตลาดจะให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ ซึ่งสอดคล้องกับสถิติในอดีตที่ SET Index จะปรับตัวขึ้นหลังมีการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงเศรษฐกิจยังเติบโต ดังนั้น กลยุทธ์ลงทุนจึงแนะนา ‘หาจังหวะซื้อสะสม’ สำหรับ 

 

  1. หุ้นธนาคารขนาดใหญ่อย่าง KTB, KBANK และ BBL และหุ้นประกันอย่าง BLA ซึ่งคาดราคาหุ้นจะตอบสนองเชิงบวกต่อการขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วกว่าคาดของ ธปท. และยังเป็นหุ้นที่มีแนวโน้มกาไรช่วง 2Q-4Q22 ปรับตัวดีขึ้นทั้ง YoY และ QoQ 

 

  1. หุ้นท่องเที่ยวอย่าง AOT และ AWC ซึ่งแม้ได้รับผลลบจากดอกเบี้ยขาขึ้นบ้างแต่ยังจำกัด ขณะที่ช่วงที่เหลือของปีนี้คาดจะเห็นภาพผลประกอบการที่ฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising