×

จูน จิรภาส ศิลปินที่สร้างงานศิลปะจากการเก็บความทรงจำ

13.02.2025
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

  • พูดคุยกับ จูน จิรภาส June Jirapart ศิลปินผู้หลงใหลลายเส้นแนววินเทจ ซึ่งในการทำงานแต่ละครั้งเขามักจะได้แรงบันดาลใจจากภาพงานศิลปะในอดีต นำมาประยุกต์ใหม่ออกมาเป็นงานที่มีเอกลักษณ์ และวันนี้เป็นโอกาสดีที่เราจะได้มาพูดคุยถึงการหาแรงบันดาลใจในงาน รวมถึงไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยในบ้านของคุณจูนกัน

บ้านที่สวยคือบ้านที่อยู่แล้วอบอุ่นและไม่เบื่อ

 

การทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน คำว่าแบรนดิ้งเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ควรมี เพื่อทำให้ธุรกิจของคุณมีภาพจำที่โดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่ง ซึ่งมีอีกหนึ่งศิลปินที่มีลายเส้นโดดเด่น มีความวินเทจผสมอยู่ในงาน ใครเห็นก็รู้ว่าต้องเป็นงานของคนนี้ คือ จูน จิรภาส June Jirapart เขาเคยฝากผลงานการทำแบรนดิ้งให้กับแบรนด์ที่ค่อนข้างหลากหลาย ทั้งร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม แบรนด์แฟชั่น ซึ่งรวมถึงการร่วมงานกับ AP ในโปรเจกต์บ้าน THE PALAZZO

 

งานส่วนใหญ่ของคุณจูนจะเป็นงานลายเส้นที่มีกลิ่นอายของงานศิลปะแนววินเทจ ซึ่งคุณจูนชื่นชอบเป็นการส่วนตัว และมักเป็นงานศิลปะที่คุณจูนมีความทรงจำร่วม แต่ละผลงานจึงมีกลิ่นอายความวินเทจที่ได้รับการประยุกต์ให้ร่วมสมัยขึ้น แต่นอกจากเรื่องงานศิลปะแล้ว ไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยในบ้าน รวมถึงมุมมองที่มีต่อบ้านของคุณจูนก็น่าสนใจไม่แพ้กัน

 

เมื่อมีโอกาสได้นั่งคุยกันทั้งที วันนี้ THE STANDARD LIFE เลยอยากมาเจาะลึกถึงการหาแรงบันดาลใจในการเริ่มทำงานใหม่ๆ ในแต่ละครั้ง รวมถึงไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยในบ้านของคุณจูนกัน

 

 

คำถามแรกที่อยากจะถามคุณจูนคือ แต่ละงานดูมีเอกลักษณ์มาก ตอนที่คุณจูนจะเริ่มทำงานชิ้นใหม่หาแรงบันดาลใจอย่างไร?

 

คุณจูน: ต้องเล่าเท้าความตั้งแต่เด็กเลยครับ เพราะตอนเด็กๆ ชอบดูหนังสือเก่า แล้วก็ชอบตัดรูปภาพประกอบสวยๆ มาเก็บไว้ในสมุด พอเราโตมาแล้วได้รับโจทย์ให้ทำงาน เราจะพยายามนึกถึงสิ่งที่เราเคยเก็บมาตอนเด็ก ที่เหมือนเป็นชุดข้อมูลเดิมในตอนนั้นนำกลับมาใช้ และในอีกด้านก็ใช้แรงบันดาลใจจากสิ่งรอบตัว เช่น ภาพยนตร์ เพลง

 

 

สลับมาที่งานชิ้นล่าสุดที่คุณจูนมีโอกาสร่วมงานกับ AP ในโปรเจกต์บ้าน THE PALAZZO กันบ้าง ว่าคุณจูนเริ่มต้นหาแรงบันดาลใจจากที่ไหน?

 

คุณจูน: ดีไซน์หลักของโครงการ THE PALAZZO เป็นการนำศิลปะยุค Beaux-Arts มาใช้กับบ้าน ซึ่งโชคดีมากๆ ที่เรามีหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้พอดี เราเลยใช้วิธีกลับไปเปิดหนังสือที่เกี่ยวกับ Beaux-Arts แล้วนำองค์ประกอบที่สวยงามนั้นออกมาประยุกต์ให้เข้ากับ AP แต่ก็ดูหนังสือเล่มอื่นๆ บ้างที่คิดว่าใกล้เคียงกับ Beaux-Arts เพื่อให้ส่งเสริมมู้ดของบ้าน

 

 

เห็นงานชิ้นล่าสุดที่คุณจูนทำกับ AP ออกมาดูน่าสนใจมากๆ สื่อความเป็น Beaux-Arts ให้คนเข้าใจได้ตั้งแต่เริ่มต้น เลยอยากถามว่าช่วงระหว่างการทำงาน คุณจูนเจอความท้าทายอะไรบ้าง

 

คุณจูน: ความท้าทายแรกที่เจอคือ เราจะทำอย่างไรให้คนที่ไม่เคยเห็นบ้านมาก่อนเข้าใจภาพรวมของบ้านได้ ทุกคนอาจจะไม่เคยเห็นบ้านด้วยซ้ำ แต่ก็เข้าใจความเป็น THE PALAZZO งานภาพหรือลวดลายต่างๆ ที่ออกมาอาจจะไม่ได้เหมือนกับบ้านเป๊ะๆ แต่เป็นการปรับให้คนเข้าใจในอารมณ์ของบ้านมากกว่า คิดว่านี่แหละคือความท้าทายในการทำงานครั้งนี้

 

แต่การทำงานครั้งนี้ก็ไม่ได้ดึงลวดลายแบบ Beaux-Arts ทั้งหมดมา 100% เนื่องจากของดั้งเดิมจะมีกลิ่นอายความโกธิกมากกว่านี้ ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับบ้าน เลยปรับให้ดูเข้าถึงง่ายและโมเดิร์นขึ้น เพื่อให้คนที่มองเข้ามาเกิดความรู้สึกสบายเหมือนที่บ้านเป็น

 

 

หลังจากที่ได้นั่งคุยกันไปสักระยะก็รู้สึกว่าคุณจูนมีมุมมองต่อสิ่งต่างๆ น่าสนใจ รวมไปถึงมุมมองต่อการจะเลือกที่อยู่อาศัยสักหนึ่งหลังด้วย เพราะเราถามคุณจูนว่า ในมุมมองของคุณจูน การจะเลือกบ้านสักหนึ่งหลังเราควรเลือกจากอะไรบ้าง

 

คุณจูน: ในการเลือกบ้านขั้นแรกเลยคือเลือกจากสิ่งที่เราจะใช้ก่อน เชื่อว่าทุกคนมีจินตนาการอยู่แล้วว่าพื้นที่กับการใช้งานควรเป็นแบบไหน เช่น บางคนอาจจะชอบบ้านหลังใหญ่ บางคนอาจจะชอบที่แคบๆ แต่อีกอย่างหนึ่งที่นำมาประกอบการตัดสินใจคือบรรยากาศรอบๆ ก็สำคัญ เราชอบบรรยากาศที่อยู่แล้วไม่รู้สึกเบื่อ ได้เดินไปเจอคนที่รู้จัก หรือถ้าเจอคนใหม่ๆ ก็เป็นคนที่คุยด้วยแล้วรู้สึกดี

 

 

และในฐานะที่คุณจูนฝากผลงานออกแบบที่สวยงามไว้มากมาย พอเรามาพูดถึงบ้านเลยสงสัยขึ้นมาว่า ในมุมมองของคุณจูน บ้านที่สวยเป็นอย่างไร?

 

คุณจูน: ในมุมมองของเรา บ้านที่สวยคือบ้านที่อยู่แล้วไม่เบื่อ ซึ่งแต่ละคนมีความชอบที่ไม่เหมือนกัน อย่างเช่น เราชอบสีไม้ ตกแต่งเรียบๆ แต่สิ่งสำคัญสำหรับบ้านคือต้องอยู่แล้วสบายใจ อยู่แล้วอบอุ่น และสามารถทำสิ่งอื่นๆ ในบ้านได้ทั้งวัน

 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการบ้าน THE PALAZZO ได้ที่

https://apth.ly/y38v

 

[Content in Partnership with AP]

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising