×

การใช้ ‘ธรรมชาติ’ ออกแบบเพื่อสุขภาพกายและใจของผู้อยู่อาศัย

17.05.2025
  • LOADING...

ในยุคที่จังหวะชีวิตหมุนเร็วและหน้าจอเข้ามามีบทบาทแทบทุกช่วงเวลา ความต้องการ ‘หยุดพัก’ จึงไม่ใช่เพียงการเดินทางออกนอกเมืองหรือท่องเที่ยวธรรมชาติในวันหยุดสุดสัปดาห์อีกต่อไป แต่กลายเป็นความปรารถนาในชีวิตประจำวันที่เริ่มต้นจาก ‘บ้าน’ สถานที่และพื้นที่ปลอดภัยที่เราใช้ฟื้นฟูร่างกายและจิตใจอย่างแท้จริง 

 

นี่จึงเป็นที่มาของแนวคิด ‘การออกแบบที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติ’ หรือที่หลายคนคุ้นหูกันในชื่อ ‘Biophilic Design’ ที่ไม่ได้เพียงมุ่งเน้นการตกแต่งเพื่อความงามเท่านั้น แต่เน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาวะ ความสงบ ความผ่อนคลาย และสมดุลของชีวิตในระยะยาว

 

 

ธรรมชาติไม่ใช่แค่ความงาม แต่คือความยั่งยืน

 

Biophilic Design เป็นแนวคิดการออกแบบที่มุ่งเน้นการเชื่อมโยงธรรมชาติเข้ากับสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยหรือทำงาน เพื่อสร้างความผ่อนคลายและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้อยู่อาศัย คำว่า ‘Biophilic’ มาจากคำว่า ‘Biophilia’ ซึ่งหมายถึง ความรักและความผูกพันที่มนุษย์มีต่อธรรมชาติ การออกแบบตามหลัก Biophilic Design จึงเป็นการนำองค์ประกอบต่างๆ ของธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้แสงธรรมชาติ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การเชื่อมโยงพื้นที่ภายในและภายนอก ฯลฯ ซึ่งประโยชน์ของหลักการนี้มีเป้าหมายเพื่อลดความเครียด เพิ่มความสุข และทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกสดชื่น มีชีวิตชีวา 

 

 

การนำธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน ไม่ใช่แค่การประดับด้วยต้นไม้ในกระถางหรือเลือกวัสดุไม้ให้ดูอบอุ่น แต่คือการคิดอย่างลึกซึ้งว่า ‘ธรรมชาติ’ จะช่วยเยียวยาและสนับสนุนชีวิตของผู้อยู่อาศัยได้อย่างไร เช่น แสงธรรมชาติที่เพียงพอในเวลากลางวันสามารถช่วยปรับนาฬิกาชีวิต (Circadian Rhythm) ให้เรานอนหลับได้ดีขึ้น หรือการมองเห็นต้นไม้สีเขียวผ่านหน้าต่างทุกวันก็ช่วยลดความเครียดลงได้โดยไม่รู้ตัว

 

หลายการศึกษาทั่วโลกยืนยันว่า บ้านที่มีการออกแบบโดยผสานธรรมชาติไว้อย่างตั้งใจ ช่วยให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งด้านสุขภาพกาย เช่น ลดอัตราการเจ็บป่วยจากความเครียด และด้านสุขภาพใจ เช่น ความรู้สึกสงบและเป็นสุขที่เพิ่มขึ้นในชีวิตประจำวัน

 

ดังนั้น การออกแบบบ้านที่มีธรรมชาติเป็นหัวใจสำคัญจึงไม่ใช่เทรนด์ที่มาแล้วไป แต่คือ ‘ความยั่งยืน’ ที่อยู่กับเรายาวนานในทุกจังหวะของชีวิต

 

 

นำธรรมชาติเข้าสู่บ้าน โดยไม่ลดทอนความหรูหรา

 

คำถามที่มักตามมาคือ แล้วเราจะออกแบบบ้านให้ดูหรูหรา พร้อมกับนำธรรมชาติเข้ามาอยู่ร่วมกันได้อย่างไร? ในยุคปัจจุบันที่ความหรูหราไม่ได้หมายถึงวัสดุราคาแพงหรือดีไซน์โดดเด่นเท่านั้น แต่หมายถึง ‘ความใส่ใจในคุณภาพชีวิต’ และความสามารถในการสร้างพื้นที่ที่ดีต่อกายและใจด้วย ซึ่ง AP ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของไทย เป็นหนึ่งในผู้นำการออกแบบบ้านที่เด่นในเรื่องนี้ โดยเฉพาะ ‘บ้านกลางกรุง’ และ ‘THE PALAZZO ’ ซึ่งเป็นสองโครงการเด่นใน Majestic Collection เราจึงอยากถอดรหัส และนำหลักการของบ้าน AP มาประยุกต์ใช้กับบ้านเรากัน 

 

  1. มีช่องเปิดรับแสงธรรมชาติอย่างเหมาะสม

แสงแดดเป็นสิ่งจำเป็นของมนุษย์ ช่วยเพิ่มพลังงานบวก ลดอาการซึมเศร้า การออกแบบช่องแสง ไม่ว่าจะเป็นแนวตั้งหรือสกายไลท์ ที่ช่วยให้ภายในบ้านได้รับแสงแดดอย่างอ่อนโยนตลอดวัน 

 

  1. เลือกใช้วัสดุธรรมชาติหรือเลียนแบบธรรมชาติ

และเพื่อให้ร่างกายรู้สึกถึงธรรมชาติได้ง่าย การใช้วัสดุธรรมชาติหรือเลียนแบบธรรมชาติย่อมเป็นหนึ่งในความใส่ใจที่นักออกแบบเล็งเห็น เช่น การใช้ไม้ หรือหิน ปูพื้น ผนังหรือทางเดิน หรือการเลือกใช้ผ้าลินิน เพื่อสร้างความรู้สึกอบอุ่น ผ่อนคลาย และเชื่อมโยงกับโลกธรรมชาติ

 

  1. สวนหย่อมส่วนตัวและพื้นที่กลางแจ้ง

เปลี่ยนพื้นที่โล่งนอกตัว หรือเว้นพื้นที่ว่างกลางบ้านให้ต้นไม้เติบโตได้จริง โดยออกแบบส่วนหย่อมในตำแหน่งที่คนในบ้านสามารถมองเห็นและมีปฏิสัมพันธ์ได้ การมองเห็นสีเขียวจากทุกมุมบ้าน จะช่วยให้ผู้อยู่มีความสุขมากขึ้น ลดเครียด เพิ่มภูมิคุ้มกัน

 

  1. การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภายในกับภายนอก

แค่เปลี่ยนประตูบานทึบ เป็นบานเลื่อนหรือกระจกใส ก็ช่วยให้พื้นที่ภายในบ้านไหลลื่นออกสู่สวนหรือระเบียงได้อย่างไม่สะดุด เปิดรับธรรมชาติเข้าบ้านได้แบบไร้รอยต่อ

 

 

เพราะบ้านไม่ใช่แค่ที่พักอาศัย แต่คือพื้นที่ในการเยียวยา

 

การออกแบบที่อยู่อาศัยด้วยหัวใจของธรรมชาติ ไม่ได้เป็นเพียงการตกแต่งภายใน แต่คือการใส่ใจต่อสุขภาพกายและใจของทุกคนในครอบครัว เป็นการสร้างรากฐานของความสุขที่มั่นคง และเป็นการลงทุนระยะยาวเพื่อคุณภาพชีวิตในทุกๆ วัน

 

และในโลกที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ บ้านที่หายใจได้ สงบได้ และเชื่อมโยงกับธรรมชาติได้…คือของขวัญที่ดีที่สุดที่เรามอบให้ตัวเองและคนที่เรารัก

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://apth.ly/xkca 

 

ภาพ: ปวรุตม์ งามเอกอุดมพงศ์, AP

 

[Content in Partnership with AP]

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising