เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนในเมืองไทย โดยเฉพาะในเดือนเมษายนที่อากาศร้อนอบอ้าวถึงขีดสุด หลายคนอาจประสบปัญหาสุขภาพจากความร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฮีทสโตรก (Heat Stroke) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ทัน จนส่งผลให้เกิดอาการป่วยรุนแรง หากไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพื่อป้องกันตัวเองจากภาวะฮีทสโตรกในช่วงฤดูร้อน จึงควรทำความเข้าใจและหาวิธีป้องกันตัวเองให้พ้นจากภัยร้อนในช่วงนี้
ฮีทสโตรกคืออะไร?
ฮีทสโตรก (Heat Stroke) คือภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินกว่า 40 องศาเซลเซียส เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ทัน ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบประสาท ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบหายใจ ผู้ที่เป็นฮีทสโตรกจะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หมดสติ ชัก และอาจเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที การป้องกันตัวเองจากภาวะฮีทสโตรกในช่วงหน้าร้อนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ต่อไปนี้คือ 10 วิธีป้องกันฮีทโสตรกที่ทำได้จริง หากปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ได้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดฮีทสโตรกได้มาก แต่หากมีอาการผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง
ดื่มน้ำให้เพียงพอตลอดวัน อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไปจากเหงื่อที่ออก
หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในช่วงเวลา 10.00-16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่แสงแดดแรงที่สุด
สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน เนื้อผ้าบาง ระบายอากาศได้ดี สวมหมวกปีกกว้าง และสวมแว่นตากันแดดเพื่อป้องกันแสงแดด
พกร่มกันแดดติดตัวเสมอเมื่อต้องออกนอกบ้าน กางร่มเพื่อปกป้องความร้อนจากแสงแดด
หาที่ร่มเงาหรือเข้าไปในอาคารที่มีเครื่องปรับอากาศเป็นระยะๆ เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลายจากความร้อน
อาบน้ำหรือเช็ดผิวด้วยผ้าเย็นเป็นระยะ เพื่อช่วยระบายความร้อนให้ร่างกาย
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายขาดน้ำมากขึ้น
รับประทานผักและผลไม้ที่มีน้ำมากๆ เช่น แตงโม มะละกอ และแคนตาลูป เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับร่างกาย
พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่ควรออกกำลังกายหักโหมในช่วงอากาศร้อนจัด
หากมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อ่อนเพลียผิดปกติ ควรรีบหาที่ร่มและพักทันที ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์
อ้างอิง: