×

3 ความท้าทายในยุคดิสรัปชันกับภารกิจปรับทิศทางสู่การเป็น ‘ธนาคารกรุงไทยยุคใหม่’ ในปี 2020 [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
25.12.2019
  • LOADING...
krungthai bank 2020

HIGHLIGHTS

4 Mins. Read
  • ในปี 2020 ธนาคารกรุงไทยกำลังจะเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญ 3 เรื่อง ทั้งการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง การก้าวสู่การเป็นธนาคารในโลกยุคใหม่ และการขับเคลื่อนธนาคารไปสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งทั้งหมดนี้มีภารกิจหลากหลายด้านที่รออยู่
  • ธนาคารกรุงไทยมีโอกาสสูง เนื่องจากมีฐานข้อมูลจำนวนมากจากการขับเคลื่อนโครงการของรัฐบาล สิ่งเหล่านี้คือจุดเด่นของธนาคารกรุงไทยเมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ 
  • ในช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ธนาคารกรุงไทยมีบทบาทอย่างมากในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จนทำให้คนไทยและประเทศไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนี้ยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการสร้าง Digital Banking ให้กับสังคมไทย ทั้งยังช่วยให้คนไทยเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้นด้วย

‘กรุงไทย’ ชี้ วงการธนาคารเตรียมรับมือความท้าทายใหม่ หลังพบองค์กรธุรกิจตบเท้าเปิดให้บริการทางการเงิน โดยใช้คลังข้อมูลในแพลตฟอร์มใหม่ๆ แต่มั่นใจว่ากรุงไทยเติบโตเพราะมีฐานลูกค้าจำนวนมหาศาลอยู่ในมือ

 

เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานกรรมการธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่าธนาคารกรุงไทยรวมทั้งธนาคารพาณิชย์อื่นๆ กำลังจะเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญ 3 เรื่องด้วยกัน 

 

krungthai bank 2020

 

ความท้าทายแรกคือความท้าทายของธนาคารกรุงไทยเอง ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากความท้าทายของธนาคารอื่นๆ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ส่งผลกระทบต่อธนาคาร แต่ธนาคารก็ต้องเติบโต เพราะยังมีคนที่ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน นั่นคือโอกาสของธนาคาร

 

ทั้งนี้การก้าวเพื่อเติบโตก็ต้องอยู่บนพื้นฐานการเป็นธนาคารที่แข็งแกร่ง มีเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงพฤติกรรมของลูกค้าได้ ซึ่งตอนนี้ลูกค้าและประชาชนได้เปลี่ยนพฤติกรรมไปแล้ว ลูกค้าไม่จำเป็นต้องไปที่สาขาธนาคาร แต่ทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือและแอปพลิเคชันต่างๆ ในส่วนขององค์กรต่างๆ ก็เช่นกันที่เปลี่ยนแปลงไป และธนาคารได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้มากกว่าธนาคารอื่นๆ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ยากยิ่งขึ้นไปอีก

 

เอกนิติกล่าวว่าเมื่อมองไปถึงปี 2020 ก็จะพบว่าจะมีกฎเกณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ หลายอย่าง เช่น เรื่องการปล่อยเงินกู้แบบ P2P บริการโอนเงินระหว่างประเทศ และค่าบริการการเงินที่ถูกลง แน่นอนว่ากระทบกับธนาคารอย่างเลี่ยงไม่ได้ สำหรับกรุงไทยเองมีลูกค้าอยู่แล้ว 30-40 ล้านคน เราต้องสร้างโอกาสจากตรงนี้ให้มากขึ้น

 

ความท้าทายที่สองคือการเดินหน้าสู่การเป็นธนาคารยุคใหม่ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าในอนาคตธนาคารจะไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป แต่ระบบธนาคารจะยังจำเป็นอยู่ ธนาคารจะไม่ได้เป็นแหล่งรับฝากหรือปล่อยสินเชื่ออย่างเดียว แต่จะเปลี่ยนไปเป็นการใช้แพลตฟอร์มและข้อมูลขนาดใหญ่รวมเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเรียกว่า DATFORM (Data + Platform) เนื่องจากพฤติกรรมของลูกค้าได้เปลี่ยนไปแล้ว ลูกค้าและประชาชนต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น

 

“สำหรับกรุงไทย เราจะต้องอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าภายใต้แนวคิด Better Life Everyday คือการทำให้ลูกค้าสะดวกสบายทุกๆ วัน” เอกนิติกล่าว

 

ทั้งนี้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของบริษัทอื่นๆ ด้วย จะมีการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลมากขึ้น บริษัทต่างๆ จะทำตัวเป็นธนาคารมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้จะทำให้รู้จักพฤติกรรมของลูกค้า การใช้จ่ายเงิน วินัยการชำระหนี้ บางหน่วยงานธุรกิจจะสามารถเปลี่ยนเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อได้ ซึ่งปรากฏให้เห็นแล้ว เช่น Alibaba และ Uber เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตาม ธนาคารกรุงไทยถือว่ามีโอกาสมาก เนื่องจากมีฐานข้อมูลจำนวนมากจากการขับเคลื่อนโครงการของรัฐบาล เช่น โครงการ ‘บ้านดีมีดาวน์’ ซึ่งกำลังทำอยู่ขณะนี้ ไม่นับรวมจำนวนลูกค้ากว่า 14 ล้านคนที่อยู่ในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และอีกกว่า 10 ล้านคนที่มาจากโครงการ ‘ชิมช้อปใช้’ สิ่งเหล่านี้คือจุดเด่นของธนาคารกรุงไทยเมื่อเทียบกับธนาคารอื่นๆ

 

ความท้าทายที่สามคืออนาคตของธนาคารกรุงไทยเอง ซึ่งฝ่ายบริหารได้กำหนดไว้แล้วว่าจะดำเนินการ 2 เรื่องภายใต้แนวคิดหลักร่วมกันคือ คุณภาพคู่คุณธรรม เพื่อเป็นการขับเคลื่อนธนาคารให้เดินหน้าต่อไปในยุคธนาคารดิจิทัล โดยเรื่องแรกที่จะดำเนินการคือการพัฒนาตัวเองของพนักงานเพื่อให้ทันกับโลกยุคใหม่ โดยจะมีการพัฒนาศักยภาพหรือ Re-skill ให้พนักงานที่อยู่ตามสาขาต่างๆ ได้ทำเรื่องใหม่ๆ เช่น การเพิ่มทักษะในเรื่องตัวสินค้า การหาความรู้ใหม่ๆ

 

การปรับตัวเรื่องนี้มีตัวอย่างแล้วจากประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ ทางตอนใต้ของประเทศไทย ที่มีการเน้นให้เด็กๆ ได้เรียนเรื่องการ Coding ซึ่งถือเป็นการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ

 

อีกเรื่องที่ต้องทำคือการสร้างคุณธรรมให้กับพนักงาน ทั้งนี้การทำให้ธนาคารกรุงไทยมีคุณธรรมได้มีการดำเนินการไปแล้วตั้งแต่ปี 2018 โดยการแปลงคุณธรรมที่เป็นนามธรรมให้เกิดเป็นรูปธรรมจริงจังตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา โครงการนี้จะส่งเสริมให้พนักงานได้ระเบิดความตั้งใจจากสิ่งที่ตัวเองอยากทำมาจากข้างใน ซึ่งเป็นการจัดการแบบใช้ไม้อ่อน แต่ถ้าเป็นกรณีที่พบเจอการทุจริตภายในองค์กรก็จะมีการจัดการขั้นเด็ดขาดโดยใช้ไม้แข็ง ทั้งนี้โครงการคุณธรรมที่ธนาคารกรุงไทยดำเนินการอยู่เน้น 4 เรื่องคือ การสร้างสรรค์ ความสำเร็จ ความซื่อสัตย์ และความสามัคคี

 

krungthai bank 2020

 

ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ เปิดเผยว่ากรุงไทยได้เตรียมยุทธศาสตร์สำหรับรับมือการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันดังกล่าวไว้แล้ว โดยเมื่อเร็วๆ นี้ได้จัดงานประชุมเชิงยุทธศาสตร์ประจำปี 2562 ให้กับผู้บริหารภายใต้ชื่อ Krungthai Better Life Everyday; Business Strategy Seminar 2020 โดยมีผู้บริหารจากส่วนกลางและต่างจังหวัดเข้าร่วมกว่า 2,000 คน

 

ทั้งนี้ทิศทางใหม่ของธนาคารกรุงไทยได้เปลี่ยนจากการเป็นธนาคารที่เดินตามเทคโนโลยีเมื่อ 10 ปีก่อนมาเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีแล้ว การก้าวสู่การเป็น Open Banking ได้ ไม่นับรวมการพัฒนาแพลตฟอร์มต่างๆ ออกมาแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ และการช่วยขับเคลื่อนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ

 

เฉพาะในช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา กรุงไทยมีบทบาทอย่างมากในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จนทำให้คนไทยและประเทศไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนี้ธนาคารกรุงไทยยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการสร้าง Digital Banking ให้กับสังคมไทย เฉพาะในปีนี้สามารถทำให้คนไทยมากกว่า 10 ล้านคนได้รู้จักเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมทั้งแอปพลิเคชันใหม่ๆ ทั้งยังช่วยให้คนไทยเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ด้วย

 

ผยงกล่าวว่าธนาคารในยุโรป สิงคโปร์ และออสเตรเลีย ได้ปรับตัวไปมากด้วยการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง นั่นคือการแข่งขันเพื่อเข้าในนั่งในใจลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต การทำงาน การจับจ่ายซื้ออาหารและสินค้า การรักษาโรค และการเดินทาง ทั้งนี้ธนาคารจะต้องมีระบบข้อมูลและเทคโนโลยีที่ดีมากพอ นอกจากนี้แล้วยังพบว่าสิงคโปร์ ไต้หวัน และฮ่องกง ได้ออกกฎใหม่ให้ดำเนินกิจการธนาคารได้โดยไม่จำเป็นต้องมีสาขา ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่เช่นกัน

 

อีกทิศทางการทำงานของธนาคารกรุงไทยที่จะเดินหน้าในปี 2020 คือการเร่งแสวงหาลูกค้าใหม่ๆ เปรียบเหมือนการล่องเรือสปีดโบ๊ตออกไปน่านน้ำใหญ่เพื่อหาโอกาสใหม่ๆ แม้ว่าบางครั้งอาจจะไม่สำเร็จ แต่ก็ได้บทเรียนที่ดีกลับมาอย่างที่เรียกว่า Fail Fast Learn Fast ขณะเดียวกันก็เดินเรือบรรทุกต่อไป เปรียบเหมือนการดูแลลูกค้าเก่าที่มีอยู่ให้เติบโตต่อไป

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X