×

เปิดบ้านกรุงศรีคุยกับ ‘ทีมขับเคลื่อนเทคโนโลยี’ ผู้อยู่เบื้องหลังนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงอนาคตโลกการเงิน [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
27.09.2022
  • LOADING...
Krungsri IT & Digital

HIGHLIGHTS

10 mins. read
  • ล้วงลึก ‘ทีมขับเคลื่อนเทคโนโลยี’ ผู้อยู่เบื้องหลังนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงอนาคตโลกการเงิน พวกเขาคิดอะไร ทำงานอย่างไร ถึงทำให้กรุงศรีพร้อมสู้ทุกการเปลี่ยนผ่าน
  • สยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานกลุ่มสนับสนุนธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล เชื่อว่า อาวุธหลักที่จะนำพาให้ทีมพิชิตได้ทุกเป้าหมายคือ ‘คน’ ทีม Tech Expert ของกรุงศรีไม่ใช่ทีมใหญ่ที่สุด ไม่ได้มีเงินลงทุนเยอะที่สุด แต่สิ่งที่มีคือการทำงานที่สอดคล้องไปด้วยกันทุกฝ่าย
  • “ผมยกตัวอย่างตลอดคือ ทีมเราอาจจะไม่เยอะเท่าใคร เงินเราอาจจะไม่เยอะ แต่ถ้าเราทำงานร่วมกันแล้วไปในทิศทางเดียวกัน เหมือนเรือลำเล็ก คนพายอาจจะน้อยกว่า แต่ถ้าพายไปด้วยกันในจังหวะเดียวกัน มันอาจจะแซงชนะเรือลำใหญ่กว่าก็ได้”

ถือโอกาสที่กรุงศรีจัดงาน Krungsri Envisioning The Future เปิดบ้าน Krungsri IT & Digital ยกพลทีม Tech Expert มาร่วมพูดคุย แชร์ประสบการณ์ให้กับคนสาย Tech ที่สนใจ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา THE STANDARD จึงดึง 3 แม่ทัพของทีมขับเคลื่อนเทคโนโลยี ผู้อยู่เบื้องหลังนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงอนาคตโลกการเงินของธนาคารกรุงศรี มาเล่าให้ฟังตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการทรานส์ฟอร์ม แนวคิดในการพัฒนาแอปพลิเคชัน รู้จักทีมย่อยและหน้าที่การทำงาน ไปจนถึงความโดดเด่นของกรุงศรีในฐานะธนาคารพันธมิตรภายใต้เครือข่าย MUFG ที่มาพร้อมกับความสามารถในการแข่งขันและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า

 

Krungsri IT & Digital

สยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานกลุ่มสนับสนุนธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล

 

สยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานกลุ่มสนับสนุนธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล พาย้อนกลับไปช่วง 4-5 ปีที่ดิจิทัลดิสรัปชันเข้ามา และการตั้งกระบวนท่าของกรุงศรี ที่ทำให้วันนี้กลายเป็นธนาคารที่ได้รับความเชื่อมั่นจากพาร์ตเนอร์และผู้ใช้บริการ

 

“หลังจากผ่านช่วงแรกของยุคดิจิทัลดิสรัปชันมาได้ เราก็เริ่มตั้งทีมดิจิทัล ช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมา เน้นการทำงานควบคู่ไปกับธุรกิจในการสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ สร้างแอปพลิเคชันใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้า ฝั่งไอทีก็ได้คุณต้น พชร มาช่วย เพราะเมื่อธุรกิจวิ่งไป ข้างหลังก็ต้องตอบสนองให้ทัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสเกลที่ใหญ่ขึ้น ถ้าดูจากจำนวนธุรกรรมที่วิ่งผ่านระบบ Mobile Banking มันสลับกับสาขา ตอนนี้มากกว่า 80% วิ่งเข้าฝั่งของ Mobile Banking และรวมถึงจำนวนธุรกรรมในส่วนของการชำระเงินแบบเรียลไทม์ของทั้งธุรกิจ เติบโตขึ้นมาจนกระทั่งประเทศไทยเป็นอันดับสามของโลกรองลงมาจากแค่จีนกับอินเดียเท่านั้นเอง ดังนั้น Infrastructures หลังบ้านต้องรองรับให้ไว และเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดจึงต้องมีการออกแอปพลิเคชันใหม่ รวมถึงปรับฟีเจอร์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นบริการตลอด 24 ชั่วโมง หรือพาร์ตเนอร์ใหม่ เช่น ออนไลน์ช้อปปิ้งต่างๆ นี่คือการเปลี่ยนแปลงของดิจิทัลและไอทีในช่วงที่ผ่านมา”

 

ทีม Tech Expert ของกรุงศรีแข็งแกร่งขนาดไหน สยามตอบคำถามนี้ด้วยการเล่าว่า “ตอนนี้ธนาคารกรุงศรีเป็นหนึ่งในสองธนาคารที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเลือกที่จะ Pilot Retail CBDC หรือตัว Central Bank Digital Currency เพื่อใช้งานในภาคประชาชน สะท้อนให้เห็นว่า IT และ Digital Team ของกรุงศรีแข็งแรง และสามารถที่จะนำเสนอให้ทางแบงก์ชาติเห็นว่าเรามีความสามารถที่จะสร้างผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ แน่นอนว่าเรายังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่โดดเด่น เช่น Open API ซึ่งในอนาคต Banking จะเปลี่ยนไปเป็น Banking as a Service มากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ มันจะมาตอบโจทย์ลูกค้าใหม่ๆ มากขึ้นด้วย ไม่ใช่แค่ในประเทศ แต่พูดไปถึง Cross Border”

 

สยามยังบอกด้วยว่า ทุกการก้าวเดินของทีมจะต้องสอดคล้องไปกับพันธกิจของธนาคารกรุงศรี “พอเราเริ่มต้นจากจุดนั้น เราก็ต้องมองว่าแล้วธุรกิจจะตอบโจทย์ธนาคารอย่างไร เช่น การขยายไปยัง Regional ฝั่งธุรกิจก็เริ่มดูว่า Business Model เป็นอย่างไร จะขยายไปที่ประเทศไหนบ้าง ในแง่ของไอทีก็ต้องตอบโจทย์ที่ว่าเมื่อธุรกิจขยายไปประเทศไหน แล้วไอทีจะเริ่มวางโครงสร้างหรือ Road Map อย่างไร เพื่อให้การขยายไปตลาดต่างประเทศมีประสิทธิภาพและสามารถให้บริการได้ง่ายขึ้น ต้นทุนต่ำ ประสิทธิภาพสูงสุด”

 

เมื่อถามถึงข้อได้เปรียบของการเป็นพันธมิตรภายใต้เครือข่าย MUFG จะนำ Know-How ใดบ้างมาปรับใช้กับการทำงานของทีม สยามบอกว่า “MUFG เป็นแบงก์ใหญ่อันดับ 1 ของญี่ปุ่น และเป็นกลุ่มสถาบันทางการเงินชั้นนำระดับโลก มีสาขาทั่วโลก มีฐานลูกค้าทั่วโลก และมีการดำเนินการหาพาร์ตเนอร์เหมือนกัน สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เราสามารถนำมาส่งเสริมใช้ซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นแอปอะไรที่เราสร้าง สามารถนำมาปรับใช้ไปทั่วโลกได้ มันก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะเดียวกันทางญี่ปุ่นถ้าเขามีพาร์ตเนอร์ที่สามารถดึงเข้ามาปรับใช้ได้ที่ประเทศไทย หรือเรื่องการขยายตลาดไปต่างประเทศที่เรากำลังทำอยู่ ก็สามารถทำได้เร็วขึ้น มีหลายธุรกิจที่ทาง MUFG เป็นคนอ้างอิงมา

 

“เรื่องของการวางแผนมีการแชร์กัน แน่นอนว่าใน Local Market อาจไม่ 100% แต่ก็เป็นข้อดี เพราะมันสามารถผสมผสานความแข็งแรงของ Local Market กับความแข็งแกร่งของ Global เข้ามาเสริมจุดแข็งของกันและกันได้ ทำให้จุดแข็งของทั้งสองฝั่งก็ยังอยู่และสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดี”

 

Krungsri IT & Digital

พชร วันรัตน์เศรษฐ

ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 

 

พชร วันรัตน์เศรษฐ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พูดถึงความท้าทายของงานฝั่ง IT ว่าในธุรกิจธนาคารในยุคนี้นอกจากเรื่องการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าที่รวดเร็วแล้วยังต้องรับมือกับการแข่งขันของคู่แข่งต่างธุรกิจด้วย ทำให้การดีไซน์โปรดักต์ใหม่ๆ ต้องให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ใช้งานให้มากยิ่งขึ้น เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้ตรงใจที่สุด

 

“เวลาที่เราออกแบบผลิตภัณฑ์ ทางฝั่งของ Legacy System ก็เริ่มเก็บข้อมูลต่างๆ ความต้องการของลูกค้าคืออะไร ก่อนจะนำเข้ากระบวนการและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ แต่ถ้าเป็นการพัฒนาโปรดักต์ ทางฝั่งที่ Modernize แล้ว อย่าง Kept Team เองเป็นทีมที่ทรานส์ฟอร์มไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นวิธีการทำงานของเขาค่อนข้าง Agile เป็นการพัฒนาโปรดักต์ไป แก้ไขไป ทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีขึ้น ซึ่งเชื่อว่าปัจจุบันหลายแบงก์ก็ทำแบบนี้กันหมดแล้ว

 

“แต่ความท้าทายคือเราจะทรานส์ฟอร์มจาก Legacy System อย่างไรให้เป็น Agile ให้มากที่สุดและเร็วกว่านี้ เพื่อให้แข่งขันได้อย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้นในระยะยาวเราจะต้องมีนโยบายในการปรับเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพัฒนาบุคลากรหรือเทคโนโลยี เพื่อเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตรงนี้”

 

พชรยกตัวอย่างการพัฒนาแอปพลิเคชัน Kept ให้ฟังว่า “เราเริ่มจากดูกลุ่มเป้าหมายก่อนว่าจะเจาะกลุ่มไหน จากข้อมูลสถิติเราพบว่า Gen Y เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีหนี้เร็วจากการใช้จ่ายเกินตัว และช่วงหลังๆ ของ Gen Y มีภาระหนี้ครัวเรือนสูงและอัตราการออมเงินอยู่ในระดับต่ำ เมื่อได้โจทย์นี้มา เราก็มาดูว่าเทคโนโลยีที่จะตอบโจทย์นี้มีอะไรบ้าง มีโปรดักต์ไหนแก้ปัญหาได้ พอเราเลือกได้แล้วก็ค่อยมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการในการพัฒนาเรายึดลูกค้าเป็นหลักและฟีเจอร์ต่างๆ ที่เราใส่เข้าไปใน Mobile App นี้จะตอบโจทย์ลูกค้าอย่างไรบ้าง ซึ่งถ้าเรายังอยู่ใน Traditional Core Bank มันไม่สามารถทำได้เลย นี่คือสาเหตุว่าทำไมเราจึงต้องมี Digital Core Bank”

 

การพัฒนาโปรดักต์ใหม่ๆ ภายใต้การขับเคลื่อนของ Digital Core Bank พชรบอกว่าเป็นเหมือนการขยายฐานลูกค้าด้วย การมี Mobile App ที่ทันสมัยแตกยอดมาจากฝั่ง Traditional Core Bank ก็เป็นการเปิดโอกาสให้เราทำงานกับพาร์ตเนอร์ได้มากขึ้น พอมีพาร์ตเนอร์มาร่วมกันพัฒนา ฐานลูกค้าที่มีก็ขยายตามไปด้วย

 

“ความสำเร็จในวันนี้ผมว่ามันประกอบจากหลายส่วน ทั้งเรื่องคนเองและการทำงานที่สอดคล้องกันระหว่างธุรกิจกับไอที นี่เป็นจุดที่สำคัญมาก เพราะถ้าฝั่งธุรกิจกับไอทีเดินคนละทางมันไม่มีทางสำเร็จได้ หรือถ้าสำเร็จก็อาจจะช้า ถ้าเราทำงานสอดคล้องมันย่อมส่งผลให้การพัฒนาโปรดักต์ใหม่ๆ รวดเร็วและตอบโจทย์ลูกค้าธนาคารมากขึ้นแน่นอน”

 

เรื่องคนก็สำคัญ พชรเสริมว่าการคัดเลือกบุคลากรที่มี Talent หรือดึงคนเก่งๆ ให้มาทำงานร่วมกันยังไม่พอ เพราะทีมต้องหมั่น Reskill และ Upskill กันอยู่ตลอดเวลา “บางทีเราหาคนที่มี Talent อย่างเดียวไม่พอ ต้องเอาคนที่มีอยู่เดิมมา Upskill ทำให้เขาเรียนรู้สกิลใหม่ๆ ภาษาใหม่ๆ และก็เปลี่ยนแนวความคิด ลักษณะนี้ก็เป็น Win-Win เขาก็ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เราก็ได้ทีมที่ดี”

 

อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญคือ Infrastructure ที่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองกับระบบกลางบ้าน หน้าบ้าน การขยายโครงสร้างหรือเรื่องเน็ตเวิร์กก็ต้องพัฒนาตามไปด้วย จึงจะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาโปรดักต์ใหม่ๆ

 

“เรื่องที่ท้าทายตอนนี้ก็อย่างที่บอก คือการขับเคลื่อน Legacy Application และ Core Banking ให้ทันสมัยขึ้นและก้าวกระโดด เพื่อให้การตอบสนองต่อธุรกิจและต้นทุนในการพัฒนาแอปจะลดลงตามไปด้วย”

 

Krungsri IT & Digital

สายสุนีย์ หาญประเทืองศิลป์

ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านนวัตกรรมดิจิทัลและข้อมูล

 

ข้ามมายังฟากของสายงานนวัตกรรมดิจิทัลและข้อมูล ที่มี สายสุนีย์ หาญประเทืองศิลป์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านนวัตกรรมดิจิทัลและข้อมูล เป็นต้นน้ำ เธอฉายภาพใหญ่พร้อมพาเราเจาะลึกให้เห็นการทำงานในแต่ละแผนกที่ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าทีม IT

 

“นวัตกรรมดิจิทัลและข้อมูล เราดูแลหลายเรื่องที่เกี่ยวกับดิจิทัลแม้แต่โครงสร้างและแพลตฟอร์มต่างๆ ที่สอดคล้องไปด้วยกัน เรียกว่าดูทุกมิติ ทั้ง People Process และ Technology”

 

เริ่มกันที่ฝั่งดิจิทัล สิ่งที่ทีมนี้ทำคือการดูแลเรื่องของการให้บริการทางดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น Mobile App, Web App, Social Platform ต่างๆ หรือเรียกว่าระบบ Customer Engagement ทีมนี้จะดูแลทั้งลูกค้าที่อยู่ในกลุ่มลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจ เพื่อพัฒนาส่งมอบประสบการณ์การใช้งานบนช่องทางดิจิทัลให้กับลูกค้า ไปพร้อมกับดูแลแอปพลิเคชันต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ส่วนทีมที่ดูแลเรื่อง Open Banking และ API ซึ่งสอดคล้องไปกับกลยุทธ์ของธนาคารกรุงศรีที่สร้างพาร์ตเนอร์และสร้างระบบ Ecosystem “เราจะขับเคลื่อนกลยุทธ์นี้ไม่ได้ถ้าเราไม่มี API Platform และเราไม่เริ่มทรานส์ฟอร์มการให้บริการของเราให้เป็น API Service เราจึงตั้งทีมนี้ขึ้นมาเมื่อประมาณกลางปี 2021 สิ่งที่ทีมโฟกัสคือ Banking as a Service ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อให้บริการทางการเงินด้านต่างๆ ผ่านการเชื่อมต่อกับระบบต่างๆ ภายในธนาคารและพาร์ตเนอร์ได้อย่างไร้รอยต่อ ซึ่งจะเป็นตัวทรานส์ฟอร์มธนาคารไปสู่โลกอนาคต

 

“ทีมต่อมาคือทีม Data เป็นทีมใหญ่ ที่เรารวม Data ทั้งหมด ต้องบอกว่ากรุงศรีเป็นหนึ่งในองค์กรแรกที่รวม Data ให้เข้ามาอยู่ในทีมเดียว ตั้งแต่ Data ที่อยู่ใน Data Warehouse หรือ Data ที่อยู่ใน Data Lake โดยเราได้เตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ข้อมูลและยกระดับมาตรฐานการจัดเก็บรักษาคลังข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานของสถาบันกำกับควบคุมต่างๆ (Regulators) นอกจากนั้นเรายังมีทีม Data Scientist ที่ดูแลในส่วนของการพัฒนา AI/ML และมีทีม Data as a Service (DaaS) ที่ดูแลในส่วนของการพัฒนาการประมวลผลข้อมูล ซึ่งทีมทั้งหมดที่เล่ามาจะดูตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำออกมาเป็น Data Service ที่สามารถนำมาปรับใช้ในภาคธุรกิจได้จริง สร้างประโยชน์ สะดวกรวดเร็ว และตอบโจทย์ในหลากหลายความต้องการให้กับลูกค้า พาร์ตเนอร์ และองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

 

Innovation & Culture ก็เป็นอีกทีมที่สายสุนีย์บอกว่าจะมีอะไรสนุกๆ ออกมาให้เห็นอีกมากหลังจากนี้ “เราเพิ่งตั้ง Krungsri Innovation Center ขึ้นมา เพราะอยากเปิดรับไอเดียทางด้านนวัตกรรมใหม่ๆ จากพนักงานทุกคน ที่มีไอเดียใดๆ ก็สามารถส่งเข้ามาใน Innovation Center อย่างง่ายๆ และเราก็จะมีกระบวนการและมีทีมเฉพาะทางที่ช่วยต่อยอด สานฝันให้ไอเดียเหล่านั้นเกิดขึ้นจริงได้”

 

สายสุนีย์บอกว่า ใน Krungsri Innovation Center จะมีนโยบายที่เรียกว่า 9 Building Blocks ซึ่งเป็น Innovation Service “ยกตัวอย่างเรามี Idea Lab ก็ทำเป็น Idea Lab as a Service มี Innovation Lab ก็ทำเป็น Innovation Lab as a Service แล้วเราก็จะมีทีม Business Development ที่ร่วมมือกับภาคการศึกษา พาร์ตเนอร์ และสตาร์ทอัพ ต่อยอดสิ่งเหล่านี้เพื่อพัฒนาออกสู่ตลาด อีกสิ่งที่เราสานต่อคือเรื่อง Human Centric Design ซึ่งเน้นไปที่ Human Tech เพื่อส่งมอบนวัตกรรมที่ออกแบบโดยการใช้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง”

 

นอกจากนี้ยังมีทีมที่ดูแลเรื่อง Digital Transformation โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นทีมใหม่ที่เพิ่งตั้งไข่ “ทีมนี้จะดูเรื่อง End-to-End Automation โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานของธนาคารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะการที่เราบอกว่าการจะทำ Banking ให้มันง่าย มันก็ต้องง่ายทั้งระบบ ซึ่งปัจจุบันเรามี Use Case ที่กำลังพัฒนาอยู่”

 

ส่วน ‘กรุงศรี นิมเบิล’ (Krungsri Nimble) ถือเป็นฮับในการสร้างและดูแลโซลูชันด้านไอที เป็นการ Spin-Off เพื่อให้มีโครงสร้างพิเศษหนุนคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่มีศักยภาพด้านวิศวกรรมไอทีที่มีแรงบันดาลใจในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ เน้นกระบวนการทำงานแบบ Agility เพื่อพัฒนาโซลูชันที่ตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมการเงิน มีไลฟ์สไตล์การทำงานที่กระชับและรวดเร็ว และ กรุงศรี ฟินโนเวต (Krungsri Finnovate) มีเป้าหมายเริ่มต้นคือการมองหาฟินเทคและสตาร์ทอัพ และเริ่มระดมทุน นำไปสู่การต่อยอดพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ของธนาคารต่อไปในอนาคต

 

“เพราะเทคโนโลยีบางอย่างใช้เวลานานในการพัฒนา ต้องอาศัยพาร์ตเนอร์ที่ทำให้เราว่องไวขึ้นกว่าเดิมในแง่ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ให้กับลูกค้า กรุงศรี ฟินโนเวต ตอนนี้เรามี Finnoventure Fund I เป็นกองทุนลักษณะ Private Equity Trust ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อลงทุนในสตาร์ทอัพขึ้น”

 

หนึ่งในหลายตัวอย่างผลงานของทีม Digital and Innovation คือการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัลผ่านระบบ National Digital ID (NDID) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าใหม่ในการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าสำหรับเปิดบัญชี หรือสมัครสินเชื่อออนไลน์ของกรุงศรีโมบายแอปพลิเคชัน (KMA) และ Kept ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ของธนาคาร สายสุนีย์เล่าว่า จากความสำเร็จของการยืนยันตัวตนผ่านระบบ NDID เราได้ต่อยอดการพัฒนาเพื่อขยายช่องทางการให้บริการเพื่อยืนยันตัวตนผ่าน Krungsri i-CONFIRM  ซึ่งเพิ่มความสะดวก ครอบคลุมการให้บริการในทุกสาขาของธนาคารกรุงศรีและบริษัทในเครือ ได้แก่ สาขากรุงศรี ออโต้, ศูนย์บัตรเครดิตฯ ที่โฮมโปร, สาขากรุงศรีเฟิร์สช้อยส์, สาขาเงินติดล้อ, สาขาโกลบอลเฮ้าส์ และเคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้าน 7-Eleven รวมกว่า 14,000 แห่งทั่วประเทศ

 

“ล่าสุดเราเพิ่งเปิดตัว ‘Krungsri iPro’ นวัตกรรมทางการเงินเพื่อเปิดบัญชีเงินฝากนิติบุคคลไม่ต้องไปสาขา ที่มุ่งเสริมประสบการณ์และยกระดับการให้บริการกลุ่มลูกค้าธุรกิจ ซึ่งจะเปลี่ยนรูปแบบบริการแบบเดิม ทั้งเรื่องการจัดเตรียมเอกสารที่ลูกค้าต้องเตรียมเอกสารบริษัทมากมาย ให้กลายเป็น e-Document เชื่อมโยงกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทำให้ลูกค้าลดเวลาและสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ ลูกค้าจะได้รับเลขที่บัญชีเพื่อเริ่มใช้งานหรือเริ่มทำธุรกรรมได้ทันที และกําลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อขยายการเปิดบัญชีออนไลน์สําหรับนิติบุคคล เพื่อยกระดับการให้บริการ ช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้บริการด้วยตนเองได้หลากหลายอย่างไม่มีข้อจํากัดเรื่องเวลาและระยะทาง

 

Krungsri IT & Digital

 

ทั้งการดูแลระบบดิจิทัลและการพัฒนาโปรดักต์ใหม่ๆ ให้ตอบโจทย์อนาคตโลกการเงิน จะถูกขับเคลื่อนไปตามเป้าหมายของทีม ซึ่งสยามบอกว่าตอนนี้สิ่งที่ทีมโฟกัสคือเดินตามทิศทางกลยุทธ์ของธนาคาร “ซึ่งหลักๆ ก็จะมีเรื่องของ New Revenue Streams ฝั่งของสายสุนีย์ก็จะค้นหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Digital Currency, Metaverse, IoT, Open Banking เพื่อหารายได้ใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยการเติบโต ฝั่งไอทีจะเน้นไปที่การ Modernize แอปพลิเคชัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Core Bank เพื่อที่จะสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สร้างขึ้นมันออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น”

 

สยามเชื่อว่าอาวุธหลักที่จะนำพาให้ทีมพิชิตได้ทุกเป้าหมายคือ ‘คน’ เขาย้ำว่าทีม Tech Expert ของกรุงศรีไม่ใช่ทีมใหญ่ที่สุด ไม่ได้มีเงินลงทุนเยอะที่สุด แต่สิ่งที่มีคือการทำงานที่สอดคล้องไปด้วยกันทุกฝ่าย “ผมยกตัวอย่างตลอดคือทีมเราอาจจะไม่เยอะเท่าใคร เงินเราอาจจะไม่เยอะ แต่ถ้าเราทำงานร่วมกันแล้วไปในทิศทางเดียวกัน เหมือนเรือลำเล็ก คนพายอาจจะน้อยกว่า แต่ถ้าพายไปด้วยกันในจังหวะเดียวกัน มันอาจจะแซงชนะเรือลำใหญ่กว่าก็ได้”

 

คำถามที่คนรุ่นใหม่สายเทคน่าจะอยากรู้คือ แล้วคนสายพันธุ์ไหนที่ทีม Tech Expert ของกรุงศรีมองหา? แน่นอนว่าจะต้องเป็นคนที่กระหายการเรียนรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ และมี Mindset ที่เปิดรับทุกการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงเปิดรับฟีดแบ็กจากทีมได้ และถ้าไม่หวั่นต่อสเตปการล้มแล้วลุก ก็น่าลุ้นว่าอาจจะได้เข้าร่วมทีมขับเคลื่อนเทคโนโลยีที่มีเป้าหมายที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในโลกการเงินการธนาคาร

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising