เทศกาลกรุงเทพกลางแปลงกลับมากางจอมอบความสุขให้ชาวกรุงอีกครั้ง กับภาพยนตร์ทั้งหมด 22 เรื่อง เตรียมฉายใน 7 สถานที่ทั้ง Indoor และ Outdoor เริ่มวันที่ 7 ตุลาคม – 12 พฤศจิกายนนี้
กรุงเทพมหานคร ร่วมกับสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และสมาคมหนังกลางแปลงแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงานเทศกาลกรุงเทพกลางแปลง ซึ่งอยู่ในนโยบาย 12 เดือน 12 เทศกาล โดยตารางฉายอยู่ในช่วงสุดสัปดาห์ต่อเนื่องกัน 6 สัปดาห์ ระหว่างวันที่ 7 ตุลาคม – 12 พฤศจิกายน 2566 ดังนี้
วันที่ 7-8 ตุลาคม
สถานที่: หัวลำโพง
วันที่ 7 ตุลาคม ฉายเรื่อง ทรชนคนสวย (2510)
วันที่ 8 ตุลาคม ฉายเรื่อง October Sonata (2552) และกิจกรรมพิเศษ มิตร ชัยบัญชา
วันที่ 14-15 ตุลาคม
สถานที่: ลานคนเมือง
วันที่ 14 ตุลาคม ฉายเรื่อง 14 ตุลา สงครามประชาชน (2544)
วันที่ 15 ตุลาคม ฉายเรื่อง องค์บาก (2546)
วันที่ 20-22 ตุลาคม
สถานที่: ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง
วันที่ 20 ตุลาคม ฉายเรื่อง Goal Club เกมล้มโต๊ะ (2544)
วันที่ 21 ตุลาคม ฉายเรื่อง นักเตะเสี้ยวลิ้มยี่ (2544) พากย์สด
วันที่ 22 ตุลาคม ฉายเรื่อง Kung Fu Panda (2558) 3D
วันที่ 27-29 ตุลาคม
สถานที่: สวนลุมพินี
วันที่ 27 ตุลาคม ฉายเรื่อง รัก 7 ปี ดี 7 หน (2555)
วันที่ 28 ตุลาคม ฉายเรื่อง ร่างทรง (2564)
วันที่ 29 ตุลาคม ฉายเรื่อง หอแต๋วแตก ภาค 2 (2558)
วันที่ 3-5 พฤศจิกายน
สถานที่: ประปาแม้นศรี
วันที่ 3 พฤศจิกายน ฉายเรื่อง PHOTOGRAPH (2562)
วันที่ 4 พฤศจิกายน ฉายเรื่อง เทพธิดาบาร์ 21 (2521)
วันที่ 5 พฤศจิกายน ฉายเรื่อง เรื่องตลก 69 (2542)
วันที่ 10-12 พฤศจิกายน
สถานที่: ดาดฟ้า ลาซาล
วันที่ 10 พฤศจิกายน ฉายเรื่อง Lost in Blue (2559)
วันที่ 11 พฤศจิกายน ฉายเรื่อง Concrete Clouds (2557)
วันที่ 12 พฤศจิกายน ฉายเรื่อง Close (2559)
นอกจากนี้จะมีการฉายหนังจากสถานทูตในวันที่ 3-5 พฤศจิกายน และวันที่ 10-12 พฤศจิกายน ณ สวนป่าเบญจกิติอีกด้วย
ภายในงานแถลงข่าวการจัดงานเทศกาลกรุงเทพกลางแปลงเมื่อวานนี้ (3 ตุลาคม) มีผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารและผู้แทนสำนัก และสำนักงานเขต กรมการท่องเที่ยว การรถไฟแห่งประเทศไทย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) สมาคมหนังกลางแปลงแห่งประเทศไทย สมาคมนักแสดง และผู้เกี่ยวข้องร่วมในงาน
ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กทม. เล็งเห็นถึงความสำคัญของ BFMCC (Bangkok Filmmaking Coordinator Center) ศูนย์ประสานงานการถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่กรุงเทพฯ หรือ One Stop Service ในการขอถ่ายทำ ซึ่งเป็น Pain Point ใหญ่ที่อยู่ในความรับผิดชอบโดยตรงของ กทม. และพยายามแก้ไขกันในปีที่แล้ว เพราะทุกการจัดงานเทศกาลไม่ใช่แค่การนันทนาการ แต่เป็นการทำความเข้าใจอุตสาหกรรมที่มีทีมงานเบื้องหลังในสายการผลิตอีกเป็นพันเป็นหมื่นคน
“นี่คือก้าวแรกของ กทม. ต้องขอขอบคุณทางสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลังจากนี้คงไม่ใช่มีแค่เรื่อง One Stop Service อย่างเดียวที่เป็นปัญหา แต่อุตสาหกรรมภาพยนตร์คงมีอีกหลายเรื่องที่ต้องร่วมกันแก้ไข ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดประสงค์ของการจัดงานเทศกาลกรุงเทพกลางแปลงในครั้งนี้ที่หวังให้ชาวกรุงเทพฯ มีความสุข รวมถึงคนในวงการภาพยนตร์ด้วย”
สำหรับข้อมูลกิจกรรมเทศกาลกรุงเทพกลางแปลงโดยละเอียด สามารถติดตามได้ที่เฟซบุ๊กเพจ กรุงเทพมหานคร ตลอดเทศกาล
ภาพ: กรุงเทพมหานคร
อ้างอิง: