×

แค่เปลี่ยน ‘บรรจุภัณฑ์’ จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่และปรุงโลกใหม่ให้น่าอยู่กว่าที่เคยแบบที่ ‘Knorr Professional’ ตั้งใจได้อย่างไร [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
01.08.2022
  • LOADING...
Knorr Professional

HIGHLIGHTS

3 mins. read
  • Unilever Food Solutions ในฐานะผู้ผลิตวัตถุดิบอาหารพร้อมใช้ ลุกขึ้นมาปรับบรรจุภัณฑ์ใหม่ เลือกใช้วัสดุที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ ภายใต้แนวคิด A Little Big Difference บรรจุภัณฑ์ใหม่ของผลิตภัณฑ์ ‘Knorr Professional’ ออกแบบภายใต้คอนเซปต์ Smart & Talking Packs สะท้อนผ่าน 3 จุดบนผลิตภัณฑ์ ได้แก่ Easy To Understand ข้อมูลครบเข้าใจง่าย, Transparent Information โปร่งใสเรื่องข้อมูลส่วนผสม และ Seamless Journey Offline to Online ผ่าน QR Code เข้าถึงข้อมูลและสูตรอาหาร เพื่อให้เชฟและผู้ประกอบการนำไปปรับใช้
  • การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายที่จะเป็น Net Positive เรื่องพลาสติก ภายใต้แนวคิด ‘เก็บมากกว่าใช้’ รวมถึงการสร้างขยะพลาสติกให้น้อยลง โดยใช้พลาสติกที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ หรือใช้พลาสติกที่ผ่านการใช้และกระบวนการรีไซเคิลมาแล้ว (Better Plastic) ลดการใช้พลาสติก (Less Plastic) หรือไม่ใช้พลาสติก (No Plastic) ทำให้สามารถช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกไปได้กว่า 60 ล้านกรัมต่อปี จากจำนวนน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้

ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนกำลังเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจอย่างมากในกลุ่มคนหนุ่มสาวทั่วโลก อาจเพราะพวกเขาคือกลุ่มคนที่ต้องรับผลกระทบกับภาวะโลกร้อนโดยตรง อีกทั้งงานวิจัยจากหลายสถาบันก็เผยรายงานที่ใกล้เคียงกันถึงพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่พร้อมสนับสนุนสินค้ารักษ์โลก เช่นเดียวกับเรื่องอาหารสุขภาพ รายงาน Focus on Brand Trust ของ IBM Food Trust พบว่า 20% ของผู้บริโภค พร้อมที่จะเปลี่ยนไปซื้อสินค้าจากผู้ผลิตรายอื่น หากพบว่าสินค้าดังกล่าวมีประเด็นด้านความปลอดภัยทางอาหาร ต่อให้มี Brand Loyalty ก็ตาม

 

  

Knorr Professional

 

ความใส่ใจยังกินความไปถึง ‘บรรจุภัณฑ์’ ก็ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน งานวิจัยของ ‘คันทาร์’ (Kantar) บริษัทวิจัยการตลาดเชิงลึก ที่สำรวจร่วมกับ GfK และ Europanel ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคใน 19 ประเทศ จำนวน 80,000 คน พบว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ผู้บริโภคใส่ใจมากที่สุดคือ โลกร้อน 16.9% รองลงมาคือขยะพลาสติก 14.8% 

 

ข้อมูลดังกล่าวน่าจะทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร สินค้า และบริการต้องเร่งปรับตัว เช่นเดียวกับ Unilever Food Solutions ผู้นำธุรกิจอาหารและเบเกอรีระดับโลก ในฐานะผู้ผลิตวัตถุดิบอาหารพร้อมใช้ ‘Knorr Professional’ สำหรับเชฟและผู้ประกอบการโดยเฉพาะ จึงลุกขึ้นมาปรับบรรจุภัณฑ์ใหม่ เลือกใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ ภายใต้แนวคิด A Little Big Difference เปลี่ยนให้ทุกจานเป็นไปได้

   

 

ชุตา หงษ์สุวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด Unilever Food Solutions เล่าจุดเริ่มต้นของแคมเปญระดับโลก ‘A Little Big Difference’ ว่าไม่ได้มองแค่ความต้องการของเชฟและผู้ประกอบการซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของ Unilever Food Solutions เท่านั้น แต่ยังค้นหาความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันด้วย “ทุกวันนี้ผู้บริโภคมีความต้องการที่หลากหลาย ใส่ใจสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ รักสุขภาพ และมองหาอาหารที่ทำให้โลกยั่งยืนตลอดทั้งกระบวนการผลิต เมื่อเทรนด์มาแบบนี้ เชฟและผู้ประกอบการก็ต้องปรับ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิด A Little Big Difference” 

 

‘Smart & Talking Packs’ ถ้าแพ็กเกจจิ้งพูดได้

การปรับบรรจุภัณฑ์ไปพร้อมกับการเปลี่ยนมาใช้วัสดุรีไซเคิลถือเป็นจุดเปลี่ยนเล็กๆ ที่สำคัญของคอนเซปต์ A Little Big Difference เพราะยูนิลิเวอร์มองว่าบรรจุภัณฑ์เปรียบเสมือนช่องทางการสื่อสารไปยังเชฟและผู้ประกอบการว่า Knorr Professional เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเลือกวัตถุดิบและเครื่องปรุงสำหรับผู้บริโภค จึงดีไซน์บรรจุภัณฑ์ใหม่ภายใต้คอนเซปต์ Smart & Talking Packs สะท้อน 3 แนวคิดที่อยากสื่อสารผ่านบรรจุภัณฑ์ ได้แก่

 

  • Easy To Understand ข้อมูลครบถ้วน ตั้งแต่ส่วนผสม วิธีการใช้ และเมนูอาหาร อ่านแล้วรู้เลยว่าคือสินค้าอะไร นำไปใช้ทำอะไรได้ 
  • Transparent Information บอกข้อมูลของส่วนผสมอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้เชฟและผู้ประกอบการเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับผู้บริโภค 
  • Seamless Journey Offline to Online ผ่าน QR Code เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์หลัก มีสูตรอาหารเพื่อเป็นไอเดียให้กับเชฟ และยังมีบทความและคำแนะนำต่างๆ เพื่อให้เชฟและผู้ประกอบการนำไปปรับใช้ได้

 

 

กุลนิภา เลิศพิมลชัย กรรมการผู้จัดการ Unilever Food Solutions บอกว่าการลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ สอดคล้องไปกับ Unilever Compass ที่จะทำให้วิถีชีวิตที่ยั่งยืนเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ (Make sustainable living commonplace)

 

“ในฐานะที่ Unilever Food Solutions เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ ยิ่งต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม เราต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ บทบาทสำคัญที่เราจะขับเคลื่อนภายในปี 2025 คือ บรรจุภัณฑ์พลาสติกของเราทั้งหมด 100% จะต้องสามารถนำมารีไซเคิล กลับมาใช้ซ้ำ หรือย่อยสลายได้ และ 25% ของบรรจุภัณฑ์พลาสติกจะผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลที่ผ่านการใช้แล้ว (PCR) รวมถึงลดปริมาณการใช้พลาสติกใหม่ลงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่เราใช้อยู่” 

 

ยูนิเวอร์ยังตั้งเป้าที่จะเป็น Net Positive เรื่องพลาสติก ภายใต้แนวคิด ‘เก็บมากกว่าใช้’ รวมถึงการสร้างขยะพลาสติกให้น้อยลง โดยใช้พลาสติกที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ หรือใช้พลาสติกที่ผ่านการใช้และกระบวนการรีไซเคิลมาแล้ว (Better Plastic) ลดการใช้พลาสติก (Less Plastic) หรือไม่ใช้พลาสติก (No Plastic) ซึ่งปัจจุบันการลดการใช้พลาสติกของยูนิลีเวอร์คือ ลดปริมาณการใช้พลาสติกตั้งแต่ต้นทาง เช่น การลดความหนาของบรรจุภัณฑ์ หรือทำให้บรรจุภัณฑ์มีน้ำหนักเบาลง เป็นต้น  

 

“เพราะเราเชื่อว่าการช่วยลดขยะพลาสติกนั้นจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อนที่มาจากการทำลายขยะพลาสติก หรือสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในน้ำ ยิ่งไปกว่านั้นการนำพลาสติกมารีไซเคิลยังลดเชื้อเพลิงที่ใช้การสร้างพลาสติกใหม่ได้ ดังนั้นการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์สู่วิถีรักษ์โลกในทุกบรรจุภัณฑ์ของ Knorr Professional จะช่วยลดขยะพลาสติกในประเทศได้ถึง 60 ล้านกรัมต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขจากจำนวนน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้”

 

แผน ‘เก็บ’ คืน ‘กลับ’ สู่กระบวนการรีไซเคิล

พันธกิจต่อมาที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการเลือกใช้ Better Plastic, Less Plastic หรือ No Plastic ก็คือการเก็บให้ได้มากกว่าที่ใช้ไป เพื่อนำไปรีไซเคิลต่อ กุลนิภาบอกว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ ‘หาพันธมิตร’

 

“ตอนนี้เราจับมือกับหลายภาคส่วนและองค์กรต่างๆ ในการจัดการปัญหาขยะพลาสติก ไม่ว่าจะเป็น NGO ในโครงการรวบรวมขยะพลาสติก หรือจับมือกับสยามพิวรรธน์ จัดทำยูนิลีเวอร์ x สยามพิวรรธน์ รีไซเคิลเซ็นเตอร์เพื่อจัดเก็บพลาสติกกลับมา นอกจากนั้นยังร่วมมือกับเอสซีจีซีทำโครงการ ‘แยกดี มีแต่ได้’ รวบรวมขยะพลาสติกประเภท HDPE เช่น แกลลอนน้ำยาปรับผ้านุ่ม แกลลอนน้ำยาล้างจาน ขวดแชมพู ขวดครีมนวดผม ซึ่งจะนำไปผ่านกระบวนการทำความสะอาดและปรับปรุงคุณสมบัติเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (PCR) สำหรับนำมาขึ้นรูปเป็นขวดบรรจุภัณฑ์ใหม่ และซองบรรจุภัณฑ์พลาสติกหลายชั้น (Multilayer) เช่น ถุงน้ำยาปรับผ้านุ่ม ถุงน้ำยารีฟิลต่างๆ”  

 

สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันคือ การรณรงค์ให้ผู้คนตระหนักเกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหาจากขยะพลาสติก และบอกให้รู้ว่าพวกเขาก็มีบทบาทในการทำเพื่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจำลองธุรกิจรีไซเคิลของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ในโครงการ PIM Recycling Business หรือโครงการส่งพลาสติกกลับบ้าน โครงการมือวิเศษ เป็นต้น  

 

Knorr Professional

 

กุลนิภาบอกว่าพันธมิตรคนสำคัญที่ลืมไม่ได้คือ กลุ่มเชฟและผู้ประกอบการที่ใช้ผลิตภัณฑ์ Knorr Professional ช่วงแรกจะใช้วิธีสื่อสารให้รู้ว่าผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาใช้ทั้งหมดกำลังจะเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน (Sustainable Packaging) เพื่อให้เขารู้ว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วสามารถถูกจัดเก็บเพื่อส่งมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล และนำกลับมาใช้ใหม่ โดยไม่ได้ถูกทิ้งเป็นขยะ หรือปนเปื้อนไปในสิ่งแวดล้อม และเขาเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ นี้ได้เช่นกัน   

 

ชุตากล่าวเสริมว่า “หน้าที่ของเรานอกจากจะคอยหยิบยื่นสิ่งที่เชฟและผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ได้ ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ไปจนถึงความรู้ต่างๆ ยังต้องสร้างความตระหนักว่าพวกเขาก็มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมได้ เพราะเมื่อดูจากงานวิจัยของ Kantar ในปี 2020 เกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้าของเชฟและผู้ประกอบการ จะเห็นว่าหากมีสินค้าเหมือนกัน พวกเขาจะเลือกซื้อแบรนด์ที่คำนึงถึงความยั่งยืนมากกว่า ทำให้เขาสบายใจที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา และผู้บริโภคเองก็สบายใจที่ได้รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของเครื่องปรุงรสที่รักษ์โลก” 

 

คุณภาพชีวิตที่ดี…จากสุขภาพที่ดี อีกสิ่งเล็กๆ ที่คนอร์กำลังปรุงเพื่อโลก

“นอกจากสิ่งแวดล้อมที่ดี การที่เราจะมีชีวิตที่ดีจะต้องมีสุขภาพที่ดีก่อน ในเมื่อธุรกิจของเราจำหน่ายสินค้าให้กับเชฟและผู้ประกอบการ สิ่งที่เราทำคือ ส่งมอบอาหาร ผลิตสินค้าอย่างมีความรับผิดชอบ โดยคำนึงถึงสุขภาพที่ยั่งยืนของผู้บริโภค และส่งเสริมการทำอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ เพื่อให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดี ทั้งในปัจจุบันและอนาคต”

  


กุลนิภาบอกว่าแนวคิด A Little Big Difference ยังมุ่งหวังที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับเชฟและผู้ประกอบการร้านอาหารในการสร้างสรรค์ทุกเมนูได้ตามต้องการและถูกหลักโภชนาการ “เพราะเรารู้ว่าวัตถุดิบในการประกอบอาหารหนึ่งจานส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จึงแนะนำการใช้สินค้าในแต่ละเมนูบนบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้สอดคล้องกับเป็นมาตรฐานโภชนาการสูงสุดของยูนิลีเวอร์ (Highest Nutrition Standards: HNS) โดยเน้นไปที่ปริมาณของโซเดียมที่ผู้บริโภคควรได้รับ และในอนาคตเราก็ยังมีแผนที่จะปรับปริมาณสารอาหารตัวอื่นอีกมากมาย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสินค้าของเรานั้นดีต่อทั้งผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม”

 

ชุตาอธิบายต่อว่า “มาตรฐานโภชนาการสูงสุดของยูนิลีเวอร์ (HNS) เป็นมาตรฐานที่ยูนิลิเวอร์ตั้งไว้ในการพัฒนาสินค้า อ้างอิงจากคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) โดยคำนึงถึงสารอาหารที่อาจจะก่อโรคหากผู้บริโภคได้รับมากเกินไป เช่น พลังงาน น้ำตาล ไขมันอิ่มตัว และโซเดียม ซึ่งเรายึดหลักนี้ในการพัฒนาสินค้า และยังคำนึงถึงเมนูที่ผู้ประกอบการจะนำไปใช้” 

 

 

สุขภาพดีที่ต้องมาพร้อมกับความอร่อย

หน้าที่สำคัญที่สุดของ Knorr Professional คือ รังสรรค์เมนูอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการครบ และไม่บกพร่องเรื่องรสชาติความอร่อย ยูนิลิเวอร์จึงร่วมมือกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF ในการสร้างสรรค์รายงาน 50 อาหารแห่งอนาคต หรือ Future 50 Foods ที่เน้นประโยชน์ และส่งผลกระทบต่อโลกน้อยกว่าอาหารที่ทำจากสัตว์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการปรุงและการกินที่หลากหลาย โดยมีเชฟจากทุกแขนงนำ Future 50 Foods ไปสร้างสรรค์เป็นเมนูอาหารใหม่พร้อมสูตร เพื่อให้เชฟและผู้ประกอบการที่สนใจนำไปปรับใช้ 

“มั่นใจได้ว่าจะเป็นเมนูอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารที่ดี เพราะมาจากวัตถุดิบที่ดี และอร่อยแน่นอน เพราะเป็นสูตรที่ผ่านการคิดค้นจากเชฟเพื่อเชฟ โดยมีผลิตภัณฑ์ Knorr Professional เป็นเครื่องมือหลักในการเปลี่ยนให้ทุกจาน เป็นไปได้ไม่รู้จบ” กุลนิภากล่าวทิ้งท้าย 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X