×

ไขข้อข้องใจ กรรมาธิการสภาฯ เรียกชี้แจงต้องไปไหม

30.10.2019
  • LOADING...
ประยุทธ์ ถวายสัตย์

กลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองเวลานี้ หลัง พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (กมธ. ป.ป.ช.) สภาผู้แทนราษฎรได้แถลงว่า ที่ประชุมได้มีมติให้เชิญ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มาชี้แจง 3 เรื่อง ตั้งแต่ พ.ร.บ. งบฯ การถวายสัตย์ปฏิญาณ และ พ.ร.ก. โอนอัตรากำลังพลฯ

 

ทำให้มีคำถามว่า กมธ. อาศัยอำนาจใด และ จำเป็นหรือไม่ที่บุคคลผู้ถูกเชิญต้องมาชี้แจง หากไม่มาจะมีผลเช่นใด และนี่คือเหตุผลทางกฎหมาย

 

ประยุทธ์ ถวายสัตย์

 

1. ฝ่ายนิติบัญญัติตั้งฝ่ายบริหาร และมีอำนาจตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาล

 

สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของรัฐสภา ที่เรียกกันในทางวิชาการว่า ฝ่ายนิติบัญญัติ นอกจากมีหน้าที่สำคัญในการออกกฎหมายแล้ว ยังมีหน้าที่ในการตั้งฝ่ายบริหาร และตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) ด้วย ซึ่งเป็นหน้าที่อันสำคัญยิ่งในสามเสาหลักอำนาจอธิปไตยในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

 

2. คณะกรรมาธิการคือกลไกสำคัญในการตรวจสอบรัฐบาลในแต่ละด้าน

 

สภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบัน มีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้น 35 คณะ เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงาน รวมถึงรับเรื่องราวร้องทุกข์ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาให้ประชาชน โดยส่วนใหญ่แล้ว กมธ. แต่ละชุดมักเกิดขึ้นตามภารกิจของฝ่ายบริหาร หรือรัฐบาล อาทิ กมธ. ต่างประเทศ กมธ. การเกษตรฯ กมธ. สาธารณสุข เป็นต้น

 

3. ‘พ.ร.บ. คำสั่งเรียกฯ’ อาวุธสำคัญเพื่อการทำงานของ กมธ. สภาฯ

 

เมื่อมี กมธ. แล้ว ย่อมมีการตรวจสอบ และจำเป็นต้องมีการรวบรวมข้อมูลอย่างรอบด้านจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ‘พ.ร.บ. คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554’ คือกฎหมายที่เกิดขึ้นเพื่อให้อำนาจต่อ กมธ. ในการเรียกบุคคล เอกสาร หน่วยงานมาให้ความร่วมมือ เพื่อให้การตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของ กมธ. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยกำหนดขั้นตอนการเรียก การที่ต้องมาแถลงข้อเท็จจริง รวมถึงโทษจากการฝ่าฝืนกฎหมายไว้ด้วย

 

4. ‘ไม่มาตามคำสั่งเรียกมีโทษ ทั้งอาญาและวินัย’

 

พ.ร.บ. คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554 ติดดาบให้ กมธ. ออกคำสั่งเรียกตามมติที่ประชุม รวมถึงผู้ที่ถูกเชิญมาแถลงข้อเท็จจริงต้องมาด้วยตนเอง หากมาไม่ได้ต้องมีเหตุอันสมควร และ กมธ. เห็นชอบด้วย

 

หากไม่มาจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือนและปรับอีกไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงอาจมีโทษทางวินัยด้วย

 

เพราะการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในการตรวจสอบรัฐบาล ย่อมหมายถึงการปกป้องดูแล พิทักษ์สิทธิประโยชน์ของประชาชน ซึ่งทุกฝ่ายล้วนดำเนินการภายใต้งบประมาณที่มาจากภาษีของประชาชน

 

5. รัฐธรรมนูญ 2560 ให้อำนาจ กมธ. ในการเรียกบุคคลใดๆ มาให้ข้อเท็จจริง ยกเว้น ผู้พิพากษา ตุลาการ และองค์กรอิสระ 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X