×

ทำไม ฟินแลนด์ ครองแชมป์ ประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก หลายปีซ้อน

18.07.2024
  • LOADING...

รายการ GLOBAL FOCUS สัมภาษณ์ วิลเล ตาวิโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศและการพัฒนา สาธารณรัฐฟินแลนด์ ในโอกาสที่เดินทางเยือนประเทศไทย โดยเขาเคยเป็นอดีตนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่ประเทศไทยในช่วงปี 2010 ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมืองและนั่งเก้าอี้ในคณะรัฐมนตรีฟินแลนด์ได้สำเร็จ

 

เราสรุปมุมมองสำคัญของตาวิโอในแง่มุมนิยามความสุขแบบฟินแลนด์, ปัจจัยที่ทำให้คนฟินแลนด์มีความสุข, รัฐสวัสดิการ, ปรัชญาการใช้ชีวิต Sisu, ผลพวงจากภาวะโลกร้อนและสงครามความขัดแย้ง, กลุ่มประเทศนอร์ดิก และความคล้ายคลึงระหว่างไทยกับฟินแลนด์ จากบทสัมภาษณ์ที่ดำเนินรายการโดย วีณารัตน์ เลาหภคกุล

 

  • แต่ละคนนิยามความสุขแตกต่างกันไป แต่จุดร่วมคือคุณไม่ได้รู้สึกเป็นทุกข์ 

 

  • ‘ความสุขของประชาชน’ เป็นผลพวงจากสังคม สังคมจะต้องเสรี ผู้คนต้องรู้สึกอิสระ จึงจะสามารถพัฒนาทางเลือกในการดำเนินชีวิตและพัฒนาตัวเองได้ ซึ่งมาจากความไว้วางใจต่อสถาบันของชาติ, การคอร์รัปชันในระดับต่ำ, ความเชื่อมั่นต่อนโยบาย และความเท่าเทียมกันในสังคม

 

  • สิ่งสำคัญที่สุดในแง่ของนโยบายที่ทำให้คนฟินแลนด์มีความสุขคือ ‘การสร้างสมดุลระหว่างเวลาทำงานและเวลาว่าง’ โดยเวลาว่างเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสุข และพนักงานจะต้องได้รับการปฏิบัติด้วยความซื่อตรง

 

  • ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีมีต้นทุนที่ต้องจ่ายสูงมาก ฟินแลนด์จึงจำเป็นต้องเก็บภาษีในสัดส่วนที่สูง ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างหลักประกันว่าจะไม่เก็บภาษีมากเกินไป แต่ก็ต้องมากพอที่จะใช้เป็นทุนหมุนเวียนแก่กลไก ‘รัฐสวัสดิการ’ อย่างประกันสังคม

 

  • สังคมฟินแลนด์ปลอดภัยและเข้มแข็ง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายต่างๆ ของภาครัฐ ขณะที่อีกส่วนหนึ่งมาจากธรรมชาติของชาวฟินแลนด์เอง ซึ่งเคยอยู่อย่างสมถะและต้องดูแลตัวเอง ครอบครัว และเพื่อนบ้าน จนเกิดเป็นเครือข่ายของความไว้เนื้อเชื่อใจ

 

  • ประชาชนผู้จ่ายภาษีจะมีความสุขหรือพึงพอใจ ตราบใดที่พวกเขารู้สึกว่าพวกเขาได้รับบริการที่ดีจากภาษีที่เสียไป

 

  • ฟินแลนด์ไม่ค่อยมีการทุจริต ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ นักการเมือง และทุกๆ คนต่างได้รับค่าตอบแทนในจำนวนที่เหมาะสม นอกจากนี้ทุกคนยังเชื่อมั่นในสถาบันและองค์กรต่างๆ ของรัฐ เช่น กรมตำรวจฟินแลนด์ ผลสำรวจล่าสุดชี้ว่าประชาชนกว่า 90% เชื่อมั่นในตำรวจ

 

  • การศึกษาของฟินแลนด์มีมาตรฐานสูงและฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้คนมีอิสระในการเลือกทางเดินชีวิตของตัวเอง คุณสามารถเป็นอะไรก็ได้จากทุกระดับสังคม

 

  • ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนอาจทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศและเทคโนโลยีสะอาดเพิ่มสูงขึ้น แต่ตาวิโอเชื่อว่าประเด็นนี้อาจไม่ได้ส่งผลกระทบต่อระดับความสุขของผู้คนในสังคมมากนัก

 

  • การที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่องต้องมีการวิจัย พัฒนา และการสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ

 

  • ‘Sisu’ เป็นปรัชญาการใช้ชีวิตที่ได้รับความนิยมอย่างมากในฟินแลนด์ เป็นแนวคิดที่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม ‘อย่ายอมแพ้’ จงเดินหน้าต่อไป ในอดีตฟินแลนด์เคยเป็นสังคมชนบทที่มีรายได้น้อย ทุกคนต้องทำงานหนักมาก แต่พวกเขาก็สำเร็จและก้าวผ่านมาได้ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะแนวคิดนี้

 

  • ในสายตาฟินแลนด์ ประเทศไทยมีหลายภาคอุตสาหกรรมที่ยอดเยี่ยม โดยเฉพาะการเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ จึงอยากกระชับความร่วมมือกับไทยในด้านแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า แร่ธาตุ และการรีไซเคิล โดยพยายามผสานองค์ความรู้ของทั้งสองประเทศเข้าด้วยกัน 

 

  • แต่ละประเทศมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง การเฝ้าสังเกตประเทศต่างๆ แล้วนำมาปรับใช้และพัฒนาตัวเองเป็นเรื่องที่ดี

 

  • ในช่วงศึกสงคราม โดยเฉพาะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ฟินแลนด์เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางกองทัพอย่างต่อเนื่อง จนงบประมาณที่ใช้ในกองทัพคิดเป็น 2% ของ GDP เพราะฟินแลนด์เชื่อว่าส่วนหนึ่งที่จะทำให้ชาติมีความสุขคือ ‘ประชาชนต้องรู้สึกปลอดภัย’

 

  • กลุ่มประเทศนอร์ดิกมีโครงสร้างทางสังคมที่คล้ายคลึงกัน มีแนวคิดและมุมมองเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ใช้กฎหมายหลายฉบับเหมือนกันและทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด จึงทำให้กลุ่มประเทศนอร์ดิกมักติดอันดับท็อปจากการจัดอันดับในประเด็นเชิงบวกอยู่บ่อยครั้ง

 

  • ตาวิโอมองว่าไทยและฟินแลนด์มีหลายอย่างที่คล้ายกันและเข้ากันได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการที่คนไทยเป็นคนอารมณ์ขัน ขณะที่ฟินแลนด์ก็ออกแนวตลกหน้าตาย ถ้ามองในระดับสังคม ผู้คนมีเสรีภาพและค่อนข้างมีอิสระคล้ายๆ กัน

 

สามารถชมคลิปเต็มของรายการได้ที่นี่: https://youtu.be/oGdJR_3Yq1M?si=9KQdIpGMa1kIBidT

 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X