×

ซีอีโอแบรนด์ไก่ทอดดังเตือน! นิสัยเปลี่ยนงานบ่อยอาจเป็นตัวฉุดอนาคตการทำงาน แม้โลกยุคใหม่มองว่าปกติ

09.11.2024
  • LOADING...
การทำงาน

Todd Graves ซีอีโอวัย 52 ปี ผู้ก่อตั้ง Raising Cane’s Chicken Fingers แฟรนไชส์ร้านไก่ทอดชื่อดังที่มีสาขากว่า 800 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลาง เผยว่าสิ่งที่เขาไม่ชอบที่สุดเวลาดูเรซูเมของผู้สมัครงาน คือการที่พวกเขาเปลี่ยนงานบ่อยๆ ทุก 2-3 ปี

 

แม้ว่าในปัจจุบันการ Job Hopping จะกลายเป็นเรื่องปกติในตลาดแรงงานที่ตึงตัวก็ตาม แต่ Graves กลับมองว่านี่คือปัญหาใหญ่ “ผมตั้งคำถามกับเรื่องนี้ เพราะมันเหมือนกับว่าคุณทำงานเพื่อตัวเองอย่างเดียวหรือเปล่า” เขากล่าวกับ CNBC Make It พร้อมชี้ว่าการที่ผู้สมัครงานเปลี่ยนงานบ่อยนั้นสะท้อนให้เห็นว่า พวกเขาอาจจะเป็นคนที่หมกมุ่นกับตำแหน่งมากเกินไป

 

อีกทั้งผู้สมัครเหล่านี้มักจะพูดในสิ่งที่คิดว่าฝ่าย HR อยากได้ยินมากกว่าจะให้คำตอบที่จริงใจ ซึ่งสามารถจับได้จากความไม่สอดคล้องกันของคำตอบในการสัมภาษณ์หลายๆ ครั้ง “เมื่อพวกเขาให้ความสำคัญกับตำแหน่งและการควบคุมมากกว่าการทำงานเป็นทีม นั่นคือสัญญาณอันตรายสำหรับผม” Graves กล่าว

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

โดยเขามักจะพยายามประเมินความหลงใหลในแบรนด์ของผู้สมัครแต่ละคน และจะจ้างเฉพาะคนที่มีแรงจูงใจภายในที่จะทำงานกับ Raising Cane’s เท่านั้น เพราะเขาพบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมากระหว่างความสำเร็จของพนักงานกับการที่พวกเขาใส่ใจในเพื่อนร่วมงาน ทีม และองค์กรโดยรวม มากกว่าจะมุ่งเน้นแต่ความก้าวหน้าในอาชีพของตัวเองเพียงอย่างเดียว

 

แม้ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีพหลายคนจะมองว่า การที่องค์กรมองว่าการเปลี่ยนงานบ่อยในแง่ลบนั้นเป็นความคิดที่ล้าสมัย แต่จากผลสำรวจล่าสุดของ LinkedIn ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา พบว่ากว่า 1 ใน 3 ของผู้จัดการฝ่ายบุคคลยังลังเลที่จะรับผู้สมัครที่มีประวัติการทำงานระยะสั้นหลายที่

 

Drew McCaskill ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีพของ LinkedIn เผยว่า ผู้จัดการฝ่ายบุคคลส่วนใหญ่มักจะคิดว่า “ถ้าคุณทำงานที่นั่นแค่ 9 เดือน คุณอาจจะทำงานที่นี่แค่ 9 เดือนเช่นกัน” สำหรับผู้ที่มีประวัติเปลี่ยนงานบ่อย McCaskill แนะนำว่าไม่ควรพูดถึงงานปัจจุบันหรืองานเก่าๆ เว้นแต่ผู้สัมภาษณ์จะถามถึงโดยตรง

 

โดยควรใช้พื้นที่ส่วนสรุปในเรซูเม หรือส่วน About บน LinkedIn ในการอธิบายประสบการณ์การทำงานแทน และหากถูกถามถึงการเปลี่ยนงานบ่อย ให้เตรียมคำอธิบายที่กระชับ เน้นถึงอนาคตและคุณค่าที่จะเพิ่มให้กับงานใหม่ พูดถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา

 

และที่สำคัญ ‘อย่าขอโทษสำหรับการตัดสินใจในอดีต’ เพราะจะยิ่งทำให้ผู้จัดการฝ่ายบุคคลคิดว่าคุณทำอะไรผิดพลาด

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising