×

น้ำมันแพงสะเทือนสกุลเงินเอเชีย! Jamie McGeever คอลัมนิสต์ตลาดการเงิน ออกโรงเตือนพายุลูกใหญ่กำลังก่อตัว

19.09.2023
  • LOADING...
น้ำมันแพง

Jamie McGeever คอลัมนิสต์ตลาดการเงิน แสดงความเห็นต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ขยับปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นสถานการณ์ก่อนที่พายุลูกใหญ่จะก่อตัวขึ้น 

 

โดยท่ามกลางการชะลอการลงทุนของนักลงทุนในตลาด เพื่อรอดูท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Fed) ที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในกลางสัปดาห์นี้ โดยค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวลดลง 0.2% ในการเปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ (18 กันยายน) ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ขยับไม่เกิน 0.3% และดัชนีหลัก 3 ตัวในตลาดวอลล์สตรีท คือ Dow Jones, S&P 500 และ Nasdaq ปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ปรับตัวไม่เกินจากการปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (15 กันยายน) 0.07% 

 

ท่ามกลางการปรับตัวเคลื่อนไหวในวงแคบ ราคาน้ำมันดูจะเป็นข้อยกเว้นเดียวที่มีการขยับตัวพุ่งขึ้นจนแตะระดับสูงสุดระลอกใหม่ ซึ่งขณะนี้ราคาน้ำมันขยับขึ้นไปอยู่ที่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล น้ำมันดิบเบรนท์เพิ่มขึ้น 30% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้น 10% จาก 12 สัปดาห์ที่ผ่านมา

 

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ตามทฤษฎีแล้วราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่เรื่องเลวร้ายสำหรับผู้ผลิตน้ำมันและพลังงานในเอเชียอย่างอินโดนีเซีย แต่ก็อาจสร้างความปวดหัวให้กับฟากผู้บริโภค ธุรกิจ และผู้กำหนดนโยบายในประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่นำเข้าพลังงานเกือบทั้งหมด โดยจนถึงขณะนี้สกุลเงินของประเทศผู้นำเข้าและส่งออกพลังงานกำลังรู้สึกถึงความร้อนแรงในตลาดพลังงานที่เกิดขึ้น 

 

ทั้งนี้ มีรายงานว่าเหล่าเทรดเดอร์สกุลเงินเยนดูเหมือนจะมองข้ามความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายแบบเหยี่ยวของธนาคารกลางญี่ปุ่นในปลายสัปดาห์นี้โดยสิ้นเชิง ทำให้เงินเยนแตะระดับต่ำสุดใหม่ในรอบปี ในขณะที่เงินวอนของเกาหลีใต้อ่อนค่าลง 5% นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม

 

ด้านเงินรูปีของอินเดียขยับอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ส่วนเงินหยวนของจีนก็อยู่ในสภาพไม่ต่างกัน คืออ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบ 16 ปี และรูเปียห์ของอินโดนีเซียร่วงลงประมาณ 5% นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมมาสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน

 

แน่นอนว่ายังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีบทบาทไม่น้อยไปกว่าการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐในวงกว้างที่ฉุดให้ค่าเงินเอเชียอ่อนค่าลง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวรวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวได้อย่างน่าประหลาดใจ และความได้เปรียบด้านผลตอบแทนพันธบัตรที่เหนือกว่าคู่แข่งหลักในตลาด

 

โดยรวมสกุลเงินเอเชียโดยทั่วไปมีผลการดำเนินงานที่ค่อนข้างย่ำแย่ในปีนี้ และราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นถือเป็นอีกชั้นหนึ่งของความอ่อนแอที่หลายฝ่ายมองว่าอาจส่งผลต่อการตัดสินใจและแนวโน้มนโยบายของธนาคารกลางในเอเชีย โดยมีธนาคารกลางในไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่จะมีการประชุมในวันพฤหัสบดี (21 กันยายน) และธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันศุกร์ (22 กันยายน) 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X