กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า หนี้โดยรวมทั่วไปของรัฐบาลไทย (General Government Gross Debt) ในปี 2022 จะอยู่ที่ 61.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด ซึ่งอยู่ที่ 41.1% ของ GDP ในปี 2019 และคาดว่าจะอยู่ใกล้กับระดับ 60% ไปจนถึงปี 2027 หมายความว่า ภายใน 5 ปีข้างหน้า หนี้สาธารณะของไทยจะไม่กลับไปสู่ระดับก่อนโควิด
ขณะที่รายได้ของรัฐบาลไทยในปีนี้ IMF คาดว่าจะอยู่ที่ 20% ของ GDP ซึ่ง ‘ต่ำกว่า’ รายได้ของรัฐบาลกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่และเศรษฐกิจรายได้ปานกลาง ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 25.1% ของ GDP
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ความท้าทาย ‘ เศรษฐกิจไทย ปี 2566 ’ กับการปรับตัวของภาคธุรกิจ
- ฉวยจังหวะค่าเงินอ่อน ส่องโอกาสลงทุนหุ้นโลก สร้างพอร์ตเติบโตระยะยาว
- ‘ส่วนต่างรายได้’ กับนโยบายรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ
สำหรับการขาดดุลงบประมาณของไทยในปี 2022 คาดว่าจะอยู่ที่ 5.6% ของ GDP ก่อนจะขาดดุลลดลงเหลือ 3.2% ของ GDP ในปี 2023 ถือว่าน้อยลงเมื่อเทียบกับปี 2021 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการระบาดใหญ่ โดยเฉพาะการระบาดของสายพันธุ์เดลตา ที่ขาดดุลถึง 7% ของ GDP
อย่างไรก็ตาม ในระยะปานกลาง (ระหว่างปี 2024-2027) การขาดดุลของประเทศไทยน่าจะอยู่ที่ 3.2-3.5% ของ GDP ซึ่งสูงกว่าช่วงก่อนการระบาด (ปี 2013-2018) ซึ่งดุลงบประมาณอยู่ระหว่างขาดดุล 0.8% ถึงเกินดุล 0.5%
ภาพประกอบ: ฉัตรชัย เฉยชิต
อ้างอิง: