×

‘IMF’ แนะนานาประเทศหาวิธีรับมือดอลลาร์แข็งค่า พร้อมเตือนให้สงวนทุนสำรองฯ ไว้ เผื่อสถานการณ์เลวร้ายลง

15.10.2022
  • LOADING...
ดอลลาร์แข็งค่า

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แนะนำว่า เพื่อรับมือกับการอ่อนค่าของสกุลเงินท้องถิ่น ประเทศต่างๆ ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยที่ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหว และสัญญาณของการหยุดชะงักของตลาด นอกจากนี้ ยังควรสงวนเงินสำรองระหว่างประเทศไว้ รับมือกับสถานการณ์ที่อาจรุนแรงขึ้นในอนาคต

 

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า แต่ละประเทศควรหันมาให้ความสำคัญกับการปรับนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอย่างสมเหตุสมผล มากกว่าการแทรกแซงตลาดค่าเงิน นอกจากนี้ การแทรกแซงควรมีบทบาท เฉพาะเมื่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินกระทบเสถียรภาพทางการเงิน หรือขัดขวางความสามารถของธนาคารกลางในการรักษาเสถียรภาพด้านราคา


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


“เนื่องจากปัจจัยที่ทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นช่วงนี้มาจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น การขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) การตอบสนองที่เหมาะสมคือ การยอมให้อัตราแลกเปลี่ยนปรับตัวได้ (Adjust) ขณะที่ใช้นโยบายการเงินเพื่อทำให้อัตราเงินเฟ้อใกล้เคียงกับระดับเป้าหมาย โดยราคาสินค้านำเข้าที่สูงขึ้นจะช่วยทำให้เกิดการปรับตัวที่จำเป็นต่อปัจจัยพื้นฐาน และจะช่วยลดการสะสมของหนี้ต่างประเทศ ดังนั้น รัฐบาลจึงควรใช้นโยบายการคลังเพื่อสนับสนุนกลุ่มที่เปราะบางที่สุดร่วมด้วย โดยไม่ให้กระทบต่อเป้าหมายเงินเฟ้อ” IMF ระบุ

 

คำเตือนดังกล่าวมีขึ้นหลังจากหลายประเทศกำลังเข้าแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ทำให้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศทั้งหมดของประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ลดลงไปแล้วมากกว่า 6% ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้

 

IMF ระบุอีกว่า ประเทศต่างๆ จะต้องสงวนเงินสำรองระหว่างประเทศไว้เพื่อรับมือกับการไหลออกและความวุ่นวายที่อาจเลวร้ายลงในอนาคต ขณะที่ประเทศที่มีหนี้สกุลเงินต่างประเทศจำนวนมากควรจัดการกับกระแสเงินทุน หรือนโยบายระดับมหภาค นอกเหนือจากการบริหารจัดการหนี้ เพื่อทำให้การชำระหนี้ราบรื่น

 

ปัจจุบันดอลลาร์สหรัฐยังคงแข็งค่ามากที่สุดในรอบหลายสิบปี โดยตั้งแต่ต้นปี ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 22% แล้วเมื่อเทียบกับเยน, 13% เมื่อเทียบกับยูโร และ 6% เมื่อเทียบกับสกุลเงินในประเทศตลาดเกิดใหม่

 

การแข็งค่าอย่างรวดเร็วของดอลลาร์สหรัฐภายในเวลาไม่กี่เดือน ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคในเกือบทุกประเทศอย่างมาก เนื่องจากดอลลาร์ยังคงมีอำนาจอย่างมากต่อทั้งการค้าและการเงินระหว่างประเทศ

 

โดยสำหรับหลายประเทศที่กำลังลดอัตราเงินเฟ้อ การแข็งค่าของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินในประเทศทำให้การลดเงินเฟ้อ ‘ยากขึ้น’ เนื่องจากโดยเฉลี่ยแล้ว การแข็งค่าของดอลลาร์ทุก 10% จะส่งผลต่อเงินเฟ้อ 1% แรงกดดันดังกล่าวยังรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศตลาดเกิดใหม่ ซึ่งพึ่งพาการนำเข้าที่สูงขึ้น

 

นอกจากนี้ ประมาณครึ่งหนึ่งของเงินกู้และตราสารหนี้ระหว่างประเทศทั้งหมดยังอยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐ ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกที่สูงขึ้น ดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นอาจจะทำให้เกิดแรงกดดันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับตลาดเกิดใหม่บางแห่ง และประเทศที่มีรายได้ต่ำจำนวนมาก

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X