×

‘IMF’ ชี้แบงก์ชาติญี่ปุ่นยืนนโยบายการเงินผ่อนคลายเพื่อยุติยุคเงินฝืด ‘ถูกทางแล้ว’ แม้เยนอ่อนยวบ

16.10.2022
  • LOADING...
IMF

เจ้าหน้าที่จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ควรดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป เพื่อทำให้แน่ใจว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ได้อย่างยั่งยืน แต่เตือนว่าการแทรกแซงค่าเงินของรัฐบาลญี่ปุ่นไม่น่าจะช่วยพยุงเงินเยนได้อย่างยั่งยืน

 

Sanjaya Panth รองผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ให้สัมภาษณ์กับ Nikkei ว่าอัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นกำลังเพิ่มขึ้น แต่จะเป็นการเพิ่มขึ้นจากปัจจัยชั่วคราวเท่านั้น เช่น การเพิ่มจากฝั่งราคาพลังงาน ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการตรวจสอบให้แน่ใจว่าค่าแรงเพิ่มขึ้นมากแค่ไหน และส่งต่อไปยังเงินเฟ้อเท่าไร เพื่อให้เงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมั่นคง ด้วยเหตุนี้ BOJ จึงควรผ่อนคลายนโยบายทางการเงินต่อไป และ IMF สนับสนุนจุดยืนในปัจจุบัน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


ในด้านนโยบายการคลัง เจ้าหน้าที่ IMF กล่าวว่า ญี่ปุ่นมีโอกาสเพิ่มการใช้จ่ายในระยะสั้น รวมทั้งสนับสนุนมาตรการแบบกำหนดเป้าหมาย (Targeted Support Measures) สำหรับผู้ที่เปราะบางจากปัจจัยต่างๆ เช่น ราคาพลังงานที่สูง 

 

อย่างไรก็ตาม ในระยะกลาง มาตรการรัดเข็มขัดทางการคลัง (Fiscal Consolidation) เป็นสิ่งสำคัญมาก โดย IMF กำลังจับตามองนโยบาย ‘New Capitalism’ ซึ่งมุ่งยกระดับทุนมนุษย์และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ อย่างใจจดใจจ่อว่าญี่ปุ่นจะบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ในแง่ที่เป็นรูปธรรมได้อย่างไร

 

นอกจากนี้ Panth ยังมองว่าการอ่อนค่าของเงินเยนเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ (Natural Phenomenon) จากความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น แต่การแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของญี่ปุ่นไม่น่าจะเป็นมาตรการที่ยั่งยืน

 

“เงินเยนเป็นหนึ่งในตลาดที่มีสภาพคล่องมากที่สุดของโลก ดังนั้นการแทรกแซงที่ผ่านมาจึงถือว่าค่อนข้างเล็ก และจะไม่ส่งผลกระทบระยะยาวต่อเยนมากนัก โดยการแทรกแซงที่จะเห็นผลเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อตลาดการเงินเกิดความผิดปกติ หรือมีปัญหาในการรักษาเสถียรภาพของการคาดการณ์เงินเฟ้อ” Panth กล่าว

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising