×

นักวิจัยระบุ น้ำแข็งละลายส่งผลให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลติดเชื้อไวรัสร้ายแรงมากขึ้น

11.11.2019
  • LOADING...

งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร Scientific Reports พบว่า ปริมาณน้ำแข็งทะเลที่ลดลงในอาร์กติกช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ไวรัสร้ายแรงแพร่ระบาดไปยังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล

 

โดยทีมนักวิจัยติดตามแมวน้ำ สิงโตทะเล และนาก ราว 2,530 ตัว ผ่านดาวเทียมตลอดระยะเวลา 15 ปี ตั้งแต่ปี 2001-2016 พบว่า การละลายของน้ำแข็งในอาร์กติกทำให้เกิดเส้นทางใหม่ระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและมหาสมุทรแปซิฟิก 

 

ทั้งเรือและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหล่านี้จึงอาศัยประโยชน์จากเส้นทางดังกล่าว เพื่อลดเวลาในการเดินทางระหว่างมหาสมุทร ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายไวรัส Phocine distemper virus (PDV) ระหว่างสัตว์ที่ไม่มีโอกาสพบกันมาก่อนมากขึ้น

  

ทั้งนี้ ไวรัส PDV เป็นหัดประเภทหนึ่งในแมวน้ำ คล้ายกับไข้หัดสุนัข แพร่กระจายผ่านของเหลวจากระบบหายใจของสัตว์ที่สัมผัสกันผ่านบนบกหรือในมหาสมุทร

 

ไวรัสชนิดนี้เป็นสาเหตุการตายของแมวน้ำในแอตแลนติกกว่า 30,000 ตัว ในปี 2002 ถัดมาในปี 2003 พบว่า มีสิงโตทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกติดเชื้อ PDV กว่า 30% และ PDV ยังเป็นสาเหตุการตายของนากทะเลในอะแลสกาในปี 2004 ด้วย หลังจากนั้นก็เกิดการแพร่ระบาดครั้งใหญ่อีก หลังเกิดเส้นทางทะเลใหม่ในปี 2008

 

เทรซี โกลสตีน หนึ่งในทีมนักวิจัย กล่าวว่า เมื่อน้ำแข็งละลาย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลเหล่านี้จำเป็นต้องหาที่อยู่อาศัยใหม่ และเมื่อสัตว์เคลื่อนย้ายไปสัมผัสสัตว์ชนิดอื่น พวกมันก็มีโอกาสที่จะแพร่โรคติดเชื้อใหม่ๆ ที่มีผลกระทบร้ายแรงมากขึ้น

 

นอกจากนี้ทีมนักวิจัยยังกล่าวอีกว่า เมื่อปริมาณน้ำแข็งลดลงอีกในอนาคต การแพร่ระบาดของเชื้อโรคก็จะกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้นด้วย

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising