×

ไฮเปอร์สเกลดาต้าเซ็นเตอร์ บรรทัดฐานใหม่ของโลกไอที

10.09.2021
  • LOADING...
Hyperscale Data Center

ดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกล หรือศูนย์ข้อมูลที่อาศัยพลังการประมวลผลอย่างมหาศาล กำลังจะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ในโลกไอที ด้วยจำนวนดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่เหล่านี้เพิ่มขึ้น 3 เท่าตั้งแต่ปี 2556 จำนวนเงินลงทุนในการออกแบบและสร้างไฮเปอร์สเกลดาต้าเซ็นเตอร์พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งแตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั่วโลก การระบาดใหญ่ของโควิดนั้นส่งสัญญาณบวกต่อผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกล เนื่องจากความต้องการบริการคลาวด์และดิจิทัลพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีความต้องการดาต้าเซ็นเตอร์ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ การลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากหลายๆ ภาคส่วน และการริเริ่มของรัฐบาลที่มีต่อเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเติบโตของตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ระดับไฮเปอร์สเกล

 

ในช่วงปี 2564-2569 มีการคาดการณ์ว่าตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกลทั่วโลกจะเติบโตที่เฉลี่ย (CAGR) ปีละ 4.02% ในขณะที่ตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคาดว่าจะเติบโตที่ CAGR 4.65% โดยมีการลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกลในจีนและฮ่องกง ประมาณ 21 แห่ง รองลงมาคือ อินเดีย ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย

 

สำหรับตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทย คาดว่าจะมีการลงทุนประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2569 เติบโตที่ CAGR 8% โดยมีสัดส่วนเป็นตลาดโคโลเคชันค้าปลีกกว่า 90% และโคโลเคชันขายส่ง 10% โดยปัจจัยหลักของการเติบโตมาจากตลาดคลาวด์คอมพิวติ้งของไทย ที่คาดว่าจะสูงถึง 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2569 สร้างงานได้ประมาณ 30,000 ตำแหน่งในอีก 5 ปีข้างหน้า ตลาดบิ๊กดาต้าในประเทศคาดว่าจะเติบโต 15% ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า 

 

การเริ่มนำเทคโนโลยี 5G มาใช้มากขึ้น ซึ่งปูทางไปสู่การนำโซลูชัน IoT เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค เช่น การผลิต โลจิสติกส์ และการขนส่งมาใช้ในประเทศอีกด้วย ตลอดจนนโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัลจากภาครัฐ เช่น นโยบายไทยแลนด์ 4.0 สำหรับการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ หรือการส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัล 4.0 โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม New S-Curve รวมถึงมาตรการสิทธิพิเศษทางภาษี 8 ปี และอัตราค่าไฟฟ้าพิเศษ สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ที่สร้างขึ้นในพื้นที่อย่างน้อย 21,500 ตารางฟุต ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดดาต้าเซ็นเตอร์ในระดับไฮเปอร์สเกลขึ้นในประเทศไทย อาทิ การลงทุนพัฒนาไฮเปอร์สเกลดาต้าเซ็นเตอร์ ของเอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) ซึ่งเปิดตัว STT Bangkok 1 ซึ่งเป็นดาต้าเซ็นเตอร์เฟสแรกในไตรมาส 3/64 ในทำเลหัวหมาก บนเนื้อที่กว่า 30,000 ตารางเมตร และมีพื้นที่รองรับไอทีกว่า 80,000 ตารางฟุต

 

กรุงเทพฯ นับเป็นหนึ่งในทำเลยุทธศาสตร์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ เนื่องจากมีสิ่งอำนวยความสะดวกจำนวนมาก และมีการใช้งานด้านไอทีกระจุกตัวจำนวนมหาศาล จึงมีดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดเล็กและขนาดกลางที่รองรับการใช้งานไอที ประมาณแห่งละ 4-6 เมกะวัตต์ กระจายตัว 20 กว่าแห่ง โดยมีทำเลหลักกระจายไปตามตึกออฟฟิศในหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ และในพื้นที่อื่นๆ เช่น นิคมอุตสาหกรรมอีกประมาณ 9 แห่ง เพื่อการรองรับการใช้งานของตลาดคลาวด์คอมพิวติ้ง IoT และ AI ในธุรกิจยุค New Normal ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

ปัจจุบันตลาดการให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทยมีอัตราการเติบโตสูงถึง 23.5% ต่อปี โดยปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตนี้มาจากผู้ให้บริการคลาวด์และผู้ผลิตสื่อและคอนเทนต์ที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งความต้องการด้านข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในภูมิภาค ผลักดันให้เกิดความต้องการในการจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลเป็นอันมาก จึงเป็นกลุ่มธุรกิจหลักที่มองหาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ปลอดภัยและไว้วางใจได้ 

 

ดังนั้น สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือ ประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อที่เป็นกลาง ที่เปิดกว้างในการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการทุกค่าย (Carrier-neutrality) และทำเลที่ตั้งที่อยู่ในทำเลที่ดี เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์จากการรับ-ส่งข้อมูลที่มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น (Low-latency)  

 

นอกจากนี้ ควรมองหาดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เช่น TIA-942 Rated-3, Uptime Institute Tier III, มาตรฐาน ISO 27001, มาตรฐาน Threat and Vulnerability Risk Assessment (TVRA), มาตรฐาน The Payment Card Industry Data Security Standard (PCI DSS) และ LEED Gold ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้ รวมกับความสามารถปรับขยายขนาดได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยสร้างความมั่นใจในการสร้างธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising