สังคมในปัจจุบันมีความหลากหลายมากขึ้น และความหลากหลายเหล่านั้นมีส่วนที่นำมาซึ่งความแตกแยก ผู้คนเริ่มแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจน และเริ่มมีการตีตรากันโดยไม่รู้ตัว ใครที่มีความเห็นอื่นต้องเป็นฝ่ายตรงข้าม คิดต่างคือผิด จนทำให้ผู้คนเริ่มไม่มีพื้นที่จะพูดคุยกันมากขึ้น
THE STANDARD ชวนพูดคุยกับ 3 หนังสือ 3 ประเภทบุคคล คือ คนสลัมคลองเตย คนไร้บ้าน และเด็กสถานพินิจ ที่อยู่ในกลุ่มบุคคลที่มักถูกตีตราจากอคติภายในใจ และตัดสินจากรูปลักษณ์ภายนอกก่อนที่จะได้รู้จักกัน จากกิจกรรมของ ‘อ่านมนุษย์’ ที่ก่อตั้งโดยธนาคารจิตอาสา และความสุขประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกคนได้กลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า สิ่งที่เรารู้เป็นความจริงหรือไม่ ลองให้โอกาสตัวเองที่อยู่ใน ‘พื้นที่ปลอดภัย’ หรือ Comfort Zone ออกมาสัมผัสความต่างของผู้คนที่ไม่เหมือนกัน เพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกับความต่างได้อย่างงดงามยิ่งขึ้น
หมายเหตุ: ได้รับอนุญาตให้เปิดเผยใบหน้าและเรื่องราวแล้ว
คลิกอ่าน: อ่านมนุษย์: เด็กสถานพินิจฯ คนไร้บ้าน ชาวสลัมคลองเตย ที่มักถูกตีตราจากภาพลักษณ์ก่อนรู้จักเสมอ