×

จัดพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลกอย่างไร เมื่อ ‘เงินเฟ้อ’ เริ่มมาแรง

01.06.2021
  • LOADING...
เข็มทิศ

การจัดพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ในช่วงที่มีโอกาสเกิดภาวะเงินเฟ้อ เราสามารถแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ประเด็น ประกอบด้วย

 

  1. เศรษฐกิจ
  2. ตลาดการเงิน
  3. กลยุทธ์การจัดพอร์ตการลงทุน

 

เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการเติบโตต่อเนื่อง แต่กำลังจะผ่านจุดการเติบโตสูงสุด ในขณะที่เศรษฐกิจยุโรปกำลังเร่งตัว และการมาของเงินเฟ้อทั่วโลกจากปัจจัยด้านอุปทานและฐานต่ำ

 

  • จากการฟื้นตัวต่อเนื่องและปัจจัยฐานต่ำ เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังจะผ่านเติบโตจุดสูงสุดในไตรมาส 2/2021 ซึ่งการฟื้นตัวต่อเนื่องสะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ โดยเฉพาะด้านตลาดแรงงานที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง (ล่าสุดตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานเป็นครั้งแรก (Initial Jobless Claim) ประจำสัปดาห์ที่ออกมาวันที่ 22 พฤษภาคม พบว่าอยู่ที่ระดับ 4.06 แสนคน ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่มีวิกฤตโควิด-19 ในสหรัฐฯ) ส่วนเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งแม้จะประสบภาวะ Technical Recession ในไตรมาส 1/2021 ที่ผ่านมา แต่กำลังมีการฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นลำดับหลังทยอยเปิดเมือง พร้อมด้วยความเสี่ยงเงินเฟ้อที่ต่ำกว่า ทำให้สามารถเก็บนโยบายการเงินผ่อนคลายไว้ได้นานกว่าเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ในขณะที่เศรษฐกิจจีนซึ่งฟื้นตัวได้ก่อนประเทศอื่นๆ จากความสามารถในการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ได้ก่อน เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลง ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลจีนที่มีความต้องการแตะเบรกการเติบโตของเศรษฐกิจผ่านการชะลอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ  
  • หลังกระตุ้นเศรษฐกิจไปอย่างมหาศาล การขึ้นภาษีกำลังจะเริ่มขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่น่าจะออกเป็นกฎหมายได้ในไตรมาส 3/2021 โดยการขึ้นภาษีบางประเภทที่ทางประธานาธิบดีไบเดนได้เริ่มมีการพูด เช่น ภาษีนิติบุคคล (จาก 21% เป็น 28%) ภาษีที่เก็บบน Capital Gain สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้สูงที่ลงทุนในหุ้นเกิน 1 ปี (จาก 23.8% เป็น 43.4%) และภาษี GILTI (Global Intangible Low Tax Income จาก 10.5% เป็น 21%) โดยจากการวิเคราะห์ของทีมงาน SCBS CIO พบว่า กลุ่มธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีเหล่านี้ค่อนข้างมากประกอบด้วย กลุ่ม Communication Service, Tech และ Healthcare  
  • เงินเฟ้อเร่งตัวในหลายประเทศมาจากปัจจัยด้านอุปทาน (ราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้นไล่ตั้งแต่ข้าวโพดไปจนถึงทองแดง) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกำไรของผู้ผลิตที่ไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้นไปให้ผู้บริโภคได้ โดยบริษัทที่อยู่ในประเทศที่ฟื้นตัวช้าน่าจะได้รับผลกระทบนี้ค่อนข้างมาก การขยับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรแบบค่อยเป็นค่อยไปและ Sector Rotation ยังคงดำเนินต่อไป   
  • แม้ Fed จะพยายามสื่อสารว่าจะไม่รีบปรับนโยบายการเงิน แต่ตัวเลขการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะตัวเลขตลาดแรงงานและอัตราเงินเฟ้อจะยังทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้น มีแนวโน้มสูงขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปในระยะข้างหน้า โดยเราคาดว่า Fed จะประกาศ QE Tapering ในช่วงไตรมาส 4/2021 เป็นอย่างเร็ว  
  • การฟื้นตัวมากกว่าคาด (Positive Surprises) ของเศรษฐกิจและกำไรในตลาดสหรัฐฯ เริ่มชะลอลง แต่ยังคงมีอยู่มากในตลาดพัฒนาแล้วอื่นๆ โดยเฉพาะยุโรป ซึ่งเริ่มมีความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ และทำให้การกลับมาของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและธุรกิจตามมาด้วยเช่นกัน ซึ่งน่าจะส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในยุโรปมีแนวโน้มที่มี Positive Surprises มากขึ้น  
  • Sector Rotation ยังคงดำเนินต่อไป เราชอบกลุ่ม Value and Cyclicals ซึ่งน่าจะเติบโตได้ตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและได้รับผลกระทบน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ จากปัจจัยการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรและการขึ้นภาษี อย่างไรก็ตาม ในจังหวะที่หุ้นในกลุ่ม High-Quality Tech Stocks ปรับตัวลงค่อนข้างมาก เรามองว่าเป็นจังหวะที่จะเข้าไปทยอยสะสมหุ้นในกลุ่มนี้ 

 

Global Asset Allocation Portfolio Strategy: SCBS CIO ปรับมุมมองหุ้นยุโรปเป็น Positive: หุ้นไทยเป็น Neutral โดยเราชอบหุ้นเวียดนามมากกว่า: REITS เป็น Slightly Positive: ในการจัดการความเสี่ยงเงินเฟ้อเราชอบน้ำมันมากกว่าทอง 

 

  • ด้วยดอกเบี้ยที่แม้แนวโน้มอยู่ในระดับต่ำมากต่อไปอีกนาน และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เร่งขึ้น เราชอบหุ้นมากกว่าเงินสดและพันธบัตร
  • เราปรับมุมมองหุ้นยุโรปเป็น Positive จากแนวโน้มฟื้นตัวมากกว่าคาดของกำไรบริษัทจดทะเบียน ความเสี่ยงเงินเฟ้อต่ำกว่าและการเก็บนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายได้นานกว่า และราคาหุ้นที่ยังไม่แพงเท่ากับในกรณีของสหรัฐฯ ปรับมุมมองตลาดหุ้นจีนเป็น Slightly Positive จากความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ภาครัฐที่ถูก Priced-In ไปแล้ว และ Valuation ที่น่าสนใจขึ้น 
  • คงมุมมอง Slightly Positive ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และญี่ปุ่น การปรับลดของตลาดถือเป็นจุดเข้าสะสมหุ้นกลุ่ม Value, Cyclicals และ High-Quality Tech Stocks 
  • ปรับมุมมองตลาดหุ้นไทยเป็น Neutral จาก Valuation ที่เริ่มตึงตัว ในตลาดหุ้น ASEAN เราชอบตลาดหุ้นเวียดนามจากการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจและกำไรบริษัทจดทะเบียน รวมถึง Valuation ที่ยังไม่แพงเมื่อเทียบกับในอดีตและตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาค 
  • เพื่อจัดการกับความเสี่ยงเงินเฟ้อ เราชอบน้ำมันซึ่งจะได้แรงหนุนจากการเปิดเมืองมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง มากกว่าทอง ซึ่งน่าจะถูกกระทบจากการขยับขึ้นต่อเนื่องของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรและเงินดอลลาร์สหรัฐที่กำลังฟื้นตัว รวมถึงระยะหลังทองคำเหมือนจะถูกใช้เป็น Safe Haven หรือหลุมหลบภัยในช่วงที่สินทรัพย์ประเภทคริปโตฯ มีราคาผันผวน ซึ่งนำมาสู่ความผันผวนที่สูงของราคาทองเช่นกัน: ปรับ REITs เป็น Slightly Positive จาก Valuation ที่ตึงตัวและการขยับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising