×

ส่องเทรนด์การตรวจสุขภาพที่บ้าน และไปรู้จักกับ ‘Home Pulse บริการเจาะเลือดที่บ้าน’ คืออะไร? ทำไมจำนวนผู้ใช้บริการถึงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
11.07.2024
  • LOADING...
Home Pulse

HIGHLIGHTS

  • ระบบ Home Healthcare หรือ Home Visit ในประเทศไทย มีมานานแล้วทั้งโรงพยาบาลในเมืองและโรงพยาบาลต่างจังหวัด แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมครบวงจรด้วยหลายปัจจัย
  • ‘Home Pulse’ บริการทางการแพทย์ที่บ้าน ซึ่งเป็นบริการจาก DKSH ปัจจุบันให้บริการตั้งแต่บริการเจาะเลือด การเก็บและนำส่งตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการตามคำสั่งของแพทย์ การให้คำปรึกษาทางการแพทย์แบบออนไลน์ และการพยาบาลที่บ้านตามความต้องการ โดยบริการทั้งหมดจะดำเนินการโดยบุคลากรทางการแพทย์และนักเทคนิคการแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมและได้รับการรับรอง
  • หนึ่งในบริการที่น่าสนใจและมีจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ‘บริการเจาะเลือดที่บ้าน’ โดยมีโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นพันธมิตรหลัก ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนและจองวันและเวลานัดหมายล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ได้ที่ https://bit.ly/3FIOymJ

ข้อมูลจากเว็บไซต์ MarketsandMarkets ที่สำรวจตลาด Home Healthcare พบว่า แนวโน้มการเติบโตของตลาดบริการทางการแพทย์ที่บ้าน หรือ Home Healthcare เพิ่มสูงขึ้น 8.9% นับตั้งแต่ปี 2023 และคาดว่าจะโตต่อเนื่องไปถึง 2028 

 

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ‘โควิด’ คือตัวเร่งที่ทำให้ Home Healthcare เติบโตแบบก้าวกระโดด ไม่เพียงสร้างความตื่นตัวเรื่องการดูแลสุขภาพ แต่ยังทำให้เห็นแนวทางการบริการด้านสุขภาพและการรักษาใหม่ๆ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการก็ดี หรือผู้ให้บริการก็ตามสะดวกยิ่งขึ้น และเข้าถึงการรักษาได้รวดเร็วขึ้น

 

 

นพ.ณรงค์ฤทธิ์ มัศยาอานนท์ รองคณบดีฝ่ายคุณภาพและศูนย์ความเป็นเลิศ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า นับผลที่ตามมาจากสถานการณ์โควิดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบบริการสุขภาพหลายด้าน ทั้งกลุ่มผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล หรือกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสุขภาพ รวมถึงพฤติกรรมของประชาชน ไปจนถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการ

 

ออกนโยบายด้านสุขภาพ

นพ.ณรงค์ฤทธิ์ มัศยาอานนท์ รองคณบดีฝ่ายคุณภาพและศูนย์ความเป็นเลิศ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

“โจทย์ของโรงพยาบาลในตอนนั้นคือจะทำอย่างไรที่จะให้บริการผู้ป่วยได้ โดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล เราเองมีการนำระบบ Telemedicine มาใช้ร่วมกับการพัฒนาแพลตฟอร์ม ‘Rama App’ เพื่อช่วยเสริมเรื่องการทำ Telemedicine ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถลงทะเบียนนัดหมาย จองคิว จ่ายเงิน และรับยา ได้ง่ายๆ ผ่านแอปเดียว

 

“ที่ชัดเจนคงเป็นเรื่องแนวโน้มของผู้สูงวัยที่เปิดใจใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และยังคงใช้ต่อเนื่องแม้สถานการณ์การระบาดจะเบาบางลง ขณะเดียวกันกองทุนต่างๆ และนโยบายภาครัฐก็ช่วยหนุนค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงบริการ Telemedicine ได้มากขึ้น”

 

‘Home Healthcare’ บริการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้านดีอย่างไร เหมาะกับใคร?

 

ระบบ Home Healthcare หรือ Home Visit ในประเทศไทยมีมานานแล้วทั้งโรงพยาบาลในเมืองและโรงพยาบาลต่างจังหวัด” 

 

นพ.ณรงค์ฤทธิ์ บอกว่า โดยเฉพาะต่างจังหวัด ทุกตำบลจะมีอย่างน้อย 1 สถานีอนามัยต่อประชากรเฉลี่ย 5,000 คน หรือบางจังหวัดจะมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และถ้าย่อยลงไประดับชุมชนจะมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่จะทำงานร่วมกับ รพ.สต. เข้าเยี่ยมและดูแลคนไข้ถึงบ้าน  

 

แต่คนเมืองจะมีเงื่อนไขและวิถีชีวิตที่ต่างไป ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว อาศัยคนเดียว หรือบ้านที่มีผู้สูงอายุ ลูกหลานต้องทำงานก็ไม่มีคนดูแล โรงพยาบาลหลายแห่งจะมีพยาบาลที่ติดตามดูแลคนไข้ต่อเนื่องที่บ้าน ในกลุ่มคนไข้โรคเรื้อรังหรือจำเป็นต้องดูแลต่อเนื่อง หรือในขอบข่ายของโรงพยาบาลรัฐ ก่อนจะวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย แพทย์ที่ดูแลจะปรึกษาหน่วยพยาบาลเยี่ยมบ้าน เพื่อวางแผนว่าคนไข้หรือญาติคนไข้ที่จะดูแลต้องรู้เรื่องอะไรบ้าง เช่น คนไข้ที่ต้องให้อาหารทางสายยางจะต้องเรียนการปั่นอาหารกับนักโภชนาการ หรือคนไข้ที่มีแผลเรื้อรังต้องรู้วิธีการทำแผล ถ้าคนไข้ผ่าตัดข้อเข่า กระดูก ต้องดูเรื่องการจัดบ้านเพื่อเลี่ยงการบาดเจ็บ” 

 

นั่นเป็นเพียงบริการส่วนหนึ่ง เพราะปัจจุบันเริ่มมีการขยายบริการทางการแพทย์ที่หลากหลายขึ้น แทนที่จะเน้นไปที่กลุ่มผู้สูงวัย ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินทางมาโรงพยาบาลได้ยังมองไปถึงคนวัยทำงานหรือกลุ่มคนทั่วไปที่ไม่อยากเสียเวลาเดินทางและไม่สะดวกรอคิวนาน

 

อย่าง ‘Home Pulse’  บริการทางการแพทย์ที่บ้าน ซึ่งเป็นบริการของ DKSH ปัจจุบันให้บริการครอบคลุมตั้งแต่การเจาะเลือด (Home Blood Collection) การเก็บและนำส่งตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Specimen Analysis) การให้คำปรึกษาทางการแพทย์แบบออนไลน์ (Teleconsultation) และการพยาบาลที่บ้านตามความต้องการ หรือ Home Nursing Care (On-demand) เช่น การดูแลแผล การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด การฉีดยา การฉีดวัคซีน การดูดของเสีย การให้อาหารทางสาย ฯลฯ โดยบริการทั้งหมดจะดำเนินการโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมและได้รับการรับรอง  

 

แพทริค แกรนเด รองประธานฝ่ายบริหาร หน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ บริษัท DKSH (ประเทศไทย) จำกัด

 

แพทริค แกรนเด รองประธานฝ่ายบริหาร หน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ บริษัท DKSH (ประเทศไทย) จำกัด เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการพัฒนาบริการ Home Pulse ซึ่งมาจากวิสัยทัศน์ที่เล็งเห็นภาพรวมของระบบนิเวศด้านการดูแลสุขภาพ โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งประกอบไปด้วยความท้าทาย 3 ด้าน ได้แก่ การเข้าถึงยา, การใช้ยาอย่างต่อเนื่อง และความสะดวกในการดูแลสุขภาพ 

 

“จะเห็นว่าความท้าทายทั้ง 3 ด้าน ทั้งการเข้าถึงยา จะทำอย่างไรจึงจะมั่นใจว่าผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาได้อย่างทั่วถึง เมื่อเข้าถึงแล้วต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง สุดท้ายคือความสะดวกในการดูแลสุขภาพจะต้องง่ายและเข้าถึงได้มากขึ้น DKSH ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน พร้อมจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อทำโปรแกรมสนับสนุนผู้ป่วย (Patient Support Programs: PSPs)” 

 

แต่ละโปรแกรมได้ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายข้างต้น ได้แก่

 

  • โปรแกรมสนับสนุนทางการเงิน: ร่วมมือกับบริษัทยาและพันธมิตรทางการเงิน พัฒนาโซลูชันต่างๆ เช่น แผนผ่อนชำระและการบริจาคยา เพื่อให้การรักษาและการใช้ยาที่มีราคาแพงเข้าถึงได้มากขึ้นสำหรับผู้ป่วย
  • โปรแกรมการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง: ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค ยา และการดูแลสุขภาพ รวมถึงสอนการใช้ยาและเครื่องมือแพทย์ให้ผู้ป่วยสามารถเริ่มต้นใช้ยาได้อย่างถูกต้อง และมีกำลังใจในการรักษาจนบรรลุผลลัพธ์ที่ดี
  • โปรแกรมที่ช่วยอำนวยความสะดวก: ส่งเสริมการเข้าถึงการดูแลสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ เช่น การดูแลผู้ป่วยผ่านวิดีโอคอล

 

“Home Pulse จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศในการดูแลสุขภาพได้อย่างครอบคลุม ผ่านการให้บริการสุขภาพส่งตรงถึงบ้านของผู้ป่วย ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการที่ไม่สะดวกเดินทางมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยติดเตียงที่เดินทางไม่สะดวก อีกทั้งลดความแออัดระหว่างรอคิว ทำให้การเข้าถึงบริการง่ายขึ้น รวมถึงเพิ่มความสะดวกสบายในการดูแลสุขภาพ

 

“นอกจากพันธมิตรธุรกิจร้านยาและโรงพยาบาลที่เข้ามาช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้านบริการต่างๆ อย่างการให้คำปรึกษาทางการแพทย์แบบออนไลน์ผ่านผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ และการจัดส่งยา ทาง DKSH ยังมีทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อมอบประสบการณ์การดูแลสุขภาพที่ดีตั้งแต่การนัดหมาย การเข้าเก็บตัวอย่างส่งตรวจ ไปจนถึงการให้คำปรึกษาทางไกล เพื่อให้มั่นใจว่าการดูแลผู้ป่วยเฉพาะบุคคลมีประสิทธิภาพ วิธีการนี้ไม่เพียงช่วยปรับปรุงผลลัพธ์ของผู้ป่วย แต่ยังสร้างความเชื่อมั่นว่าพวกเขาจะได้รับการดูแลที่มีคุณภาพสูงสุด

 

“เหนือสิ่งอื่นใด Home Pulse ยังเป็นบริการที่สอดคล้องไปกับวิสัยทัศน์ของ DKSH ที่มุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นสำคัญเสมอ การพัฒนาระบบและโครงสร้างการให้บริการที่ครบครันจะเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาง่ายขึ้น ลดความเครียดหรือภาระที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางไปยังสถานพยาบาล ช่วยให้ผู้ป่วยจัดการสุขภาพของตนเองได้สะดวกยิ่งขึ้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น” แพทริคกล่าว  

 

 

Home Pulse ‘บริการเจาะเลือดที่บ้าน’ ลดภาระการเดินทาง ลดความแออัด 

 

หนึ่งในบริการที่น่าสนใจและมีจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ‘บริการเจาะเลือดที่บ้าน’ โดยมีโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นพันธมิตรหลัก 

 

นพ.ณรงค์ฤทธิ์ เผยข้อมูลที่น่าสนใจซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ตัดสินใจร่วมมือกับ DKSH เดินหน้าบริการเจาะเลือดที่บ้าน “ช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด โรงพยาบาลต้องการลดความแออัด จึงนำข้อมูลผู้เข้าใช้บริการมาดูพบว่า ในจำนวน 2 ล้านคนต่อปีที่มาโรงพยาบาล มากกว่า 300,000 คนที่มาเจาะเลือดอย่างเดียว ไม่พบแพทย์ เท่ากับว่าคนเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมาก็ได้ หากเขาสามารถไปเจาะเลือดที่อื่นแล้วส่งผลมาที่แล็บของโรงพยาบาลรามาธิบดี”  

 

 

ทำได้จริง เพราะก่อนหน้านี้โรงพยาบาลรามาธิบดีเคยร่วมมือกับห้างสรรพสินค้าเพื่อเปิดพื้นที่ให้บริการเจาะเลือดนอกสถานที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการของโรงพยาบาล

 

“เรากระจายไป 4 มุมเมือง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนไข้ในโซนนั้นๆ สามารถเจาะเลือดโดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล ถึงวันนัดก็มาพบแพทย์เพื่อฟังผลได้เลย”  

 

แต่ยังมีบางกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยที่เดินทางลำบากเนื่องจากเป็นคนไข้ติดเตียง หรือผู้ที่ต้องใช้รถเข็น บริการเจาะเลือดที่บ้านจึงเข้ามาเติมเต็มความต้องการได้อย่างลงตัว 

 

“การได้พันธมิตรอย่าง DKSH เข้ามาให้บริการผ่าน Home Pulse จะยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการคนไข้ที่ไม่สะดวกเดินทางมาโรงพยาบาลไปจนถึงคนที่ไม่อยากเสียเวลามารอคิว และยังลดความแออัดในโรงพยาบาล ที่สำคัญคือเรื่องของบริการที่ขยายได้มากขึ้น ครอบคลุมขึ้น เนื่องจากทาง DKSH มีทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์ลงพื้นที่ด้วยตัวเอง”

 

สำหรับผู้ใช้บริการโรงพยาบาลรามาธิบดีน่าจะได้เห็นข่าวประชาสัมพันธ์ผ่านแผ่นพับ สแตนดี้ หรือตามบอร์ดประชาสัมพันธ์ในโรงพยาบาล นพ.ณรงค์ฤทธิ์ บอกว่า เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานโดยตรง คนไข้ที่ได้รับใบนัดเจาะเลือดจะมีคิวอาร์โค้ดอยู่ด้วย

 

“พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์จะแนะนำคนไข้เสมอว่าเรามีบริการเจาะเลือดที่บ้านเพิ่มขึ้น เพื่อความสะดวกสบายของตัวคนไข้เอง ถ้าสนใจก็สามารถสแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อเข้าไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ Home Pulse ได้ทันที จากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่ของ DKSH ติดต่อและนัดหมายต่อไป” 

 

มั่นใจได้ตั้งแต่ขั้นตอนการเจาะเลือดที่บ้าน การเก็บตัวอย่างเข้าสู่ระบบคอนเทนเนอร์ภายในอุณหภูมิที่เหมาะสมก่อนจะส่งเข้าสู่แล็บของโรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อวิเคราะห์และรายงานผล 

 

ด้านผลตอบรับจากผู้ใช้บริการถือว่าดีเกินคาด ทั้งในแง่ความพึงพอใจในบริการของบุคลากรที่ให้บริการ สะท้อนชัดเจนยิ่งขึ้นผ่านยอดผู้ใช้บริการที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องอย่างที่บอกไปข้างต้น 

 

 

“การที่ DKSH มีบริการ Home Pulse ไม่เพียงช่วยขยายการบริการเจาะเลือดที่บ้านได้มากขึ้น แต่ยังเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโรงพยาบาลที่ต้องการลดความแออัดและจำนวนผู้เข้าใช้บริการที่ไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ให้น้อยลง” 

 

สำหรับบริการเจาะเลือดที่บ้านในปัจจุบัน นอกจากโรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแรกที่ร่วมมือกับทาง DKSH ยังมีโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติที่ให้บริการนี้เช่นกัน ในอนาคตจะมีการขยายความร่วมมือให้ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมถึงขยายการให้บริการอื่นๆ ด้านสุขภาพส่งตรงถึงบ้านเพิ่มขึ้น ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนและจองวันและเวลานัดหมายผ่านเว็บไซต์ได้ที่ https://bit.ly/3FIOymJ   

 

หรือสอบถามข้อมูลทาง LINE: @ipshomecare (มี @ ข้างหน้า) หรือ โทร. 0 2460 7400 ต่อ 4001 กด 1

 

อ้างอิง: 

FYI

DKSH หน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ พันธมิตรทางธุรกิจและผู้นำในการให้บริการด้านการขยายตลาดที่ครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่การกระจายสินค้า การวางแผนการตลาดและการขาย รวมถึงบริการด้านการขยายตลาดสำหรับบริษัทผู้ผลิตเวชภัณฑ์ยา บริษัทผู้ผลิตยาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ (OTC) ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เครื่องมือแพทย์ ที่มองหาช่องทางการเติบโตทางธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย ด้วยบริการโซลูชันที่ครบวงจร หลากหลาย และสามารถปรับแต่งได้ ได้แก่ การจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ การศึกษาการเปิดตลาด การตลาดและการขาย การตกแต่งบรรจุภัณฑ์ ศูนย์กระจายสินค้า โซลูชันหรือแพลตฟอร์มเข้าถึงผู้ป่วยแบบดิจิทัล ไปจนถึงระบบการออกบิลและการเรียกเก็บชำระเงิน

 

ด้วยพนักงานผู้เชี่ยวชาญกว่า 3,00 คนของหน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ DKSH ให้การสนับสนุนและดูแลหน่วยงานผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขกว่า 40,000 รายทั่วทั้งประเทศ และพร้อมเดินหน้ามุ่งสู่การเป็นผู้นำในการให้บริการด้านการขยายตลาดแก่ธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในบริษัทผู้ผลิตเวชภัณฑ์ยาและบริษัทผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์

 

ปัจจุบัน DKSH ให้บริการด้านการขยายตลาดแก่ธุรกิจในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลกมายาวนานกว่า 160 ปี ภายใต้หน่วยธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค หน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ หน่วยธุรกิจวัตถุดิบอุตสาหกรรม และหน่วยธุรกิจเทคโนโลยี

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

X
Close Advertising