×

“สิ่งที่ผมสอนลูกชายมาเสมอคือ กษัตริย์นั้นจะต้องรู้ว่าสิ่งใดดีและสิ่งใดไม่ดีด้วยตัวเอง” เฉลิมฉลองแผ่นดินใหม่ ย้อนชมภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

โดย THE STANDARD TEAM
03.05.2019
  • LOADING...

“ผู้อ่านเปิดดูอัลบั้มรูปสมัยตัวเองเป็นเด็กครั้งสุดท้ายเมื่อไร” รูปภาพที่ว่าคือการบันทึกช่วงเวลาพิเศษ เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำถึงการมีชีวิต ที่สำคัญถ้าภาพเหล่านั้น ‘บันทึก’ ขึ้นโดยชายผู้ให้กำเนิด นั่นก็ยิ่งเป็นหลักฐานแห่งความ ‘ปีติยินดี’ ว่าแววตาของสิ่งมีชีวิตตัวน้อยๆ นี้ สักวันจะเติบใหญ่เพื่อสร้างชีวิตและรากฐานของตนเอง

 

เนื่องในโอกาสสำคัญช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก THE STANDARD POP ขอพาย้อนกลับไปชมบางส่วนของภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งทรงบันทึกหลายช่วงวัยแห่งการเติบโตของ ‘เจ้าฟ้า’ ทั้ง 4 พระองค์ไว้ระหว่างช่วงปี 2498-2511 (ภาพจากนิทรรศการ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร)

 

ซึ่งต่อมาหนึ่งในเจ้าฟ้าอันเป็นที่รักยิ่งนั้นได้ทรงเติบใหญ่ และกำลังจะสืบทอดภาระหน้าที่ในฐานะ ‘พระราชา’ บนแผ่นดินรัชกาลใหม่ในกาลต่อจากนี้

* ถอดคำให้สัมภาษณ์บางส่วนของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ครั้งที่ทรงพระราชทานสัมภาษณ์เป็นภาษาฝรั่งเศสแก่สถานีวิทยุโทรทัศน์ RTS (Radio Télévision Suisse) ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1960

 

ซึ่งข้อความเหล่านี้บ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่า ‘สุภาพบุรุษ’ คนหนึ่งที่ขณะนั้นดำรงตนทั้งในสถานะ ‘พระราชา’ และสถานะ ‘พ่อ’ ผู้ให้กำเนิด เลี้ยงดู อบรม และบ่มเพาะกล้าไม้ ซึ่งต่อมาจะเติบโตขึ้นเป็น ‘พระราชา’ ในแผ่นดินใหม่นั้นแข็งแรงและงดงามขึ้นได้ด้วย ‘พลังแห่งแผ่นดิน’ เช่นไร

 

“การเป็นกษัตริย์ (King) คืออาชีพที่ค่อนข้างที่จะมีลักษณะพิเศษ เพราะว่าไม่มีการเรียนการสอนให้เป็นกษัตริย์ แต่โดยรวมแล้วถือว่าเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นผมจึงต้องทำหน้าที่ตรงนี้ให้ชำนาญ และก็ต้องรู้ในทุกๆ เรื่องอย่างละนิด เพื่อที่จะสามารถทำความเข้าใจปัญหาที่มีในทุกๆ ด้าน

 

“สำหรับลูกๆ ของผมนั้น ผมได้ศึกษาถึงปัญหานี้ เป็นปัญหาที่ใหญ่มากครับ เพราะเด็กควรจะมีชีวิตแบบเด็กธรรมดา หมายความว่าเด็กควรจะมีความสุข ได้เล่นสนุก และก็ไปโรงเรียนเพื่อเรียนวิชาต่างๆ

 

“แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็มีตำแหน่ง ‘เจ้าฟ้า’ (Prince) และก็เช่นเดียวกับประเทศที่มีประชาธิปไตยอย่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์

 

“คำว่าเจ้าฟ้า หรือกษัตริย์เป็นคำที่มีความหมายอย่างมาก มีความพิเศษ ประชาชนไม่พิจารณาเราเหมือนมนุษย์ทั่วไป นี่แหละครับคือสิ่งที่ยากลำบาก เพราะว่าเด็กเป็นเด็ก เป็นมนุษย์ แต่ทุกคนมองมาที่เขาเช่นเจ้าฟ้าเหมือนในนิทาน

 

“ผมเชื่อว่าเด็กทุกคนคงอยากเป็นเหมือนในนิยาย เป็นเรื่องที่แปลกครับ ผู้คนมองว่าเรารวย เรามีความสุขเหมือนกษัตริย์ เหมือนเจ้าชาย แต่นั่นไม่จริงไปเสียทั้งหมดหรอกครับ

 

“ประชาชนทั่วไปจะมีกรอบในการดำเนินชีวิต พวกเขาต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หมายความว่าหากพวกเขาทำผิดกฎหมายก็จะมีตำรวจ มีศาล และอีกหลายอย่าง แต่กับกษัตริย์นั้น พวกเราอยู่เหนือกฎหมาย สิ่งที่ผมสอนลูกชายมาเสมอคือ กษัตริย์นั้นจะต้องรู้ว่าสิ่งใดดีและสิ่งใดไม่ดีด้วยตัวเอง”

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และพระราชโอรส พระราชธิดา (จากซ้ายไปขวา) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร, ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปี 2498  

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ปี 2498

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ปี 2498

 

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และพระราชโอรส พระราชธิดา (จากซ้ายไปขวา) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

ปี 2498

 

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ปี 2498

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปี 2498

 

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ปี 2498

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ปี 2498

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ปี 2498

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ปี 2499

 

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ปี 2509

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ปี 2511

 

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ขณะเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพมหานคร พร้อมพระราชโอรสและพระราชธิดา โดยรถไฟพระที่นั่ง 4 มิถุนายน 2504 (ประทับจากซ้ายไปขวา) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี, ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (ทรงยืน)

FYI

ขอขอบคุณ

  • นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
  • จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 กันยายน 2560 – 7 มกราคม 2561
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising