ปฏิเสธไม่ได้ว่าการระบาดของโควิด-19 ก่อให้เกิดผลกระทบที่ตามมาอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะในแง่ของการจัดงานที่ต้องมีการรวมตัวจำนวนมากยังไม่สามารถทำได้ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคที่กำลังอยู่ในช่วงของการหาวัคซีนเพื่อนำมารักษา
จุดนี้เองกลายเป็น New Normal ที่ทุกคนต่างต้องปรับตัว เช่นเดียวกันกับ GMM Grammy ที่มองว่าแม้สถานการณ์จะไม่เหมือนเดิม แต่ก็ไม่อาจหยุดนิ่งได้ จึงกลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของ GMM Online Festival ซึ่งจะเข้ามาเป็นนิยามใหม่ของคำว่า ‘คอนเสิร์ตไร้พรมแดน’
จุดเริ่มต้นของ ‘คอนเสิร์ตไร้พรมแดน’
จากความตั้งใจของ GMM Grammy ที่อยากผลักดันและช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมบันเทิงไม่ให้หยุดนิ่ง กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาและเลือกใช้ช่องทางที่ดีที่สุดในการจัดออนไลน์คอนเสิร์ต เพื่อตอบโจทย์ในเรื่องของ Innovative และ Interactive ในยุค New Normal นี้
เนื่องจากศิลปินของ GMM Grammy ต่างมีแฟนเพลงอยู่ทั่วโลก จึงเกิดเป็นไอเดียที่จะสร้าง ‘คอนเสิร์ตไร้พรมแดน’ ที่อยากจะทําให้ทุกคนได้ใกล้ชิดกับแฟนเพลงในรูปแบบใหม่ และยังคํานึงถึงประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด แม้จะไม่สามารถเดินทางมาชมคอนเสิร์ตในฮอลล์ได้ก็ตาม
แต่เพื่อคงอรรถรสที่ไม่ต่างจากการเดินทางมาเห็นและซึมซับบรรยากาศ GMM Grammy จึงได้จับมือกับพาร์ตเนอร์ระดับโลกอย่าง VLIVE ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Live VDO Streaming Service ระดับโลกที่ตอบโจทย์ทั้งในด้านของ Innovative และ Interactive ที่รับชมได้กว่า 200 ประเทศทั่วโลกในคุณภาพระดับ Full HD ทั้งภาพและเสียง รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อทําให้เกิดโปรดักชันที่แปลกใหม่ และยังสามารถทําให้ผู้ชมสามารถมี Interactive กับศิลปินได้ทันที
ความสำเร็จของ GMM Online Festival
แม้จะเป็นครั้งแรกของ GMM Online Festival แต่ต้องบอกว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ยืนยันได้จากผลลัพธ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเริ่มตั้งแต่ช่วง Pre Event ที่มีทั้งสื่อบันเทิงและสื่อการตลาดจํานวนกว่า 200 สื่อให้ความสนใจและร่วมประชาสัมพันธ์ จนก่อให้เกิด Media Value ที่ประเมินออกมาแล้วมีมูลค่ามากถึง 32 ล้านบาท
และยังมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ Out of Home ที่สายตานับล้านได้พบเห็นทั้งในรถไฟฟ้า BTS และจอ PLAN B ที่กระจายทั่วกรุงเทพฯ
ขณะที่สื่อออนไลน์ซึ่งนับเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์หลักก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน แน่นอนว่าทันทีที่มีข่าวของการจัดงาน GMM Online Festival ได้ก่อให้เกิดกระแสบนโลกออนไลน์จนติดเทรนด์ทวิตเตอร์ในวันแรกตลอดจนถึงวันแถลงข่าวในทันที และยังเป็นกระแสเรื่อยมาในโลกโซเชียลมีเดีย ทั้ง GMM Grammy Official ค่ายเพลง ศิลปิน และพาร์ตเนอร์ต่างๆ ซึ่งมีเอ็นเกจเมนต์รวมกว่า 2.9 ล้าน
อย่างไรก็ตาม ในยุคนี้ ‘เสียงของผู้บริโภค’ คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ดังนั้นงานในครั้งนี้จึงได้มีกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่างกลุ่มนักศึกษา รวมถึงมีเดียพาร์ตเนอร์ในกลุ่ม Entertainment ที่ทาง GMM Grammy เคยร่วมจัดกิจกรรมด้วยต่างให้การตอบรับเป็นอย่างดี มีการแสดงความคิดเห็นและรีวิวผ่านทางโซเชียลมีเดียมากมาย
ความพิเศษของโชว์ในครั้งนี้
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นมาจากกระบวนการคิดที่ถูกกลั่นกรองมาเป็นอย่างดี ซึ่งความพิเศษของ GMM Online Festival นั้นไม่ได้เกิดขึ้นมาเพราะต้องการทดแทนคอนเสิร์ตในช่องทางออฟไลน์ แต่ถือเป็นการสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างและสมบูรณ์แบบด้วย Interactive และ Innovative ของโชว์ที่จัดเต็มเทคนิคพิเศษทั้ง AR และ CG
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นบน 4 เวทีที่ยิ่งใหญ่เสมือนเฟสติวัลจริงๆ ครบทุกแนวเพลงถึง 21 ศิลปิน ภายใน 2 วัน ความยาวรวมกว่า 18 ชั่วโมง โดยมีคอนเซปต์ของโชว์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละศิลปิน
ทั้งศิลปินรุ่นเล็กและรุ่นใหญ่อย่าง เป๊ก ผลิตโชค, อะตอม ชนกันต์, Paradox, Klear, 25hours, Cocktail, Lomosonic, Getsunova, The Yers, Taitosmith, Three Man Down, Tilly Birds, MEYOU, Safeplanet
น้องใหม่จากสนามหลวงมิวสิก Kordyim, Blue Tapes, ซี เวหยุทธ์, Clockwork Motionless, 3 แรปเปอร์จากค่าย YUPP อย่าง Lazyloxy, Maiyarap และ Milli เมื่อขึ้นมาบนเวทีแล้วต่างอวดฝีไม้ลายมือชนิดที่ไม่มีใครยอมใคร
โมเดลที่สามารถต่อยอดได้ในอนาคต
และอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าคอนเสิร์ตไร้พรมแดนในครั้งนี้ถูกถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านพาร์ตเนอร์ระดับโลกอย่าง VLIVE ทำให้นี่ไม่ใช่แค่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่ส่งมอบความสุขให้กับผู้ชมในกว่า 200 ประเทศ
ซึ่งได้ ‘ทำลาย’ พรมแดนให้ทุกคนสามารถรับชมคอนเสิร์ตได้จากทั่วโลก เป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากการดูโชว์แบบออฟไลน์ และสร้างให้เกิด Interactive จากผู้ชม โดยมีการกดหัวใจและส่งคอมเมนต์เพื่อเป็นกำลังใจให้ศิลปินกว่า 226,000,000 ครั้ง ซึ่งมีผู้ชมสูงสุดจาก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น และจีน ยังเลือกรับชมพร้อมซับไตเติ้ล ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ได้อีกด้วย
ทั้งหมดทั้งมวลนี้จะเป็นอีกหนึ่งโมเดลที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างสรรค์รูปแบบในการทำคอนเสิร์ตได้อีกมากมายในอนาคต โดยสิ่งสำคัญอยู่ที่การมี ‘Value’ ที่เราสามารถทำทุกอย่างจากจินตนาการให้เป็นจริงได้ และสามารถดูย้อนหลังเพื่อสร้างความประทับใจได้อย่างไม่รู้จบ
หากใครที่พลาดชมคอนเสิร์ต GMM Online Festival เมื่อวันที่ 4-5 กรกฎาคมที่ผ่านมา แต่อยากเปิดประสบการณ์ใหม่กับคอนเสิร์ตไร้พรมแดนนี้ สามารถซื้อบัตรรับชมย้อนหลังกันได้บน VLIVE https://www.vlive.tv/product/ds00u00u00000183 ในราคาเพียง 350 บาท (600 V Coins)
โดยความพิเศษคือสามารถชมย้อนหลังได้ตลอดไป และดูได้ถึง 5 อุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถดูย้อนหลังได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
โดยนอกจากจะเต็มอิ่มกับประสบการณ์ใหม่แล้วยังได้อิ่มบุญไปพร้อมกัน เพราะรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วยังนำไปร่วมสมทบทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula VRC) อีกด้วย
และอย่าลืมติดตามข่าวสารของคอนเสิร์ตดีๆ แบบนี้ได้ที่ช่อง GMM Grammy Official บน VLIVE https://channels.vlive.tv/9EBC0F/home
พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล