×

นักวิจัยเผย อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นเร็วกว่าที่เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์จะสามารถคำนวณได้

01.08.2022
  • LOADING...
อุณหภูมิโลก

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อุณหภูมิของอังกฤษทะยานเหนือระดับ 40 องศาเซลเซียสเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ส่งผลให้ทางการต้องเร่งออกประกาศเตือนภัยจากคลื่นความร้อนที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยนักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ปัญหาสภาวะโลกรวนที่เกิดจากฝีมือมนุษย์นั้นส่งผลให้คลื่นความร้อนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10 เท่า ขณะที่ผลจากแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า คลื่นความร้อนที่รุนแรงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วในอังกฤษเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากในสภาพอากาศปัจจุบัน หรือมีความเป็นไปได้เพียง 1% ที่จะเกิดขึ้นในแต่ละปี

 

อย่างไรก็ตาม กลุ่มเครือข่ายความร่วมมือด้านสภาพภูมิอากาศนานาชาติ หรือ World Weather Attribution (WWA) ได้เปิดเผยข้อมูลใหม่ว่า ตัวเลขดังกล่าวอาจ ‘ประเมินต่ำกว่าความเป็นจริง’ เพราะเครื่องมือที่นักวิทยาศาสตร์ใช้คำนวณนั้นยังมีข้อจำกัด อีกทั้งยังมีจุดบอดเกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดคลื่นความร้อน

 

แถลงการณ์ของ WWA ระบุว่า “ในขณะที่แบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ประมาณการว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะเพิ่มอุณหภูมิของคลื่นความร้อนให้สูงขึ้น 2 องศาเซลเซียส แต่บันทึกข้อมูลสภาพอากาศชี้ให้เห็นว่า คลื่นความร้อนอาจมีอุณหภูมิต่ำกว่านี้ถึง 4 องศาเซลเซียส หากไม่เกิดปัญหาโลกร้อนจากฝีมือมนุษย์” 

 

ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า แบบจำลองประเมินผลกระทบของสภาวะโลกรวนจากฝีมือมนุษย์ที่มีต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้นในอังกฤษและหลายพื้นที่ของยุโรปต่ำกว่าความเป็นจริง นอกจากนี้ สภาวะโลกรวนยังเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้คลื่นความร้อนเกิดถี่ขึ้นด้วย

 

ผู้นำการวิจัยของ WWA กล่าวด้วยว่า ยุโรปและหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงขึ้นมากกว่าเดิม ส่งผลให้อุณหภูมิปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก และรวดเร็วกว่าแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นที่น่ากังวลว่า หากทุกฝ่ายไม่ร่วมมือกันลดการปล่อยคาร์บอนให้ทันท่วงที ปัญหาสภาวะโลกรวนจะยิ่งทวีความรุนแรงของคลื่นความร้อนในยุโรปให้เลวร้ายลงไปมากกว่านี้ และ ‘อาจเลวร้ายมากกว่าที่ประเมินไว้’

 

ปัจจุบัน อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกร้อนขึ้นราว 1.2 องศาเซลเซียส และยิ่งโลกร้อนขึ้นเท่าไร ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น โดยทั่วโลกเห็นพ้องกันว่า มนุษย์ควรต้องพยายามรักษาระดับอุณหภูมิไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อหลีกเลี่ยงภัยพิบัติเลวร้ายที่จะตามมา อาทิ การละลายตัวของธารน้ำแข็ง สภาพอากาศแปรปรวนรุนแรง พายุที่หนักขึ้นและถี่ขึ้น คลื่นความร้อน น้ำท่วม และภัยแล้ง 

 

แฟ้มภาพ: Kristian Buus / In Pictures via Getty Images

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising