จากรายงานดัชนีนวัตกรรมโลก 2021 ที่เผยแพร่โดย Cornell University, องค์กร INSEAD, องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) และพันธมิตร หลังจากสำรวจข้อมูลด้านนวัตกรรมในมิติต่างๆ ใน 132 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ
โดยพิจารณาจากดัชนี 2 ประเภทหลัก ได้แก่ 1. ดัชนีทรัพยากรด้านนวัตกรรม (Innovation Input Sub-Index) ซึ่งคำนวณคะแนนเฉลี่ยจาก 5 ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น สถาบัน (Institutions), ทุนมนุษย์และการวิจัย (Human Capital and Research), โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure), ศักยภาพทางการตลาด (Market Sophistication) และศักยภาพทางธุรกิจ (Business Sophistication)
- ดัชนีผลผลิตด้านนวัตกรรม (Innovation Output Sub-Index) ซึ่งคำนวณคะแนนเฉลี่ยจาก 2 ปัจจัย คือ ผลผลิตจากการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยี (Knowledge and Technology Outputs) และผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ (Creative Outputs)
จากรายงาน GII 2021 พบว่า สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีคะแนนค่าเฉลี่ยรวมดัชนีนวัตกรรมมากที่สุดในปี 2021 ตามมาด้วย สวีเดน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเกาหลีใต้ โดยมากกว่าครึ่งใน 10 อันดับแรกเป็นประเทศในยุโรป ตัวแทนย่านอาเซียนอย่างสิงคโปร์ รั้งอันดับที่ 8 จากหัวตาราง อันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ขณะที่มาเลเซียรั้งอันดับที่ 36 ของตาราง และอันดับ 2 ของอาเซียน ส่วนไทยรั้งอันดับอันดับ 3 ของอาเซียน อันดับที่ 43 ในประชาคมโลก ค่าคะแนนเฉลี่ยที่โดดเด่นคือ คะแนนศักยภาพทางการตลาด อยู่ที่ 27 จาก 132 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ ขณะที่คะแนนค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ คะแนนด้านสถาบัน อยู่ที่ 64 จาก 132 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ ส่วนเพื่อนบ้านของไทยอย่างเวียดนามมีคะแนนเฉลี่ยรวมอยู่อันดับที่ 44, ฟิลิปปินส์ รั้งอันดับ 51, บรูไน รั้งอันดับ 82, อินโดนีเซีย รั้งอันดับ 87, กัมพูชา รั้งอันดับ 109, สปป.ลาว รั้งอันดับ 117, และเมียนมาที่รั้งอันดับสุดท้ายในย่านอาเซียนและรั้งอันดับ 127 จากท้ายตาราง
โดยแองโกลา เป็นประเทศที่มีคะแนนค่าเฉลี่ยรวมดัชนีนวัตกรรมน้อยที่สุดในการจัดอันดับปีนี้ อยู่อันดับที่ 132
ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย
อ้างอิง: