×

ถอดแนวทางผู้บริหารระดับสูงขององค์กรยักษ์ระดับประเทศ จากงาน ‘GC Circular Living Symposium 2020’ เมื่อผู้นำต้องแอ็กชันบนรากฐานหลักแนวคิด ‘Circular Economy’ [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
14.12.2020
  • LOADING...
ถอดแนวทางผู้บริหารระดับสูงขององค์กรยักษ์ระดับประเทศ จากงาน ‘GC Circular Living Symposium 2020’ เมื่อผู้นำต้องแอ็กชันบนรากฐานหลักแนวคิด ‘Circular Economy’

ด้วยความเข้าใจและเล็งเห็นความสำคัญของแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ ‘Circular Economy’ ในฐานะเป็นเสาหลักผลักดันธุรกิจไทยให้ไปรอด สามารถต่อยอดแข่งขันบนเวทีนานาชาติพร้อมรักษ์โลกได้ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้นำในธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับสากล ได้จัดงานประชุมระดับโลก ‘GC Circular Living Symposium 2020: Tomorrow Together’ ร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมพันธกิจที่ไม่หยุดแค่แนวคิด แต่ต้องมาสู่การลงมือปฏิบัติจริงเพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า

 

THE STANDARD ถือโอกาสนี้นำเสนอบทสรุปรวบรัดจากเวทีอภิปรายย่อยในหัวข้อยิ่งใหญ่ ‘Leaders on Sustainability in Action’ ของคณะผู้บริหารระดับประเทศ ตอกย้ำโจทย์ การปฏิวัติการใช้ทรัพยากรโลกอย่างรู้คุณค่าและยั่งยืน สามารถควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจได้อย่างไร

 

 

ขัตติยา อินทรวิชัย

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

 

“สำหรับ KBank ใบอนุญาตทางสังคมต่อการดำเนินธุรกิจ นั่นคือ การได้รับความไว้วางใจ แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเปรียบเหมือนการเดินทางที่ต้องใช้ระยะเวลา และ KBank พร้อมจะสนับสนุนทุกธุรกิจที่มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืน แม้ระยะสั้นอาจต้องเจ็บปวดบ้าง เพื่อแลกกับผลประโยชน์ระยะยาว” 

 

หนึ่งบทบาทของ KBank คือ การเป็นต้นทางที่จะหยุดยั้งหรือไม่สนับสนุนธุรกิจที่จะทำลายสิ่งแวดล้อม ด้วยการไม่ปล่อยสินเชื่อให้เงินลงทุน เนื่องจากส่งผลกระทบต่อสังคมและประเทศอย่างมากมาย การจะทำให้แนวคิด Circular Economy เกิดขึ้นได้จะต้องมี ‘Tone on the Top’ ผู้บริหารต้องสื่อสารลงมายังผู้ปฏิบัติงานอย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกอณูขององค์กรผลักดันไปในทิศทางเดียวกัน

 

KBank สร้างนโยบายในการพิจารณาเครดิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมจะมีเกณฑ์การวัดสูงมาก และทุกโครงการต้องผ่านเกณฑ์นี้

 

 

ธีรพงศ์ จันศิริ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

 

“เราจำเป็นต้องสร้างความยั่งยืน เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์ไว้สำหรับคนรุ่นหลังต่อไป”

 

แนวคิด Circular Economy เป็นใบอนุญาตสำคัญระดับสากลที่ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำเป็นจะต้องทำเพื่อให้บริษัทอยู่รอด เพราะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกลุ่มคู่ค้าและผู้บริโภค โดยเฉพาะจากทวีปอเมริกาและยุโรปที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมากๆ รวมถึงเรื่องของการใช้แรงงานไม่ถูกกฎหมาย และเรื่องการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมอาหารทะเลในประเทศไทย ซึ่งจำเป็นต้องมีการดำเนินนโยบายเรื่อง Climate Change และ Ocean Plastic เนื่องจากกองทุนขนาดใหญ่ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มงวด หากไม่ผ่านเกณฑ์จะไม่มีการร่วมลงทุน

 

‘Responsible Packaging’ ทำงานร่วมกับ GC ในการคัดสรรวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์

 

 

ฐาปน สิริวัฒนภักดี

กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

 

“หากเรามองว่าพลาสติกเป็นตัวร้าย และต้องการเปลี่ยนกลับไปใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่น กระดาษ เราจำเป็นต้องตระหนักถึงการปล่อยคาร์บอนที่จะเกิดขึ้น”

 

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ วางเป้าเป็น Stable & Sustainable Asean Leader ภายใต้ภารกิจ ‘การสร้างสรรค์ แบ่งปัน คุณค่าจากความเติบโต’ มีการรวมตัวกันกับภาคเอกชนหลายส่วน องค์กร และมูลนิธิต่างๆ จัดทำโครงการ ‘Thailand Sustainability’ ให้เกิดขึ้น การทิ้งขยะพลาสิตกหรือขยะมูลฝอย เรามีกระบวนการดูแลตรงนี้กันอย่างไร เราต้องผนึกกำลังเป็น Smart Consumers ในการที่จะทำให้โลกใบนี้ของเราน่าอยู่และมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น เพราะบางครั้งเราคิดกันได้ครบ แต่เรายังทำกันไม่ครบ พร้อมน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ 

 

 

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

“ประเด็นสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่ลดลงเป็นปัญหาซับซ้อน การจะแก้ปัญหาเหล่านี้มีสิ่งที่ต้องพิจารณาอยู่ 4 หลัก ได้แก่ ความเป็นผู้นำทางความคิด, นวัตกรรม, รูปแบบธุรกิจที่ยั่งยืน และระบบนิเวศ ที่ทุกคนต้องมีบทบาท”

 

เรื่องความยั่งยืนเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของ GC มีเป้าวัดชัดเจนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และได้นำแนวคิด Circular Economy มาใช้ในทุกๆ ภาคส่วนขององค์กร ซึ่งต้องหา Total Solutions for Everyone เช่น การมีนวัตกรรม มีผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ที่สำคัญคือ ต้องมีส่วนรวมช่วยกันสร้างระบบนิเวศ เพื่อให้คนที่อาจมีกำลังน้อยกว่าหรือยังไม่ตระหนักต่อเรื่องนี้มากนักมาช่วยกันทำ

 

GC พยายามแก้ปัญหาอย่างครบวงจร เริ่มตั้งแต่เครื่องคัดแยก มีระบบโลจิสติกส์ในการนำไปจัดการ ไปสู่ปลายทางตามความเหมาะสมของขยะแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นการนำไปรีไซเคิล, ฝังกลบ, อัพไซเคิล หรือแม้กระทั่งส่งเสริมดีไซเนอร์ให้นำไปออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เป็นต้น  

 

ใครที่สนใจอยากฟังการอภิปรายแบบเต็มๆ สามารถเข้าไปชมย้อนหลังได้ที่ http://www.circularlivingsymposium2020.com/Live-4  เพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่าของเราทุกคน

 

#GCCircularLiving #ไลฟ์สไตล์เปลี่ยนโลก #ร่วมมือกันเพื่อวันพรุ่งนี้

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising