Rahm Emanuel เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำญี่ปุ่น ออกมาเปิดเผยว่า กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ หรือ G7 ซึ่งประกอบด้วย แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรป จะร่วมกันหาแนวทางที่เป็นรูปธรรมเพื่อยับยั้งนโยบายบีบบังคับทางเศรษฐกิจ (Economic Coercion) ของจีนในการประชุม G7 ที่เมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่นในวันศุกร์นี้
“การประชุมในรอบนี้จะมีความชัดเจนที่มากกว่าคำพูดหรือแถลงการณ์ร่วมออกมา สมาชิกกลุ่ม G7 กำลังพัฒนาเครื่องมือเพื่อยับยั้งและป้องกันการคุกคามและการตอบโต้ทางเศรษฐกิจของจีน” Emanuel ทวีตข้อความในวันอังคาร (16 พฤษภาคม)
ทั้งนี้ มีการคาดหมายว่าประเด็นเรื่องการตอบโต้นโยบายบีบบังคับทางเศรษฐกิจของจีนจะเป็นวาระหลักในการหารือของกลุ่ม G7 ในการประชุมรอบนี้ หลังจากที่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา การประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มประเทศ G7 ได้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดคุยเช่นกัน
โดยแถลงการณ์ร่วมของกลุ่มได้ระบุถึงแผนการลดการพึ่งพาจีนและการกระจายห่วงโซ่อุปทานของตัวเองออกจากจีน นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดกรอบเวลาสำหรับการเปิดตัว
“การกระจายห่วงโซ่อุปทานจะช่วยให้เราปกป้องความมั่นคงด้านพลังงานและรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคได้” แถลงการณ์ดังกล่าวระบุ
ที่ผ่านมาจีนถูกโจมตีจากชาติตะวันตกว่า ใช้นโยบายทางการค้าและเศรษฐกิจเพื่อกดดันประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เมื่อมีข้อพิพาททางการทูตระหว่างกัน แต่จีนได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวและวิพากษ์วิจารณ์ว่าสหรัฐฯ ต่างหากที่เป็นผู้ใช้วิธีการดังกล่าว
บทความที่เกี่ยวข้อง:
- มหาเศรษฐีจีนโล่งใจได้นานแค่ไหน? หลังรัฐบาลจีนเปลี่ยนท่าทีมาเป็นมิตรกับภาคธุรกิจมากขึ้น
- พญามังกรจะผงาดหรือกลับหัว? เมื่อเศรษฐกิจจีนโตเกินคาด แต่ภาระหนี้ยังจ่อทะลุเพดาน จับตาท่าที ‘สีจิ้นผิง’ ชี้ชะตาผลลัพธ์
- จริงหรือที่ ‘อินเดีย’ กำลังจะเป็นโรงงานของโลกแห่งใหม่ต่อจากจีน? ถึงขั้นที่การผลิต 1 ใน 4 ของ ‘iPhone’ จะย้ายมาที่นี่ภายในปี 2025
อ้างอิง: