×

Future skills ทักษะแห่งอนาคตหลังยุคโควิด

13.07.2021
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

  • ผลสำรวจของ WEF คาดว่า อัตราส่วนการจ้างงานระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรกลจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 67:33 ในปี 2563 เป็น 53:47 ในปี 2568
  • ในอนาคตองค์กรชั้นนำจะมีชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักรกลมากกว่าชั่วโมงการทำงานของมนุษย์อย่างเห็นได้ชัด เราจึงจำเป็นต้องเร่งปรับตัว พัฒนาทักษะการทำงานที่จำเป็นสำหรับอนาคต 
  • เพื่อพัฒนาพนักงานในองค์กรให้มีทักษะแห่งอนาคต อาจเริ่มด้วยการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร พร้อมนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการทำงาน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

รูปแบบหรือกระบวนการทำงานเร็วขึ้นกว่าที่เคยวางแผนไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนมาทำงานในรูปแบบ Remote Work, การ Work from Home หรือการ Work from Anywhere อีกทั้งยังเป็นตัวเร่งให้บริษัทต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงระบบและขั้นตอนการทำงาน 

 

จากผลสำรวจของที่ประชุมเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ได้มีการคาดการณ์ว่า อัตราส่วนระหว่างการจ้างงานมนุษย์และเครื่องจักรกลจะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2563 โดยมีอัตราการจ้างงานมนุษย์ร้อยละ 67 และเครื่องจักรกลร้อยละ 33 ขณะเดียวกันยังคาดการณ์ว่าจะเพิ่มเป็นอัตราการจ้างงานมนุษย์ร้อยละ 53 และเครื่องจักรกลร้อยละ 47 ภายในปี 2568

 

อีกทั้งในอนาคตองค์กรชั้นนำจะมีชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักรกลมากกว่าชั่วโมงการทำงานของมนุษย์อย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้ ‘มนุษย์’ ยังมีความสำคัญและสามารถที่จะทำงานในโลกที่กำลังพัฒนาไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว เราจึงจำเป็นต้องเร่งปรับตัว พัฒนาทักษะการทำงาน (Up Skill และ Re-skill) โดยเฉพาะการเรียนรู้ทักษะต่างๆ ที่มีความสำคัญและสามารถนำไปใช้ในการทำงานในอนาคตได้

 

Future skills

 

Future Skills ทักษะแห่งอนาคต

 

  1. มนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centric)

การแพร่ระบาดของโควิดส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตประจำวันในปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนกระตุ้นให้พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคยอมรับการทำธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น องค์กรต่างๆ ต้องแข่งขันกันในเรื่องการให้บริการและการอำนวยความสะดวกลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะทำอย่างไรให้องค์กรสามารถพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด

 

Empathy และ Design Thinking เป็นสองทักษะสำคัญที่บุคลากรในองค์กรที่ประสบความสำเร็จควรมี หลักสำคัญของทักษะนี้จะเน้นที่ความสามารถในการรับฟัง รับรู้ และทำความเข้าใจความต้องการลูกค้าให้ได้มากที่สุด เข้าใจสภาพสิ่งแวดล้อมและปัญหาของลูกค้าให้เร็วที่สุด เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาระดมความคิด สร้างแนวทางในการแก้ไขปัญหา พัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการขององค์กร และหานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างคุณค่าและตอบสนองความต้องการของลูกค้าขององค์กร

 

  1. แนวคิดแบบยืดหยุ่นเพื่อการเติบโตและพัฒนา (Growth Mindset)

ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ หรือการปรับโมเดลการทำธุรกิจของตัวเอง การหาวิธีประกอบธุรกิจใหม่ๆ ว่าจะทำอย่างไรให้ธุรกิจของเราสามารถปรับตัวและยังสร้างรายได้ให้กับองค์กรได้เหมือนเดิม สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้หลายๆ องค์กรต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจอย่างสิ้นเชิง องค์กรที่จะอยู่รอดได้จะต้องพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจอยู่เสมอ 

 

ดังนั้นการมีบุคลากรที่มี Growth Mindset จะเป็นแรงผลักดันให้องค์กรเติบโตและประสบความสำเร็จได้อย่างก้าวกระโดด ความคล่องตัว (Agility) และความยืดหยุ่น (Resilience) เป็นสองทักษะสำคัญในกลุ่ม Growth mindset โดย Agility จะเป็นทักษะแห่งความคล่องตัวและความสามารถในการปรับตัวของบุคลากรอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใหม่ๆ รวมทั้งสามารถประสานความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับ Resilience เป็นความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรวดเร็วหลังเผชิญกับปัญหา อุปสรรค ความท้าทาย หรือเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นเสมือนความยืดหยุ่นทางจิตใจที่ส่งผลต่อการตอบสนองต่อความคิดเชิงบวก ผลักดันจนเป็นพลังให้องค์กรสามารถก้าวข้ามและผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ ไปได้ และกลับมาพร้อมรับกับงานต่างๆ ที่ต้องบริหารจัดการเพื่อให้องค์กรเดินหน้าต่อไป

 

  1. การปรับเปลี่ยนความคิดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ (Cognitive Flexibility)

Cognitive Flexibility เป็นอีกหนึ่งกลุ่มทักษะที่มีความสำคัญต่อการปรับตัวขององค์กรในปัจจุบัน เป็นทักษะที่ช่วยพัฒนาบุคลากรให้มองหาโอกาส มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การคิดอย่างเป็นระบบ หรือ Systems Thinking เป็นทักษะหนึ่งที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการเข้าใจปัญหา สถานการณ์ หรือบริบทต่างๆ โดยการมองภาพรวมให้เป็นระบบโครงสร้างที่เกี่ยวโยงต่อเนื่องกัน มองความสัมพันธ์ต่างๆ เชื่อมโยงจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ ซึ่งจะเป็นกระบวนการสำคัญในการทำให้เราเข้าใจที่มาที่ไปของเรื่องต่างๆ สามารถรวบรวมข้อมูลและประมวลความคิดอย่างมีเหตุมีผล เพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ หรือการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดและดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) เป็นอีกหนึ่งทักษะที่เสริมสร้างกระบวนการคิดโดยการใช้วิจารณญาณหรือการตัดสินอย่างมีเหตุผลรอบด้าน เน้นการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญ การรวบรวมข้อมูลต่างๆ รอบด้าน ทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน รวมไปถึงพิจารณาทางเลือกในทุกๆ ด้านที่อาจมีอิทธิพลต่อข้อสรุป เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจและประเมินผลได้อย่างถูกต้อง

 

  1. การใช้ประโยชน์จากข้อมูลดิจิทัล (Digital and Data)

หลายๆ องค์กรได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มาช่วยในการสร้างระบบลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) เพื่อเป็นการรักษาฐานลูกค้าและสร้างความจงรักภักดีของลูกค้า และที่สำคัญเพื่อให้ได้ข้อมูลความต้องการของลูกค้ามาพัฒนาต่อยอดต่อสินค้าและบริการขององค์กร ในปัจจุบันข้อมูลที่องค์กรได้รับจากการทำธุรกรรมผ่านโลกออนไลน์นั้นมีอัตราการเพิ่มสูงขึ้นทุกๆ ปี องค์กรที่เข้าใจและสามารถนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาเชื่อมโยงกัน นำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับองค์กร และสามารถชิงความได้เปรียบจากคู่แข่ง รวมถึงสร้างโอกาสทางธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น หลายๆ องค์กรถึงกับกำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วน ตั้งเป้าหมายให้เร่งพัฒนาหรือจัดหาบุคลากรที่มี Digital and Data Skills เข้ามาทำงานมากขึ้น

 

ทักษะที่สำคัญในกลุ่มนี้จะเป็นเรื่อง Data & Analytics ทักษะนี้ให้ความสำคัญกับคุณค่าของข้อมูล การเข้าใจข้อมูล วงจรของข้อมูลในมุมต่างๆ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อทำความเข้าใจและหาทางแก้ปัญหาให้ตรงความต้องการของลูกค้า อีกหนึ่งทักษะที่องค์กรควรให้ความสำคัญก็คือทักษะ Collaboration and Productivity Tools ซึ่งก็คือความสามารถในการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือระหว่างมนุษย์ด้วยกันหรือความร่วมมือระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี การทำงานร่วมกันสามารถช่วยแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ปัญหาใหญ่ที่อาจต้องใช้เวลานานหรือยากที่จะแก้ไขโดยลำพังได้สำเร็จ ความร่วมมือกันเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดหลายๆ มุมมอง ก่อให้เกิดทางเลือกหลายๆ ทางที่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ขององค์กรได้อย่างรวดเร็ว

 

ดังนั้นเพื่อพัฒนาพนักงานในองค์กรให้มีทักษะแห่งอนาคตและพร้อมทำงานในโลกยุคใหม่ อาจเริ่มต้นด้วยการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร ปลูกฝังให้พนักงานเปิดรับการเปลี่ยนแปลง เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ วิเคราะห์สิ่งที่ขาด (Needs Analysis) และเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ผ่านการฝึกอบรมเพิ่มทักษะอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการทำงาน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้องค์กรมีความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising