ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง 3 วันติดต่อกัน หลังจากที่ความต้องการใช้น้ำมันจากสหรัฐฯ หดตัวลง เนื่องจากความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกที่กำลังมุ่งเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession)
การปรับตัวลดลงล่าสุดส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลดลงมา 14% ในปีนี้ แตะระดับ 68 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และสะท้อนให้เห็นว่าแผนของ OPEC และกลุ่มพันธมิตรที่ประกาศลดกำลังการผลิตเพื่อต้องการกลับมาควบคุมตลาดน้ำมันอีกครั้ง ดูเหมือนจะไม่ได้ผล
ขณะที่ส่วนต่างราคาของน้ำมันดิบ Brent ระหว่างเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมมีพรีเมียมแคบลงเหลือ 15 เซนต์ จากที่เคยสูงถึง 43 เซนต์ ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา สะท้อนว่านักเก็งกำไรมองว่าอุปทานน้ำมันในระยะสั้นมีมากกว่าอุปสงค์
Daniel Ghali นักกลยุทธ์สินค้าโภคภัณฑ์ของ TD Securities กล่าวว่า “นี่เป็นสถานการณ์ที่ยากสำหรับการรับมีดที่กำลังร่วงลงมาทันทีนับแต่ช่วงขาขึ้นในยุคโควิด” ขณะที่ช่วงราคาที่แคบลงของราคาน้ำมันดิบ Brent ล่วงหน้าสะท้อนว่า “อุปสงค์ต่อสินค้าโภคภัณฑ์ถูกมองว่าจะลดลง ด้วยมุมมองของนักเก็งกำไรที่ว่าเราจะเผชิญกับการดิ่งลงอย่างหนักของเศรษฐกิจ และเป็นครั้งแรกที่ความกังวลต่อเรื่อง Recession สะท้อนเข้ามาในราคาน้ำมัน”
ขณะที่การตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อีก 0.25% เมื่อคืนนี้ และส่งสัญญาณว่าอาจจะหยุดการขึ้นดอกเบี้ย แต่ก็ไม่สามารถที่จะหยุดการร่วงลงของราคาน้ำมันได้
จากรายงานของรัฐบาลสหรัฐฯ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา สะท้อนว่าความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลดลง ขณะที่อุปทานยังคงเพิ่มขึ้น ส่วนอุปสงค์ต่อน้ำมัน Jet ลดลงเช่นกัน แต่ยังคงสูงกว่าเมื่อปีก่อนเล็กน้อย
ในฝั่งของอุปทาน รัสเซียไม่มีท่าทีว่าจะลดการผลิตและส่งออกลง แม้ออกมาบอกว่าจะลดกำลังการผลิตลง 5 แสนบาร์เรลต่อวัน การส่งออกน้ำมันของรัสเซียพุ่งกลับไปเหนือระดับ 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วงสัปดาห์ที่สิ้นสุดเมื่อ 28 เมษายนที่ผ่านมา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- YLG ชี้ทองคำโลกพุ่งใกล้ไฮเดิม 2,075 ดอลลาร์ ผวา NATO จุดชนวนสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุ แถมกังวลวิกฤตแบงก์สหรัฐฯ ลามต่อ
- จีนประกาศความสำเร็จ ระบุ ‘สีจิ้นผิงเยือนรัสเซีย’ แสดงให้โลกเห็นแบบอย่างแนวทางความร่วมมือในอนาคต
- ‘เงินหยวนจีน’ เบียดแซงดอลลาร์ ขึ้นแท่นสกุลที่มีการซื้อขายมากที่สุดในรัสเซีย
อ้างอิง: