×

ทำไม ‘ธรรมนูญครอบครัว’ จึงเป็นกุญแจสำคัญในการวางยุทธศาสตร์เพื่อสานต่อธุรกิจครอบครัวระยะยาว หาคำตอบได้จาก THE SME HANDBOOK by UOB Season 7 [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
17.10.2023
  • LOADING...
ธรรมนูญครอบครัว

หนึ่งในประเด็นจาก THE SME HANDBOOK by UOB Season 7 ตอน From Challenge to Opportunity พลิกความท้าทายเป็นโอกาส ฉบับธุรกิจครอบครัว ได้กล่าวไว้ว่า ธุรกิจครอบครัวที่ล่มสลายกว่า 60% เกิดจากการขาดการสื่อสาร เมื่อไม่สื่อสารกันก็นำไปสู่ความไม่เชื่อใจ ธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จใหญ่โตบนโลกนี้ล้วนเกิดจากการร่วมมือกันของคนในครอบครัว

 

นี่เป็นจุดสำคัญทำให้เกิด ‘ธรรมนูญครอบครัว’ ซึ่งเป็นตัวกำหนดกฎ กติกา และเงื่อนไข ในการทำงานร่วมกันของสมาชิกครอบครัว ทำให้เกิดการสื่อสารไปในแนวทางเดียวกัน อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาของสมาชิกรุ่นต่อๆ ไปที่เข้ามาสืบทอดธุรกิจ 

 

 

หากเป้าหมายหลักของการจัดตั้งธรรมนูญครอบครัวไม่ได้ทำเพื่อสร้างกำไรให้ธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยรักษาความมั่นคงของธุรกิจครอบครัว แล้วแกนสำคัญของกฎ กติกา และเงื่อนไขในการทำ ต้องประกอบด้วยประเด็นใดบ้าง และทำไมจึงสำคัญต่อความยั่งยืนของธุรกิจและการส่งมอบความสำเร็จไปสู่รุ่นถัดไป วิเชฐ ตันติวานิช นายกสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจครอบครัว จะคลายข้อสงสัยตั้งแต่แนวคิดการสร้างธรรมนูญครอบครัวโดยใช้ 3 หลักปฏิบัติ ไปจนถึงขั้นตอนการลงมือทำจริงในแบบที่เข้าใจง่าย ตรงประเด็น และมองเห็นเป้าหมายปลายทางของการมีธรรมนูญครอบครัว ในหัวข้อ ‘From Legacy to Unity: วางยุทธศาสตร์เพื่อสานต่อธุรกิจระยะยาว’ บทเรียนที่ 2 จาก THE SME HANDBOOK by UOB: Roots to Riches: The SME Journey คู่มือสู่ความสำเร็จจากรุ่นสู่รุ่น

 

‘ธรรมนูญครอบครัว’ ข้อตกลงในการส่งต่อธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น

 
ธรรมนูญครอบครัวเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ‘กฎของบ้าน’ ที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวได้ทำข้อตกลงร่วมกันว่า บ้านเราจะทำอะไร สืบทอดธุรกิจกันอย่างไร วิธีแบ่งสมบัติคืออะไร หรือหากในอนาคตเกิดความขัดแย้งจะมีเครื่องมืออะไรที่จะช่วยแก้ไขสถานการณ์

 

“ธรรมนูญครอบครัวสำคัญมาก เพราะเป็นข้อตกลงในการส่งต่อธุรกิจจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง หลายครอบครัวอาจปฏิบัติกันอยู่แล้ว แต่โดยมากจะเป็นการสั่งสอน บอกกล่าว หรือทำให้ดู แต่การทำธรรมนูญครอบครัวเป็นการนำเอาแนวปฏิบัติมาเขียนเป็นตำราให้เป็นข้อตกลงที่ชัดเจนระหว่างสมาชิกในครอบครัว” วิเชฐกล่าว

 

 

หลักปฏิบัติ 3 ข้อสำหรับธรรมนูญครอบครัว

 

  1. หลักการปกครองกันเองในครอบครัว

 
ต้องทำผ่านสภาครอบครัว (สมาชิกในครอบครัว) คัดเลือกกรรมการของบ้าน ส่วนใหญ่จะเป็นผู้อาวุโสที่สุดในครอบครัว หรือผู้อาวุโสที่ไม่ใช่ญาติแต่นับถือในฐานะผู้บุกเบิกธุรกิจมาด้วยกันและรู้เรื่องครอบครัวเราทั้งหมด ก็มีสิทธิ์อยู่ในสภาครอบครัวเช่นกัน โดย 3 เรื่องหลักๆ ที่ต้องคุยผ่านสภาครอบครัว ได้แก่

 

  1. การบริหารเงินกองทุนครอบครัว จะแบ่งปันผลประโยชน์จากธุรกิจครอบครัว รายได้ เงินปันผลต่างๆ อย่างไร 
  2. การลงทุนเปิดธุรกิจใหม่ เช่น ตั้งบริษัทใหม่ ซื้อที่ดิน หรือการร่วมธุรกิจกับคนอื่นๆ
  3. สวัสดิการ จะดูแลคนในครอบครัวอย่างไร ทั้งสมาชิกในครอบครัวที่เกษียณไปแล้วหรือลูกหลานที่ยังเรียนหนังสืออยู่ รวมถึงค่ารักษาพยาบาลของสมาชิกในครอบครัว 

 

  1. หลักการทำธุรกิจของครอบครัว

 

เป็นการตกลงเรื่องแนวทางการทำธุรกิจ หุ้น หรือที่ดิน ที่ถือในนามครอบครัว ต้องเอามาอยู่ใน Family Wealth ไม่ใช่ Corporate Wealth และต้องมีการจัดตั้งกองทุนครอบครัว หรือที่เรียกว่า Holding Company โดยผู้ถือหุ้นจะเป็นสมาชิกครอบครัวทั้งหมด และนำรายได้ไปลงทุนหรือถือหุ้นใน Operating Company อีกทีหนึ่ง ดังนั้นรายได้จากธุรกิจครอบครัวจากทุกทางรวมถึงเงินปันผลจะมารวมกันที่ Holding Company แล้วจึงไปแชร์กันในครอบครัว

 

  1. หลักการกำหนดคุณสมบัติคนที่จะมารับช่วงต่อ

 
หรือจะเรียกว่าเป็นหลักการหา Successor รุ่นต่อไปที่จะก้าวขึ้นมาบริหารธุรกิจ ป้องกันกรณีแย่งชิงตำแหน่ง จำเป็นต้องกำหนดคุณสมบัติให้ชัดเจนในธรรมนูญครอบครัวว่าคนที่เหมาะสมต้องมีคุณลักษณะแบบไหน การคัดเลือกเบอร์หนึ่งท่ามกลางลูกหลายคนที่มีอายุไล่เลี่ยกัน คุณสมบัติใกล้เคียงกัน จะใช้เกณฑ์อะไรตัดสิน และตัดสินด้วยคณะกรรมการชุดไหน กติกาเหล่านี้จะช่วยแยกระหว่างความรักกับความเหมาะสมจากกันอย่างชัดเจน พูดง่ายๆ คือ ถ้ามีปัญหาให้อ้างตำรา 

 

คำถามต่อไปคือ เมื่อไรที่ควรจะเริ่มทำธรรมนูญครอบครัว วิเชฐตอบว่า “ตอนที่ยังไม่มีความขัดแย้งกัน เพราะจะตกลงกันได้ง่ายที่สุด” เขายังบอกด้วยว่า เมื่อคิดจะเริ่มทำให้ดูว่าเป้าหมายที่ต้องการใช่ 3 เรื่องนี้หรือไม่

 

  1. อยากให้ Corporate Wealth กับ Family Wealth ถูกบริหารจัดการอย่างชัดเจน 
  2. อยากให้ลูกหลานสืบทอดธุรกิจต่อไปในอนาคตโดยไม่มีความขัดแย้ง 
  3. อยากให้หุ้นทั้งหมดเป็นของคนในตระกูลตลอดไป 

 

“ถ้าเป้าหมายของธุรกิจคุณตรงกับ 3 ข้อนี้ การทำธรรนูญครอบครัวช่วยได้แน่นอน” วิเชฐกล่าวย้ำ 

 

ธรรมนูญครอบครัว


ธุรกิจประเภทไหนควรทำธรรมนูญครอบครัว

 
“บริษัทจดทะเบียนทุกบริษัทควรทำ” วิเชฐบอกว่า 95% ของธุรกิจที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์คือ Family Business ดังนั้นหากเกิดความขัดแย้งในครอบครัว จะส่งผลกระทบไปถึงผู้ถือหุ้น 

 

“ถ้ายังไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียน แต่เป็นบริษัทที่ผ่านการบริหารงานมาแล้ว 2-3 เจเนอเรชัน ก็ควรทำธรรมนูญครอบครัว เพราะอายุธุรกิจน่าจะอยู่ราว 60-70 ปี แสดงว่าเริ่มมีความซับซ้อนของธุรกิจ อาจมีบริษัทลูกหรือสมาชิกในครอบครัวเยอะขึ้น ถ้าไม่ทำอนาคตจะยุ่งยากในเรื่องการบริหารจัดการ”

 

สำหรับธุรกิจที่มีทายาทไม่เยอะ วิเชฐแนะว่า หากธุรกิจมีความซ้ำซ้อน ธรรมนูญครอบครัวยังจำเป็น เพราะต้องคำนึงระหว่างการให้ทายาทเป็นผู้สืบทอดหรือคนนอกที่เป็นมืออาชีพเข้ามาบริหารจัดการ

 

‘ลูกหลาน’ กับ ‘มืออาชีพ’ ข้อดี-ข้อด้อยในการสืบทอดกิจการ

 
“ข้อด้อยของการให้คนนอกเข้ามาสืบทอดธุรกิจคือ ต่อให้เขาเป็นมืออาชีพ มีคุณสมบัติครบถ้วน แต่เขาไม่ได้รักนามสกุลนี้ ดังนั้นดีลที่ตกลงกันต้องชัดเจนมาก เช่น ถ้าผลงานถึงเป้าต้องจ่ายเท่าไร ให้หุ้นอย่างไร ถ้าโชคดีคุณเลือกคนที่ถูกต้องและเขาเป็นคนที่สร้าง Corporate Wealth ให้คุณได้ Family Wealth ก็จะดีขึ้นตามไปด้วย” 

 

ส่วนข้อดีวิเชฐมองว่า เมื่อเป้าหมายของเขาคือการทำให้ Corporate Wealth ดีขึ้น และถ้ายิ่งได้คนที่มีฝีมือดีๆ มาทำ แม้ว่าลูกหลานจะไม่เก่งพอ แต่สุดท้ายธุรกิจจะอยู่รอด

 

 

ตัวอย่างธุรกิจที่มีธรรมนูญครอบครัว แล้วเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ

 

วิเชฐยกตัวอย่างธุรกิจทางภาคใต้อายุร้อยกว่าปี ส่งต่อธุรกิจมาแล้ว 4 เจเนอเรชัน มีสมาชิกหลายสายรวมแล้วกว่า 150 คน เริ่มแรกครอบครัวนี้ทำธุรกิจเหมืองแร่ พอวันหนึ่งเลิกทำก็เอาที่ดินไปขายบ้าง ให้เช่าบ้าง หรือไม่ก็เอาไปทำธุรกิจอื่นๆ คนในครอบครัวจึงทำธุรกิจหลากหลาย และแน่นอนว่าเมื่อสมาชิกในครอบครัวเยอะ ก็ต้องมีดีและไม่ดีปนกัน บางคนอาจทิ้งธุรกิจครอบครัวไปแล้วด้วยซ้ำก็มี แต่เพราะเขาทำธรรมนูญครอบครัวเอาไว้ จึงทำให้เกิดความเข้าอกเข้าใจในสมาชิก เพราะธรรมนูญมันส่งผลแบบนั้น

 

“คำถามคือ Family Wealth มาจากไหน เพราะตอนรวยก็รักกัน แต่ถ้าเริ่มไม่มีอะไรกินจะเป็นอย่างไรต่อ จะเอาเงินที่ไหนมาแบ่งกัน เลยต้องไปแตะที่ Corporate Wealth ต้องจัดระเบียบว่าธุรกิจทั้งหมดมีอะไรบ้าง อันไหนควรจะเลิกทำ อันไหนควรไปต่อ อันไหนควรขยาย หรือควรสร้างธุรกิจใหม่เลยหรือไม่ เพราะครอบครัวมีที่ดินเยอะ พอมีธรรมนูญครอบครัวก็มีข้อตกลงที่คุยกันรู้เรื่อง และสามารถดึงพลังทั้งหมดที่มีมาช่วยกันคิดว่า รุ่นต่อไปจะใช้แหล่งเงินทุนตรงไหนมาเลี้ยงครอบครัวให้อยู่ต่อไปได้อย่างยั่งยืน ทุกคนจะมีส่วนร่วมในการคิดแผนอนาคตให้กับลูกหลานตัวเอง ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างที่ดี และเราอยากให้ทุกครอบครัวเป็นแบบนั้น”

 

คำแนะนำสำหรับภาคธุรกิจทั่วไปที่อยากนำหลักการของธรรมนูญครอบครัวไปปรับใช้ 

 

“ถ้าเข้าใจหลักการ 3 ข้อที่บอกไปก็นำไปปรับใช้ได้เลย เพราะมันคือ Good Governance ถ้าบริหารจัดการดีทุกอย่างมันก็จะดี หากไม่ใช่ธุรกิจครอบครัว แต่เป็นเพื่อนที่มาก่อตั้งธุรกิจด้วยกัน ก็ทำสัญญาบริหารจัดการและจัดตั้งบอร์ดที่มีเฉพาะกลุ่มเพื่อนขึ้นมา มันก็จะคล้ายกับสัญญาผู้ถือหุ้น แต่อันนี้คือสัญญาในการบริหารจัดการ

 

ข้อควรระวังเดียวที่วิเชฐฝากถึงธุรกิจครอบครัวคือ “ระวังจะทำไม่ทัน อย่ารอจนเกิดความขัดแย้งในครอบครัว ลองนำหลักการที่บอกไปเปรียบเทียบกับธุรกิจ มีอะไรที่กำลังเป็นปัญหา ต้องซื่อสัตย์กับตัวเอง และอย่าคิดว่าปล่อยผ่านไปก่อน เพราะเมื่อไรที่เกิดความขัดแย้ง สุดท้ายมันไม่จบแน่นอน

 

“ที่สำคัญต้องแยกคำว่า Corporate Wealth กับ Family Wealth ให้ออก ถ้าไม่ใช่ครอบครัวอาจจะเป็น Friends Wealth, Group Wealth หรือ Personal Wealth ที่มันจะงอกเงยขึ้นมาจาก Corporate Wealth สุดท้ายแล้วจะทำธุรกิจต้องมีกฎ กติกา เพื่อให้ได้ The best at that moment” วิเชฐกล่าวทิ้งท้าย 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X