THE STANDARD WEALTH สรุปข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงแรงงาน (ณ วันที่ 30 มกราคม 2567) พบว่า ไทยมีต่างด้าวที่ ‘ได้รับอนุญาต’ ให้ทำงาน คงเหลือทั่วประเทศอยู่ที่ 3.41 ล้านคน โดยจำนวนนี้ส่วนใหญ่มาจากประเทศอาเซียนกว่า 3.18 ล้านคน หรือคิดเป็นกว่า 93.3% ของแรงงานต่างด้าวทั้งหมด
โดยแบ่งเป็น
- เมียนมา 2,387,461 คน
- กัมพูชา 501,617 คน
- สปป.ลาว 265,971 คน
- ฟิลิปปินส์ 20,498 คน
- เวียดนาม 5,837 คน
- มาเลเซีย 2,924 คน
- อินโดนีเซีย 2,322 คน
- สิงคโปร์ 1,616 คน
เปิดสถิติแรงงานต่างด้าวย้อนหลัง 10 ปี
- มกราคม ปี 2567: 3,415,774 คน
- มกราคม ปี 2566: 3,310,090 คน
- มกราคม ปี 2565: 2,352,063 คน
- มกราคม ปี 2564: 2,181,344 คน
- มกราคม ปี 2563: 3,002,817 คน
- มกราคม ปี 2562: 3,288,079 คน
- มกราคม ปี 2561: 2,149,328 คน
- มกราคม ปี 2560: 1,470,225 คน
- มกราคม ปี 2559: 1,451,817 คน
- มกราคม ปี 2558: 1,355,258 คน
เมื่อดูสถิติเดือนมกราคมย้อนหลัง 10 ปี พบว่า จำนวน 3.41 ล้านคนนี้ถือว่าสูงที่สุด
อย่างไรก็ดี การเข้ามาของแรงงานต่างด้าวอาจถือเป็น ‘เรื่องดี’ ตามมุมมองของ พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ หอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน เนื่องจากประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาขาดแคลนแรงงาน (Labour Shortage) การเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aging Society) และอัตราการเกิดที่น้อยลง เช่นเดียวกับทั่วโลก
ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงควรวางนโยบายระยะยาวว่าจะบริหารจัดการอย่างไรให้มีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในไทยอย่างต่อเนื่องและไม่ขาดตอนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
ภาพประกอบ: พรวลี จ้วงพุฒซา