ไม่มีสิ่งใดรับประกันได้ว่า บริษัทตะวันตกจะเอาชนะบริษัทท้องถิ่นในจีนได้! สงคราม EV ตลาดจีนยังร้อนแรงมากเสียจนล่าสุดประธาน Ford ยอมถอย ลดการผลิตและลงทุน EV ในจีน เหตุสู้คู่แข่งเจ้าบ้านไม่ไหว แต่จะไม่ทิ้งตลาดเทคโนโลยี แบตเตอรี่ ที่อนาคตจะแสวงหาการลงทุนมากขึ้น
ปรากฏการณ์ ‘สงครามราคา EV ตลาดจีน’ ยังคงสร้างความกังวลให้กับบรรดาค่ายรถนอกทั้งสหรัฐฯ และยุโรป เมื่อผู้ชนะในธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าในจีนไม่ใช่กลุ่มผู้ผลิตยานยนต์รุ่นเก๋า แต่กลับเป็นแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าแท้ๆ อย่าง BYD, Great Wall, SAIC และ Changan และแม้จะมี ‘Tesla’ ยักษ์ใหญ่สหรัฐฯ เข้ามาชิงเค้กในพักหลัง แต่ก็ไม่อาจการันตีได้ในอนาคตว่าจะครองตลาดจีนยาวนานได้หรือไม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- Volkswagen เมินตามรอย Tesla ไม่ขอแข่งสงครามราคา EV ในจีน เบนเข็มเน้นรายได้จากส่วนต่างมากกว่าด้านปริมาณ
- ‘Tesla’ ประกาศหั่นราคาขายในตลาดจีน 9% กูรูหวั่นจุดชนวนสงครามราคารถยนต์ไฟฟ้า
- สตาร์ทอัพ ‘รถยนต์ไฟฟ้าจีน’ เนื้อหอม โกยเงินลงทุนจาก Venture Capital ไปกว่า 6 พันล้านดอลลาร์
สำนักข่าว Financial Times รายงานว่า Jim Farley ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Ford ออกมาระบุว่า Ford วางแผนที่จะลดการลงทุนยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศจีน โดยการตัดสินใจครั้งนี้ใช้เวลาพิจารณาในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่มองดูธุรกิจในจีนอย่างระมัดระวัง
โดย Ford จะเริ่มลดความเสี่ยงด้านเงินทุนด้วยการมุ่งไปที่ธุรกิจเชิงพาณิชย์ เช่น รถตู้ขนส่งสินค้า และจะวางกลยุทธ์ในตลาดจีนเพื่อจับสัญญาณตลาดเทคโนโลยี แบตเตอรี่ ให้มากขึ้น
Jim Farley ออกโรงเตือนบรรดาค่ายรถว่า ไม่มีเครื่องรับประกันว่ากลุ่มผู้ผลิตยานยนต์จากตะวันตกจะสามารถเอาชนะคู่แข่งระดับท้องถิ่น อย่าง BYD, Great Wall, SAIC, Changan รวมถึงค่ายรถสหรัฐฯ Tesla ที่ใช้กลยุทธ์นำเสนอราคาถูกกว่าหรือดีกว่า ซึ่งอาจไม่ส่งผลดีต่อผลกำไรธุรกิจ เช่นก่อนหน้านี้ที่ Volkswagen, Mercedes-Benz หรือ General Motors เองก็ไม่ใช้กลยุทธ์แข่งขันด้านราคา
“ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เรามองธุรกิจของเราในจีนอย่างรอบคอบจริงๆ และตอนนี้เราได้ตัดสินใจแล้วว่ากลยุทธ์ของเราจะลดการลงทุน แต่เราไม่ต้องการออกจากประเทศจีนเหมือนเจ้าอื่น เพราะเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ความก้าวหน้าด้านดิจิทัลของจีน ยังเป็นหนึ่งในผู้ผลิตที่ดีสุดในโลก และ Tesla เองก็นำเข้าเทคโนโลยีแบตเตอรี่แบบเดียวกันสำหรับรถยนต์ที่ผลิตในสหรัฐฯ” ประธาน Ford กล่าว
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายการผลิตรถยนต์ของฟอร์ดที่พึ่งพาแบตเตอรี่ลิเธียมเหล็กฟอสเฟตหรือ LFP ของ CATL ยักษ์ใหญ่จากจีน ยังเป็นข้อจำกัดกฎระเบียบของสหรัฐฯ ที่ระบุว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะไม่เข้าเกณฑ์สำหรับเครดิตภาษี หากมีส่วนประกอบของแบตเตอรี่ที่ผลิตหรือประกอบจากต่างประเทศ แต่ถึงอย่างไร เชื่อว่าจะสามารถเข้าใช้สิทธิ์เทคโนโลยีแบตเตอรี่จาก CATL ได้เพราะยังอยู่ภายใต้เจตนารมณ์ของทางการสหรัฐฯ
ประธาน Ford ทิ้งท้ายอย่างน่าสนใจว่า ฟอร์ดกำลังมองหาทางเลือกที่มีทั้งหมด รวมถึงการดำเนินการในสหรัฐอเมริกาหรือนานาประเทศที่มี ‘การค้าเสรี’ เพื่อหาโอกาสทางธุรกิจต่อไป
ค่ายรถนอก รับแรงกดดันราคา EV
ขณะเดียวกัน สำนักข่าว Reuters รายงานว่า บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลกจากสหรัฐฯ ยุโรป ต่างเคยประกาศทำตลาดรถยนต์ EV ในจีน เนื่องจากจีนเป็นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตอย่างรวดเร็ว แต่กลับได้รับแรงกดดัน การแข่งขันที่เป็นเหมือนสงครามราคา
โดย Allianz Trade ระบุว่า การนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าของจีนอาจทำให้สหภาพยุโรป (EU) ต้องเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 2.4 หมื่นล้านยูโรในปี 2030 หรือคิดเป็น 0.15% GDP ของ EU
อีกทั้งผู้กำหนดนโยบายของจีนจะดำเนินมาตรการต่างๆ เช่น กำหนดอัตราภาษีตอบโต้กับรถยนต์นำเข้าจากจีน, ความได้เปรียบในการพัฒนาวัสดุแบตเตอรี่และเทคโนโลยี EV ที่มากขึ้น และอนุญาตให้ผู้ผลิตรถยนต์ของจีนสามารถออกไปผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในยุโรป
แต่ผู้ผลิตรถยนต์ในยุโรปจะต้องเผชิญกับความเสี่ยง 2 ข้อ ทั้งจากยอดขายรถยนต์ที่ลดลงในจีน สวนทางผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในท้องถิ่นมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น และข้อถัดมาคือ ยอดขายที่เพิ่มขึ้นของรถยนต์ไฟฟ้านำเข้าของจีน ซึ่งผลิตโดยผู้ผลิตของจีนเองและชาติตะวันตก
อ้างอิง: