100 ล้านตัว คือจำนวนฉลามที่ถูกฆ่าทั่วโลกทุกปี และเอาครีบฉลามกว่า 73 ล้านครีบไปทำเมนูหูฉลาม
นอกจากตัวเลขที่น่าตกใจข้างต้น องค์กรไวล์ดเอด (WildAid) องค์กรที่มีเป้าหมายเพื่อยุติการค้าสัตว์ป่าและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ยังพบว่า ในกรุงเทพฯ มีร้านอาหารที่มีเมนูหูฉลามไว้ให้บริการอย่างน้อย 1 ใน 100 ร้าน
ประเด็นที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือ กว่า 61% ตั้งใจว่าจะรับประทานเมนูหูฉลามในโอกาสข้างหน้า โดยให้เหตุผลถึงความอยากรู้อยากลองและการได้ยินได้ฟังมาจากผู้อื่นว่าอร่อย แต่หากการฆ่าฉลามเพื่อเป็นอาหารเป็นสิ่งผิดกฎหมาย พวกเขาจะไม่รับประทาน
แม้ว่าการรณรงค์ให้หยุดการบริโภคเมนูหูฉลามจะทำกันมานานกว่า 20 ปี แต่ความต้องการ อยากรู้อยากลอง และค่านิยมเดิมๆ ยังคงมีให้เห็นอยู่ สิ่งที่ต้องทำควบคู่ไปกับการเร่งผลักดันกฎหมายเพื่อคุ้มครองฉลามที่ใกล้สูญพันธุ์ คือการกระตุ้นจิตสำนึก สร้างความเข้าใจต่อคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ที่เชื่อว่า ‘เมนูหูฉลาม’ คือสัญลักษณ์ของความหรูหรา เป็นอาหารบำรุงสุขภาพของชนชั้นสูง จึงมักจะถูกเสิร์ฟในงานเฉลิมฉลองอย่างงานแต่ง งานตรุษจีน และวาระพิเศษต่างๆ
foodpanda ประเทศไทย ย้ำจุดยืนไม่สนับสนุนการบริโภคและการจำหน่ายเมนูหูฉลาม ผนึกกำลังกับ WWF ประเทศไทย ดันแคมเปญ ‘KEEPING SHARKS OFF OUR PLATES’ สานต่อปณิธาน รักษาสมดุลของท้องทะเล และยุติการบริโภคเมนูอันโหดร้าย
ที่มาที่ไปของการรณรงค์ในเรื่องนี้มาจากไหน และ foodpanda เคลื่อนไหวอย่างไรบ้าง ชวนอ่าน
ฉลามในน่านน้ำไทยกว่า 47 ชนิด จาก 87 ชนิด กำลังเสี่ยงสูญพันธุ์
ทั่วโลกเองก็เผชิญวิกฤตเดียวกัน เมื่อพบว่าฉลามในมหาสมุทรหรือน่านน้ำเปิดนั้นลดจำนวนลงกว่า 70% ภายในระยะเวลาเพียง 50 ปี นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่าเป็นผลกระทบโดยตรงจากการประมงเกินขีดจำกัดและการค้าระหว่างประเทศที่ไร้การควบคุม*
(อ้างอิง: The Guardian, 2563)
‘เมนูหูฉลาม’ เมนูคุกคามระบบนิเวศ
รู้หรือไม่ว่าสายพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองมักจะมีจุดจบอยู่ในตลาดการค้า
ผลสำรวจออนไลน์จากองค์กรไวล์ดเอดและบริษัท Rapid Asia ปี 2560 พบว่า การบริโภคเมนูหูฉลามถือเป็นเรื่องปกติในงานสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานแต่งงาน (72%) การรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัว (61%) และการประชุมธุรกิจ (47%)
ประเด็นที่น่าตระหนกคือ กว่า 61% อยากกิน และมีโอกาสที่จะกินเพราะอยากรู้อยากลองและได้ยินมาจากผู้อื่นว่าอร่อย
WWF เร่งรณรงค์สร้างความตระหนัก ล้างค่านิยมไม่ฉลองด้วยฉลาม
ถึงแม้ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ฉลามวาฬได้รับการบรรจุอยู่ในสายพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองแล้ว รวมถึงผลการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือ CITES CoP ในปี 2565 มีการลงมติให้จำกัดหรือควบคุมการค้าในเชิงพาณิชย์สำหรับฉลาม 54 สายพันธุ์ รวมถึงฉลามเสือ ฉลามหัวบาตร และฉลามสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ตกเป็นเป้าหมายของการค้าหูฉลามมากที่สุด
แต่สิ่งที่ต้องทำควบคู่ไปกับการเร่งผลักดันกฎหมายคุ้มครองสัตว์ที่ถูกคุกคามและมีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศก็คือ การสร้างความตระหนักรู้ให้แก่คนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่
WWF ประเทศไทย เริ่มรณรงค์เกี่ยวกับเมนูหูฉลามมากว่า 3 ปีแล้ว แต่ในประเทศอื่นๆ เราทำเรื่องนี้มานานกว่า 10 ปี ไม่ว่าจะเป็นในจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย รวมถึงมาเลเซีย ผ่านแคมเปญและโครงการต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ถึงบทบาทของฉลามและกระเบน ตลอดจนผลกระทบต่อระบบนิเวศหากไม่มีพวกมันในท้องทะเล
foodpanda ประเทศไทย หนุนหยุดการบริโภคหูฉลาม ‘KEEPING SHARKS OFF OUR PLATES’
ด้าน foodpanda ประเทศไทย ร่วมสร้างแรงกระเพื่อมในการเคลื่อนไหวสนับสนุนให้หยุดการบริโภคเมนูหูฉลาม จับมือกับ WWF ในแคมเปญ KEEPING SHARKS OFF OUR PLATES เน้นย้ำวิสัยทัศน์ขององค์กรที่มีจุดยืนชัดเจนที่ไม่สนับสนุนการบริโภคและการจำหน่ายเมนูหูฉลามในประเทศไทย เพื่อรักษาความสมดุลของท้องทะเลและยุติการบริโภคเมนูอันโหดร้าย
แม้นโยบายห้ามจำหน่ายเมนูหูฉลามบนแอป foodpanda อาจส่งผลกระทบด้านรายได้ แต่เมื่อเทียบกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และข้อมูลที่ได้จาก WWF ที่ว่า ประเทศไทยมีการส่งออกหูฉลามเป็นอันดับ 2 ของโลก foodpanda จึงไม่ลังเลที่จะเป็นกระบอกเสียงและผลักดันนโยบายนี้
foodpanda เชื่อมั่นว่า แคมเปญในครั้งนี้จะกระตุ้นให้คนไทยเลือกทำสิ่งที่สร้างผลกระทบทางบวกต่อโลกได้ไม่ช้าก็เร็ว
ที่ผ่านมา foodpanda ให้การสนับสนุนประเด็นเรื่องความยั่งยืนในมิติอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ร่วมกับองค์กรพันธมิตรและร้านค้า รณรงค์การใช้ภาชนะใส่อาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและย่อยสลายได้ มีฟังก์ชันเลือกที่จะไม่รับช้อนส้อมพลาสติกบนแอป foodpanda
ร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรในการสนับสนุนให้ไรเดอร์ใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า มอบของกินของใช้จาก pandamart ให้กับผู้ที่ต้องการเพื่อลดปัญหา Food Waste ไปจนถึงการส่งเสริมให้พนักงาน foodpanda แยกขยะในออฟฟิศ
foodpanda ฮ่องกงและสิงคโปร์ ถอดเมนูหูฉลามออกจากแพลตฟอร์ม
จนถึงตอนนี้ foodpanda ในหลายประเทศขานรับปณิธานรักษาความสมดุลของท้องทะเล และยุติการบริโภคเมนูอันโหดร้าย ร่วมมือกับ WWF ถอดเมนูหูฉลามออกจากแพลตฟอร์ม
foodpanda ฮ่องกง ได้ถอดเมนูหูฉลามออกจากร้านบนแพลตฟอร์มไปแล้วกว่า 500 เมนู จากร้านพันธมิตรบนแพลตฟอร์ม foodpanda
ด้าน foodpanda สิงคโปร์ เข้าร่วมแคมเปญถอดเมนูและผลิตภัณฑ์จากหูฉลามออกจากแพลตฟอร์มตั้งแต่ปี 2561
อ้างอิง: