×

วิกฤตราคาอาหารและพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นจากสงครามรัสเซียและยูเครนยืดเยื้อ

08.06.2022
  • LOADING...
วิกฤตราคาอาหาร

เกิดอะไรขึ้น:

ภาวะสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก ทำให้การผลิตสินค้าโภคภัณฑ์จำนวนมากมีปัญหา โดยเฉพาะธัญพืช และทำให้ประชาชนกว่า 400 ล้านคนในประเทศตลาดเกิดใหม่ขาดแคลนอาหาร (รวมถึงทำให้ผู้ผลิตอาหารบางประเทศสั่งห้ามการส่งออก) และยังกระทบต่อการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ด้านเชื้อเพลิง รวมถึงสินแร่อุตสาหกรรม 

 

ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการผลิต การขนส่ง และเงินเฟ้อในระยะต่อไป โดยกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่เริ่มเผชิญกับ 3 วิกฤตแล้ว อันได้แก่ วิกฤตพลังงาน วิกฤตอาหาร และวิกฤตการเงิน ขณะที่ IMF คาดว่า กว่า 122 ประเทศใน 193 ประเทศทั่วโลกจะมีเงินเฟ้อเกิน 5% ในปีนี้

 

สำหรับวิกฤตราคาอาหาร โดยสงครามรัสเซียและยูเครนทำให้ห่วงโซ่อุปทานอาหารโลกชะงักงันและราคาสินค้าเกษตรพุ่งสูงขึ้น เพราะทั้งสองประเทศจัดเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลก เมื่อบวกกับผลผลิตทั่วโลกออกสู่ตลาดต่ำกว่าคาดเพราะปัญหาภูมิอากาศไม่เหมาะสม จึงทำให้ล่าสุดหลายประเทศต้องหันมาใช้มาตรการคุมการส่งออกสินค้าเกษตร เพื่อป้องกันการขาดแคลนและแก้ปัญหาราคาอาหารที่สูงขึ้น 

 

ซึ่งแม้ไทยยังไม่ต้องกังวลเรื่องความมั่นคงทางอาหารเพราะเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่อันดับที่ 13 ของโลกและอันดับ 4 ในเอเชีย อีกทั้งยังมีผลผลิตส่วนเกินสำหรับส่งออก แต่หากต้นทุนสินค้าเกษตรสูงเป็นเวลานาน ย่อมเป็นความเสี่ยงที่มีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

 

ด้านวิกฤตราคาพลังงาน สงครามรัสเซีย-ยูเครนทำให้กลุ่ม G7 ทยอยคว่ำบาตรสินค้าพลังงาน เริ่มต้นจากถ่านหิน และปัจจุบันกลุ่มประเทศยุโรปประกาศแผนคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซีย ยกเว้นในส่วนน้ำมันที่ส่งผ่านท่อ นอกจากนั้นกลุ่มยุโรปยังมีแผนลดการใช้ก๊าซฯ จากรัสเซียลง 2 ใน 3 ภายในสิ้นปี 2022 เนื่องจากรัสเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันอันดับ 2 และถ่านหินอันดับ 3 ของโลก ขณะที่ส่งก๊าซฯ ผ่านท่อไปยังยุโรป 38% 

 

ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้อุปทานพลังงานในตลาดจะทยอยขาดหายไปจากตลาด จึงต้องจัดหาเชื้อเพลิงทดแทนจากภูมิภาคอื่น ราคาพลังงานในช่วงที่ผ่านมาจึงพุ่งขึ้นแรง หลายประเทศเริ่มใช้นโยบายอุดหนุนราคาพลังงานเพื่อลดภาระผู้บริโภคในประเทศและสู้กับเงินเฟ้อ ขณะที่บางประเทศเริ่มเกิดวิกฤตพลังงาน (มีเชื้อเพลิงไม่เพียงพอ) ตลาดพลังงานยังมีแนวโน้มตึงตัวต่อไปจนกว่าปัญหาด้านอุปทานจะคลี่คลาย

 

กระทบอย่างไร: 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน (SETENERG) ปรับเพิ่มขึ้น 3.89%MoM และราคาหุ้นกลุ่มอาหาร (SET FOOD) ปรับตัวขึ้น 4.09%MoM ขณะที่ SET Index ปรับเพิ่มขึ้น 0.32%MoM

 

กลยุทธ์การลงทุน:

SCBS แนะนำหุ้นเด่นสำหรับหุ้นที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตราคาพลังงานและอาหารที่พุ่งสูงขึ้น ดังนี้

 

  1. หุ้นเด่นวิกฤตอาหาร: เลือก GFPT และ CPF หลังมองราคาหุ้นและผลประกอบการยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น หลังทั่วโลกมีปัญหาอุปทานเนื้อสัตว์ตึงตัว (เช่น คูเวต และมาเลเซีย ห้ามส่งออกเนื้อไก่) แต่มีอุปสงค์เพิ่มขึ้นหลังคลายล็อกดาวน์ ทำให้ราคาเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าต้นทุนอาหารสัตว์ 

 

ขณะที่แนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนหุ้นที่คาดผลประกอบการและมาร์จิ้นจะถูกกดดันจากการมีสินค้าเกษตร (แป้งสาลีและน้ำตาล) เป็นต้นทุนวัตถุดิบหลัก ได้แก่ SNNP, TFMAMA, NSL และ SNP

 

  1. หุ้นเด่นวิกฤตพลังงาน: เลือก PTTEP และ BCP หลังมองตลาดพลังงานยังมีความตึงตัวจากอุปทานที่ไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ที่เร่งตัวขึ้นจากการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายประเทศ เริ่มมีการเร่งเพิ่มปริมาณเชื้อเพลิงสำรอง ได้แก่ ยุโรป และอินเดีย ขณะที่จีนกำลังกลับมาทำกิจกรรมเพิ่มมากขึ้นจะเป็นอีกปัจจัยหนุนอุปสงค์ 

 

ขณะที่แนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนหุ้นกลุ่มที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นต้นทุน ได้แก่ โรงไฟฟ้า SPP เนื่องจากผลประกอบการยังถูกกดดันต่อจนกว่าต้นทุนจะชะลอตัวลง

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X