×

กทม. เตือนชุมชนนอกคันกั้นน้ำในพื้นที่ 7 เขต เฝ้าระวังผลกระทบจากน้ำทะเลหนุน ช่วง 20-26 พ.ย. นี้

โดย THE STANDARD TEAM
11.11.2021
  • LOADING...
flood-in-thailand-2564-71

วันนี้ (11 พฤศจิกายน) พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาน้ำทะเลหนุนและน้ำเหนือ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนนั้น กทม. ได้มีการประชุม รวมถึงการประสานการแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำจากกรมชลประทานมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแผนบูรณาการความร่วมมือการบริหารจัดการน้ำร่วมกันเพื่อเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำเหนือหลากในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 

 

รวมถึงการประกาศแจ้งเตือนจากกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ เรื่อง สภาวะระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณกองบัญชาการกองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร ป้อมพระจุลจอมเกล้า และพื้นที่ใกล้เคียง ในระหว่างวันที่ 5-14 พฤศจิกายน 2564 และวันที่ 20-26 พฤศจิกายน 2564 ระหว่างเวลา 05.00-20.30 น. ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูง บริเวณกองบัญชาการกองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร ป้อมพระจุลจอมเกล้า และพื้นที่ใกล้เคียง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น รวมทั้งมีการระบายน้ำบริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ลักษณะดังกล่าวอาจทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ โดยเฉพาะชุมชนที่อาศัยอยู่นอกคันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 11 ชุมชน 239 ครัวเรือน ในพื้นที่ 7 สำนักงานเขต ประกอบด้วย 

 

  1. เขตดุสิต ชุมชนซอยสีคาม (ซอยสามเสน 19 ช่วงปลาย) จำนวน 9 ครัวเรือน ชุมชนราชผาทับทิมร่วมใจ (เชิงสะพานกรุงธน) จำนวน 16 ครัวเรือน ชุมชนปลายซอยมิตรคาม (ซอยสามเสน 13 ช่วงปลาย) จำนวน 84 ครัวเรือน

 

  1. เขตพระนคร ชุมชนท่าวัง จำนวน 9 ครัวเรือน 

 

  1. เขตสัมพันธวงศ์ ชุมชนวัดปทุมคงคา (ท่าน้ำสวัสดี) จำนวน 12 ครัวเรือน ชุมชนตลาดน้อย จำนวน 1 ครัวเรือน 

 

  1. เขตบางคอแหลม ชุมชนหลังโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จำนวน 10 ครัวเรือน ชุมชนวัดบางโคล่นอก จำนวน 10 ครัวเรือน

 

  1. เขตยานนาวา ชุมชนโรงสี ถนนพระราม 3 จำนวน 60 ครัวเรือน 

 

  1. เขตบางกอกน้อย ชุมชนดุสิต นิมิตใหม่ จำนวน 16 ครัวเรือน

 

  1. เขตคลองสาน ชุมชนเจริญนคร ซอย 29/2 จำนวน 12 ครัวเรือน 


ติดตามสถานการณ์น้ำและการแจ้งเตือนอย่างใกล้ชิดทางเว็บไซต์สำนักการระบายน้ำ http://dds.bangkok.go.th/ เว็บไซต์สำนักงานประชาสัมพันธ์ www.prbangkok.com ทาง Facebook ศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพมหานคร 

 

พล.ต.อ. อัศวินกล่าวต่อไปว่า ในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำหนุนนั้น เดิม กทม. ได้จัดทำแนวกระสอบทรายในการป้องกันน้ำท่วมริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะบริเวณบ้านเรือนที่อยู่นอกแนวคันกั้นน้ำ แนวเขื่อนชั่วคราวในบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำท่วมถาวร (แนวฟันหลอ) และพื้นที่จุดเสี่ยงที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมความสูงของแนวกระสอบทรายที่เรียงแล้วอยู่ที่ระดับประมาณ +2.30 เมตรระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) ถึง +2.40 ม.รทก. 

 

ปัจจุบันได้เสริมแนวป้องกันน้ำท่วมชั่วคราวให้มีความสูงอยู่ที่ระดับ +2.80 ม.รทก. พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบ ติดตามและเฝ้าระวังในช่วงก่อนเวลาที่น้ำจะขึ้นทุกวันตามจุดต่างๆ โดยเฉพาะจุดที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ นอกจากนี้ได้เตรียมความพร้อมแผนฉุกเฉินรองรับสถานการณ์ฯ โดยได้จัดเตรียม Big Bag จำนวน 200 ใบ ตะกร้าใส่ทรายสำหรับเรียงกระสอบจำนวน 5,150 ใบ และพนังกั้นน้ำฉุกเฉิน 9 เส้น (ความยาวเส้นละ 15 เมตร) กระสอบเปล่าจำนวน 49,640 ใบ กระสอบบรรจุแล้วจำนวน 4,250 ใบ รถสูบน้ำเคลื่อนที่ (โมบายยูนิต) จำนวน 4 คัน

 

“ส่วนการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบในด้านต่างๆ นั้น เบื้องต้น กทม. โดยสำนักการระบายน้ำและสำนักงานเขตได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน โดยแจกยารักษาโรค อาหาร และรับฟังปัญหาจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงตรวจสอบสภาพพื้นที่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบน้ำเอ่อล้น สำหรับชุมชนที่อยู่นอกแนวคันป้องกันน้ำท่วมของ กทม. ที่ได้รับผลกระทบ และปัญหาแรงคลื่นกระทบกับพื้นบ้านที่เกิดจากเรือวิ่งผ่านด้วยความเร็ว ทาง กทม. ได้ประสานไปยังกรมเจ้าท่า ในการใช้มาตรการเรื่องการเดินเรือเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อบ้านเรือนของประชาชน” พล.ต.อ. อัศวินกล่าว

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising